Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1038
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | หนักไหล่, อาภากร | - |
dc.contributor.author | Naklai, Apakorn | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T06:11:52Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T06:11:52Z | - |
dc.date.issued | 2560-05-15 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1038 | - |
dc.description | 55202213 ; สาขาวิชาภาษาไทย -- อาภากร หนักไหล่ | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวละครอัปลักษณ์ในวรรณคดีไทย ในด้านรูปลักษณ์ นิสัยและพฤติกรรม กลวิธีการสร้าง และบทบาทของตัวละครอัปลักษณ์ในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตัวละครอัปลักษณ์มีจำนวน 18 ตัว ได้แก่ ชูชก พรานบุญ เจ้าเงาะ นางค่อมกุจจีนางสำมนักขา ขุนช้าง หมื่นหาญ จรกา ท้าวสันนุราช นางคันธมาลี นางผีเสื้อสมุทร ชีเปลือย นางวาลี เจ้าละมาน ย่องตอด นางแก้วหน้าม้า นางประแดะ และนางศรีสาหง ผลการศึกษาพบว่า ในด้านรูปลักษณ์ ตัวละครอัปลักษณ์มีรูปร่างอัปลักษณ์ 12 ลักษณะ ได้แก่ อวัยวะผิดรูป อวัยวะพิการ อวัยวะไม่สะอาด อวัยวะมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีขนาดใหญ่ เส้นผมและขนไม่เป็นระเบียบ เส้นผมและขนยาวกว่าปกติ ผมน้อย ผิวดำคล้ำ ผิวหนังไม่เกลี้ยงเกลา หน้าอกหย่อนยาน และเล็บกุด ในด้านนิสัยและพฤติกรรมพบ 2 ลักษณะ คือ นิสัยและพฤติกรรมที่ไม่ดี ปรากฏ 14 ลักษณะ ได้แก่ หมกมุ่นกามตัณหา เจ้าเล่ห์เพทุบาย กล่าวเท็จ ขี้ขลาด ไม่มีความเฉลียวฉลาด ด้อยความสามารถในการรบ ไม่ชำนาญในการเกี้ยวพาราสีสตรี โลภ กล้าแสดงความรักต่อผู้ชายก่อน ขี้หึง เจ้ามารยา ไม่ซื่อสัตย์กับสามี พฤติกรรมหยาบคาย และพฤติกรรมบ้าใบ้ และนิสัยและพฤติกรรมที่ดี ปรากฏ 6 ลักษณะ ได้แก่ มีวิชาความรู้ มีปัญญาและความเฉลียวฉลาด มีความกล้าหาญ มีความสามารถ มีความซื่อสัตย์ และมีอำนาจ ด้านกลวิธีการสร้างตัวละครอัปลักษณ์ ด้วยกลวิธีการสร้างตัวละคร 2 ประการ ได้แก่ กลวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีทางภาษาพบว่า ในด้านกลวิธีการเล่าเรื่องใช้กลวิธีการสร้างตัวละครอัปลักษณ์ 3 ลักษณะ ได้แก่ กลวิธีการสร้างจากการบรรยายของผู้เล่าเรื่องแบบผู้รู้ กลวิธีการสร้างจากการบรรยายตัวละครอื่นในเรื่อง และการสร้างจากถ้อยคำของตัวละครอัปลักษณ์ ส่วนด้านกลวิธีทางภาษามีการเลือกใช้คำที่แสดงความหมายในเชิงลบ และการใช้ภาพพจน์แบบอุปมาและอุปลักษณ์ในการเปรียบเทียบเพื่อนำเสนอภาพในเชิงลบของตัวละครอัปลักษณ์ ด้านบทบาทของตัวละครอัปลักษณ์ต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีไทยพบว่า ตัวละครอัปลักษณ์มีบทบาทสำคัญ 3 ลักษณะ ได้แก่ บทบาทที่มีต่อโครงเรื่อง บทบาทที่มีต่อตัวละครอื่น ๆ ในเรื่อง และบทบาทในการถ่ายทอดทัศนคติที่มีต่อความอัปลักษณ์ This thesis aims to study the ugly characters in Thai literature considering the appearance and the characteristic and behavior of ugly characters, the creation of ugly characters, and the function of ugly character. 17 ugly characters in Thai literature since an Ayutthaya ear to an early Rattanakosin era are analyzed, namely, Chu Chok, Phran Bun, Chao Ngor, Nang Samma Nag Khar, Nang Kom Kudji, Khun Charng, Muen Harn, Chorrakar, Thaw Sannurat, Nang Khantha Mar Lee, Nang Phee Suea Samut, Chee Plueai, Nang Wa Lee, Chaw Lamarn, Yong Tord, Nang Kaew Nar Mar, Nang Pra Dae, and Nang Sri Sar Hong. The result about appearance and the characteristic and behavior of the ugly characters are found that the ugly characters have 12 sorts of ugly appearance, namely, deformed organ, disabled organ, dirty organ, too big organ, big body, shaggy hair, too long hair, less mustache and less hair, dark skin, rough skin, flabby breast, and too short nail. As for the characteristic and behavior of ugly characters, there are 2 important sorts of characteristic and behavior. The bad characteristic and behavior consists of 1 sorts, namely, lascivious, tricky, lying, coward, foolish, incapable, bashful, greedy, seducer, jealous, deceitful, unfaithful, vulgar, and dumb. The good characteristic and behavior consists of 6 sorts, namely, cultivated, wise, brave, capable, honest, and powerful. The creation of ugly character has 2 main strategies: narrative technique and language technique. It is found that the 3 narrative techniques are applied to create the ugly characters, namely, creating from omniscient narration, creating from other characters in the story, and creating from ugly characters. As for the language technique, the words which have negative meaning are used. The simile and the metaphor are also used to present the negative image of the ugly characters. The function of ugly characters has the effect to the creation of Thai literature in 3 ways, namely, the function for plot, the function for other characters, and the function for conveying the attitude about ugliness. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | ตัวละคร | en_US |
dc.subject | อัปลักษณ์ | en_US |
dc.subject | วรรณคดีไทย | en_US |
dc.subject | CHARACTER | en_US |
dc.subject | UGLY | en_US |
dc.subject | THAI LITERATURE | en_US |
dc.title | ตัวละครอัปลักษณ์ในวรรณคดีไทย | en_US |
dc.title.alternative | THE UGLY CHARACTERS IN THAI LITERATURE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55202213 อาภากร หนักไหล่ .pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.