Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1053
Title: | การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี |
Other Titles: | THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON ART BASED LEARNING FOR ENHANCING CREATIVE WORK FOR UNDERGRADUATE STUDENTS |
Authors: | สรรคบุรานุรักษ์, อติยศ SANKABURANURAK, ATIYOT |
Keywords: | การพัฒนารูปแบบการสอน การสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน งานสร้างสรรค์ THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL ART BASED LEARNING CREATIVE WORK |
Issue Date: | 2-May-2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน 3) ขยายผลรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นแบบคู่ขนาน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน ที่ลงเรียนรายวิชาดนตรีและศิลปะจีน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 และกลุ่มขยายผลแบบคู่ขนานเป็นนักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาจีนในชีวิตประจำวัน จำนวน 30 คน 2) นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากีฬามวยไทยเป็นวิชาเลือกเสรี จำนวน 30 คน และ 3) นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการถ่ายภาพดิจิตอลเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ คู่มือการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ แผนการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินงานสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent ) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีชื่อว่า “SILPA model” ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ (Stimulate Creative Thinking: S) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเข้าสู่แนวคิดการสร้างสรรค์งาน (Introducing Creative Work Concept: I) ขั้นที่ 3 ขั้นเรียนรู้โดยการปฏิบัติ ( Learning by Doing: L) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนองานสร้างสรรค์ (Presenting Creative Work: P) และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินและสะท้อนผล (Assessing and Reflecting: A) การหาคุณภาพของรูปแบบฯ มีเกณฑ์คุณภาพในระดับดี 2. หลังเรียนตามรูปแบบฯ นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีและศิลปะจีนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาที่เรียนตามรูปแบบฯมีพัฒนาการในงานสร้างสรรค์สูงขึ้นและมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบฯอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 3. การขยายผลแบบคู่ขนานทั้ง 3 รายวิชา พบว่าหลังเรียนตามรูปแบบฯ นักศึกษามีการสร้างสรรค์ชิ้นงานในระดับดีและมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบฯอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก This research study is aimed to 1) develop and evaluate the validity of the development of Art-Based learning instructional model 2) evaluate the effectiveness of Art-Based learning instructional model, and 3) disseminate the model in convergent parallel design. The subject were 30 second year undergraduate students in Teaching Chinese as a Foreign Language Students who enrolled Music and Chinese Art course in the first semester of academic year 2016. The convergent parallel group volunteered from 3 courses. They were students from Faculty of Education, Silpakorn University: 30 fourth year students who enrolled Chinese in daily life course, 30 students from any majors who enrolled Thai boxing course as elective course and 30 students who enrolled creative digital photography. The research instruments consisted of Art Based learning instructional model to promote creative task model, teaching manual for model usage, lesson plans, comprehension achievement test, creative task evaluation form and questionnaire of satisfaction toward the model, mean, standard deviation, t-test dependent and content analysis were applied to analyze data. The results were as follows: 1. The “SILPA model”, the learning process which had five steps, a) Stimulate Creative Thinking: S b) Introducing Creative Work Concept: I, c) Learning by Doing: L ,d) Presenting Creative Work: P and e) Assessing and Reflecting: A .The model was validated in the good level. 2. After using the SILPA model, the students’ comprehension were higher than before receive the instruction at a .05 significance level, the students who learning by SILPA model, the students’ creative task production were increased to a high level and the students had opinion toward learning activities of the model to a high level. 3. From the parallel group, students’ creative task production were at good level after learning with the model and students’ opinions toward the learning activities was at high level as well. |
Description: | 56253909 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1053 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56253909 อติยศ สรรคบุรานุรักษ์.pdf | 7.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.