Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1001
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเพ็งหนู, ฐิดาภรณ์-
dc.contributor.authorPengnoo, Thidaporn-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:45:51Z-
dc.date.available2017-08-31T04:45:51Z-
dc.date.issued2560-03-24-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1001-
dc.description55252909 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- ฐิดาภรณ์ เพ็งหนูen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบผลกระทบทางการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยเทคนิคเดลฟาย วิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญ 2) การพัฒนาแบบสอบถามรอบแรก และ 3) การวิเคราะห์แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ในรอบที่สองและรอบที่สามเกี่ยวกับผลกระทบทางการศึกษาของโรงเรียน ที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบทางการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จากการแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ทั้งด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านบริหารทั่วไป ผลกระทบด้านวิชาการเชิงบวก ได้แก่ มีการพัฒนาด้านวิชาการดีขึ้น มีสื่อ วัสดุอุปกรณ์การศึกษาใช้อย่างเพียงพอ มีการใช้แหล่งเรียนรู้ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่หลากหลาย ผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ ผู้บริหารให้ความสำคัญด้านอื่นมากกว่าด้านวิชาการและขาดองค์กรกลาง ในการประสานความร่วมมือ ผลกระทบด้านบุคลากรเชิงบวก ได้แก่ มีอัตรากำลังครูที่ตรงกับความต้องการของสถานศึกษามากขึ้น การให้มีและเลื่อนวิทยฐานะของผู้บริหารและครู ทำได้ง่าย คล่องตัว มีเงินรางวัลตอนสิ้นปี ทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจที่ดี ผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ การเมืองท้องถิ่นแทรกแซง ทำให้การบริหารจัดการในโรงเรียน ไม่ราบรื่นผลกระทบด้านงบประมาณเชิงบวก ได้แก่ การได้รับงบประมาณจากแหล่งงบประมาณ ที่หลากหลาย ทั้งจากกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นสังกัดและจากการระดมทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง ๆ ผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ การบริหารที่ไม่เป็นนิติบุคคล ทำให้อำนาจการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่สามารถดำเนินได้อย่างคล่องตัว เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการบางส่วน และผลกระทบด้านบริหารทั่วไปเชิงบวก ได้แก่ สนับสนุนการดูแลด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดีมาก ส่งผลให้บรรยากาศของโรงเรียน สวยงาม น่าเรียน ชุมชนได้จัดการศึกษาตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ดี ผลกระทบ เชิงลบ ได้แก่ ความไม่เข้าใจในเรื่องการจัดการศึกษาของผู้บริหารท้องถิ่น ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา เห็นความสำคัญกับการสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างมากกว่า The purposes of this research was to identified the education impact assessment of school transferred to affiliated local organisation administration. The research methodology was Delphi Technique composed of 3 steps: 1) setting the requirement of experts, 2) setting a question for collecting the data, and 3) data analyzing. The Jury of Experts were 17 experts where purposive sampling employed. The instruments for collecting the data were open-ended questionnaire at the beginning stage of this research and five rating scale opinionnaire was used in the second and third stage of this research. The statistics used to analyzed the data were median and interquartile range. The findings were as follows: The educational impact of school transferred to affiliated local organisation based on the opinion of experts shown that there were two dimenion of education impact; positive and negative impacts. The postivie impact on academies affaiels administration; its shown that there were better developing in academe affaires, more supporting in teaching media and variety local resource. For the negative impact; the school administration emphasized other duties more than academic affaires, and also lack of control cooperate. In the positive impact of personal administration; the school got more adequate teacher as school needed, teacher had more and easier for promoting, teachers got extra bonus at the end of year, teacher had more moral at want. For the negative impact in personnel administration; the local politician used to interrupt school work that made unsuitable for school work. In the positive impact of school finance; there were more supporting from variety organisation local department, local organisation and community. For the negative impact in school finance; the school was not autonomous organisation that could not make a self decision on purchasing of school equipment, there was red tape in school finance. Lastly, the positive impact in general school administration; the school got more supported for school plant and environment that cause to a better school environment, its enhance the community more participate, more responsible on school work. In the negative impact in general school administration , some of the local administration had less understood on education administration and also miss concept on education vision some local regulation and laws were not suitable some local administration, some of local politicians emphasized these work on structure constructing more than the education task.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการประเมินผลกระทบทางการศึกษาen_US
dc.subjectโรงเรียนที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subjectTHE EDUCATIONAL IMPACT ASSESSMENTen_US
dc.subjectSCHOOL TRANSFERRED TO AFFILIATED LOCAL ORGANIZATION ADMINISTRATIONen_US
dc.titleการประเมินผลกระทบทางการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.title.alternativeTHE EDUCATIONAL IMPACT ASSESSMENT OF SCHOOL TRANSFERED TO AFFILIATED LOCAL ORGANIZATION ADMINISTRATIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55252909 ฐิดาภรณ์ เพ็งหนู.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.