Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1000
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เพชรกระจ่าง, สุธาสินี | - |
dc.contributor.author | PETCHKRAJANG, SUTHASINI | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T04:45:40Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T04:45:40Z | - |
dc.date.issued | 2560-01-12 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1000 | - |
dc.description | 56252345 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- สุธาสินี เพชรกระจ่าง | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรสงคราม 2) ความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม และ 3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 63 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน และครู 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำตามแนวคิดของยุคล์ และความผูกพันองค์การตามแนวคิดของ อัลเลนและเมเยอร์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชณิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารด้านให้คำแนะนำบุคลากรที่ขาดประสบการณ์ 2) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารด้านสนับสนุนบุคลากรที่รับผิดชอบงาน ที่มีความสำคัญ 3) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารด้านชี้แนะบุคลากรพร้อมกำหนดบทบาทอย่างอิสระ 4) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารด้านเข้าใจสถานการณ์ 5) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารด้านขอคำปรึกษาจากผู้รู้ 6) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารด้านเน้นการวางแผน 7) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารด้านตักเตือนและสอดส่องบุคลากรที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และ 8) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารด้านให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสนั้นไม่แตกต่างกัน 2. ความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงครามอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ความผูกพันด้านบรรทัดฐานทางสังคม 2) ความผูกพันด้านจิตใจ และ 3) ความผูกพันด้านการคงอยู่กับองค์การ นอกจากนี้ยังพบว่าความผูกพันต่อองค์การของครูของโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสแตกต่างกัน 3. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .05 The purposes of this research were to find 1) leadership behavior of school administrator 2) teacher’s organizational commitment, and 3) the relationship between leadership behavior of school administrator and teacher’s organizational commitment of the schools under the Office of Samutsongkhram Primary Educational Service Area. The sample were 63 schools under the Office of Samutsongkhram Primary Educational Service Area. The two respondents from each school were a school director and a teachers, with 126 respondents in total. The research instrument was a questionnaire regarding leadership behavior based on the concept of Yukl and organizational commitment based on the concept of Allen and Meyer. The statistics applied in data analysis were frequency, percentage, Arithmetic mean, standard deviation, t-test and Pearson’s product moment correlation coefficient. The findings revealed as follows: 1. The leadership behavior of school administrator, collectively and individually, was found at a high level; ranking from the highest to lowest mean : 1) providing more coaching to an inexperienced subordinate 2) being more supportive to someone with a highly stressful task 3) providing more direction to people with interdependent roles 4) maintaining situational awareness 5) consulting more with people who have relevant knowledge 6) using more planning for a long, complex task 7) monitoring a critical task or unreliable person more closely 8) providing more direction and briefings when a crisis occurs, respectively. It was also found that there was no diffence between leadership behavior of primary school administrator and opportunity expansion school administrator. 2. The teacher’s organizational commitment of the school under the Office of Samutsongkhram Primary Educational Service Area, collectively and individually, was fond at a high level; ranking from the highest to lowest mean : 1) normative commitment 2) affective commitment and 3) continuance commitment, respectively. It was also found that there was a difference between the teacher’s organizational commitment of primary school and opportunity expansion school. 3. The relationship between leadership behavior of school administrator and teacher’s organizational commitment was found at 0.05 level of statistical significance. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมผู้นำ | en_US |
dc.subject | ความผูกพันต่อองค์การ | en_US |
dc.subject | LEADERSHIP BEHAVIOR | en_US |
dc.subject | COMMITMENT | en_US |
dc.title | พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม | en_US |
dc.title.alternative | LEADERSHIP BEHAVIOR OF SCHOOL ADMINISTRATOR AND TEACHER’S ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF THE SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SAMUTSONGKHRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56252345 สุธาสินี เพชรกระจ่าง.pdf | 7.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.