Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1023
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วาทินพุฒิพร, ดนชิดา | - |
dc.contributor.author | Wathinputthiporn, Donchida | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T04:51:45Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T04:51:45Z | - |
dc.date.issued | 2560-04-24 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1023 | - |
dc.description | 55260907 ; สาขาวิชาพัฒนศึกษา -- ดนชิดา วาทินพุฒิพร | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การดูแลสุขภาพ การเรียนรู้ด้านสุขภาพ ความต้องการเรียนรู้ด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะ ให้แก่แรงงานข้ามชาติในชุมชน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะกับ กลุ่ม แรงงานข้ามชาติ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบ ซึ่งเป็นวิธีการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยนี้ได้แก่ แรงงานข้ามชาติผู้ตอบแบบสอบถาม 302 คน นักศึกษาแกนนำแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของศูนย์ กศน. ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ผู้เชี่ยวชาญ 4 คน และกลุ่มเป้าหมายในชุมชนจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะให้แก่แรงงานข้ามชาติ คู่มือการใช้รูปแบบ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินผลงาน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึก การประชุม สมุดกระจกสะท้อนความคิด การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า: 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่าแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ร้อยละ 79.14 ไม่รู้หนังสือ การสื่อสารที่เหมาะสม กับแรงงานข้ามชาติในชุมชนจึงเป็นการสื่อสารทางตรงโดยใช้สื่อบุคคลจะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพได้ง่ายกว่าสื่อชนิดอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าแรงงานข้ามชาติในชุมชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.03 เข้าไม่ถึงสิทธิทางด้านสุขภาพ พวกเขามักจะซื้อยามารับประทานเองและจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองในคลินิกเอกชน พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพวกเขาอยู่ในระดับปานกลาง และต้องการเรียนรู้เรื่องสิทธิ์ทางด้านสุขภาพมากที่สุด ขณะที่นักศึกษาแรงงานข้ามชาติถูกสอนให้อดทนต่อความเจ็บป่วย “ฟื้นให้ไวหายให้เร็ว” 2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะให้แก่แรงงานข้ามชาติ (Migrant Health Literacy Model: MHL Model) มีองค์ประกอบ 4 ส่วนได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ทั้งนี้การพัฒนารูปแบบนี้เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันภายใต้ 4 ระบบสนับสนุนในชุมชน ได้แก่ ระบบการศึกษา ระบบสุขภาพ ระบบสังคมและสิ่งแวดล้อม และระบบวัฒนธรรม ในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะได้แบ่งหน่วยการเรียนรู้ออกเป็น 5 หน่วย ได้แก่ การเข้าถึงองค์ความรู้และการบริการทางสุขภาพ การทำความเข้าใจ องค์ความรู้ทางสุขภาพ การประเมินองค์ความรู้ทางสุขภาพ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางสุขภาพ และการสื่อสารองค์ความรู้ทางสุขภาพ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ผลการประเมินความรู้พบว่านักศึกษาแรงงานข้ามชาติมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านทักษะนักศึกษาสามารถจัดทำผลงานได้ในระดับคุณภาพดีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายการสื่อสารในชุมชนเห็นว่าความรู้ที่พวกเขาได้รับเป็นประโยชน์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ผลการประเมินด้านเจตคติพบว่านักศึกษาแรงงานข้ามชาติมีทางเลือกมากยิ่งขึ้นในการเข้าถึงความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและการบริการสุขภาพที่จำเป็น 4. ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนหรือนักศึกษาแกนนำแรงงานข้ามชาติที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งนี้ มีความพึงพอใจในระดับมากในทุกด้าน วิทยากรมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยวิทยากรเสนอให้เพิ่มเวลา ขยายประเด็น ศึกษาคำเรียกเกี่ยวกับความเจ็บป่วยในภาษาชาติพันธุ์เพิ่มเติม ขยายกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น และสร้างบุคลากรสำหรับการอบรมรมเรื่องความรอบรู้ทางสุขภาวะให้มีมากขึ้นในชุมชน The objectives of this research were 1) to study of fundamental data, the healthcare, and health learning needs of the migrants in community. 2) to develop the learning management model of migrant health literacy. 3) to try out the model. 4) to evaluate and improve the model. The research methodology was research and development. The samples and key informants consisted of 302 migrant questionnaire respondents, 4 specialists, and 30 migrant students studying in the Chai Satan Sub-District Non-formal and Informal Education Centre, and 25 migrants in community. The instruments were the Migrant Health Literacy Model, its manual, in-depth interview guidelines, the questionnaires, pretest and posttest, task and project assessments, reflexive thinking note, and note taking. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test and content analysis. The findings of the research were as follows: 1. In the community, 79.14 percent of the migrants are low literacy. So the face-to-face communication or using personal media was better than other types of communication. Moreover, 59.03 percent of them could not access any government-provided health rights. They had purchased over-the-counter medicines for self-treatment and paid treatments in private clinics and hospitals for themselves. Majority of them had healthcare behaviors at the medium level. They needed to learn and to access their health right information and health services. The student had been taught to be patient with their pain from their parents, as the phrase “Quick revive and get well fast”. 2. The Migrant Health Literacy Model composed of 4 components; 1) principle 2) objectives 3) process of learning management, and 4) the key conditions for using the model. It was integrated and cooperated from 4 supportive systems in the community such as educational system, health system, social and environmental system, and cultural system. The learning management plan consisted of 5 units for migrant health literacy learning activities such as accessibility, understanding, assessment, utilization, and communication of health information. 3. The results revealed that in the knowledge assessment, the migrant students had the posttest scores in overall and in each unit higher than the pretest ones at the 0.01 level of statistical significance. In practice assessment, their task and project assessments were at the good level as required in overall and each unit. Moreover, the target groups in community of the students’ communication projects, agreed that the health information was transmitted was useful and could be applied in everyday life. In attitude assessment, the student revealed that they had more alternatives to access vary sources of health information, necessary healthcare, and health service. 4. The students’ overall satisfaction toward MHL model was at the high level. The trainers’ overall satisfaction toward using MHL model was at the highest level. The trainers suggested that the learning activity should be prolonged activity duration, be enlarged more health issues, increase the migrant targets in the community and institutions, study additional disease and illness explanation terms in the ethnic language, and construct Migrant Health Literacy trainers in community. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | การพัฒนารูปแบบ | en_US |
dc.subject | การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ | en_US |
dc.subject | การสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะ | en_US |
dc.subject | แรงงานข้ามชาติ | en_US |
dc.subject | LEARNING MANAGEMENT MODEL | en_US |
dc.subject | HEALTH LITERACY | en_US |
dc.subject | MIGRANT | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะ ให้แก่แรงงานข้ามชาติ | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT ON LEARNING MANAGEMENT MODEL FOR MIGRANT HEALTH LITERACY | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55260907 ดนชิดา วาทินพุฒิพร.pdf | 20.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.