Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1020
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนนท์ศิริ, โชคทอง-
dc.contributor.authorNonsiri, Chokthong-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:50:19Z-
dc.date.available2017-08-31T04:50:19Z-
dc.date.issued2559-11-14-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1020-
dc.description55256303 ; สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน -- โชคทอง นนท์ศิริen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน ความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตน ความตระหนักถึงบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน สัมพันธภาพกับชุมชน แรงสนับสนุนจากคณะสงฆ์ ของพระสงฆ์เขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน ของพระสงฆ์เขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุพรรษา ระดับการศึกษาแผนกธรรม ระดับการศึกษาแผนกสามัญ ประสบการณ์การสอนในสถานศึกษา ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตน ความตระหนักถึงบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน สัมพันธภาพกับชุมชน แรงสนับสนุนจากคณะสงฆ์ และบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน ของพระสงฆ์เขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์เขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม จำนวน 298 รูป ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ (n) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way-ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน ความตระหนักถึงบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน สัมพันธภาพกับชุมชน และความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตน อยู่ในระดับมาก ส่วนแรงสนับสนุนจากคณะสงฆ์ อยู่ในระดับปานกลาง 2. พระสงฆ์ที่มีระดับการศึกษาแผนกธรรมต่างกัน มีบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน แตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พระสงฆ์ที่มีประสบการณ์การสอนในสถานศึกษาต่างกัน มีบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน แตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พระสงฆ์ที่มีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ต่างกัน มีบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน แตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พระสงฆ์ที่มีระดับการศึกษาแผนกสามัญต่างกัน มีบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพระสงฆ์ที่มีอายุพรรษาต่างกัน มีบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชนไม่แตกต่างกัน 3. ความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตน ความตระหนักถึงบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน สัมพันธภาพกับชุมชน และแรงสนับสนุนจากคณะสงฆ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชน ของพระสงฆ์เขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The purposes of this research were 1) to study levels of roles in promoting people to live together in society, self-efficacy, awareness of roles in promoting people to live together in society, relationship with the community and support from Sangka community in Nakhon Pathom buddhist council 2) to study and compare roles of monks in Nakhon Pathom buddhist council in promoting people to live together in society classified by age of ordination, level of dhamma study, educational level, teaching experience and title of Sangka community 3) to study the relationships among self-efficacy, awareness of roles in promoting people to live together in society, relationship with the community and support from Sangka community in Nakhon Pathom buddhist council. The samples of this study consisted of 298 monks with stratified random sampling in Sangka community, Nakhon Pathom buddhist council. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way-ANOVA and Pearson’s Correlation Coefficient Analysis. The results of this study were: 1) The level of roles in promoting people to live together in society, awareness of roles in promoting people to live together in society, relationship with the community, self-efficacy were high and support from Sangka community was at moderate level. 2) Roles of monks in Nakhon Pathom buddhist council in promoting people to live together in society classified by level of dhamma study, teaching experience, educational level, title of Sangka community were different at statistical significance of .05. On the other hand, age of ordination was not significantly different in promoting people to live together in society. 3) Self-efficacy, awareness of roles in promoting people to live together in society, relationship with the community, and support from Sangka community, were positively related with roles of monks in Nakhon Pathom buddhist council in promoting people to live together in society at progressively statistical level of .01.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectพระสงฆ์en_US
dc.subjectบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชนen_US
dc.subjectความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตนen_US
dc.subjectความตระหนักถึงบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชนen_US
dc.subjectสัมพันธภาพกับชุมชนen_US
dc.subjectแรงสนับสนุนจากคณะสงฆ์en_US
dc.subjectMONKSen_US
dc.subjectROLES IN PROMOTING PEOPLE TO LIVE TOGETHER IN SOCIETYen_US
dc.subjectSELF-EFFICACYen_US
dc.subjectAWARENESS OF ROLES IN PROMOTING PEOPLE TO LIVE TOGETHER IN SOCIETYen_US
dc.subjectRELATIONSHIP WITH THE COMMUNITYen_US
dc.subjectSUPPORT FROM SANGKA COMMUNITYen_US
dc.titleบทบาทการส่งเสริมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมแก่ประชาชนของพระสงฆ์เขตการปกครอง คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeTHE ROLES OF MONKS IN NAKHON PATHOM BUDDHIST COUNCIL IN PROMOTING PEOPLE TO LIVE TOGETHER IN SOCIETYen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55256303 โชคทอง นนท์ศิริ.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.