Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1178
Title: SYSTEMATIC REVIEW AND META-ANALYSIS OF EFFICACY AND SAFETY OF NON-BISPHOSPHONATE FOR THE TREATMENT OF OSTEOPOROSIS IN POSTMENOPAUSAL WOMEN
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนตในการรักษาโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน
Authors: Srisakun SINSAWAD
ศรีสกุล สินสวัสดิ์
Waranee Bunchuailua
วารณี บุญช่วยเหลือ
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: การทบทวนวรรณกรรม
การวิเคราะห์อภิมาน
ประสิทธิผล
ความปลอดภัย
ยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนต
กระดูกพรุน
หญิงวัยหมดประจำเดือน
DENOSUMAB
RALOXIFENE
STRONTIUM RANELATE
TERIPARATIDE
TIBOLONE
SYSTEMATIC REVIEW
META-ANALYSIS
EFFICACY
SAFETY
NON-BISPHOSPHONATE
OSTEOPOROSIS
POSTMENOPAUSAL WOMEN
DENOSUMAB
RALOXIFENE
STRONTIUM RANELATE
TERIPARATIDE
TIBOLONE
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to conduct a systematic review and meta-analysis of effectiveness of Non-bisphosphonate drugs for the treatment of osteoporosis in postmenopausal women. Published reports were searched through the electronic databases including MEDLINE, the Cochran Library and Thai database from inception to November 2015. Randomized controlled trials studied on the effectiveness of non-bisphosphonate drugs including Denosumab, Raloxifene, Strontium ranelate, Teriparatide and Tibolone comparing with placebo and/or calcium and vitamin D; and reported the incidence of fracture or changes in bone mass density (BMD) or incidences of adverse events were selected. A meta-analysis of the effectiveness reported on Risk Ratio (RR), Mean Difference (MD) with 95% Confident interval (95%CI). Results showed that the search identified 23 studies consistent to inclusion criteria. The studies determined the effect of non-bisphosphonate comparing with placebo (96.07%) for 1-3 years. Data from 22 high quality studies and a low quality study were used for meta-analysis. Meta-analysis indicated that Denosumab, Strontium ranelate and Teriparatide had significant effect on preventing vertebral fracture (Risk ratio (RR) = 0.33; 95%CI: 0.26-0.41, 0.60; 95%CI: 0.53-0.69 and 0.26; 95%CI: 0.14-0.49, respectively). But the effect of Raloxifene on the prevention of vertebral fracture was no significant difference from the placebo. Moreover, Denosumab was effective for the prevention of hip fracture (RR=0.61; 95%CI: 0.37-0.98). There were no significant differences on the effects of all non-bisphosphonate drugs for the prevention of wrist fracture comparing with control group. The effects of non-bisphosphonate drugs on BMD indicate significant increases in BMD at lumbar spine, femoral neck and total Hip, but Tibolone was not effective on BMD at total hip. For the safety, results found that Tibolone could increase the risk of stroke (RR= 2.16; 95%CI: 1.12-4.10) but risks of serious adverse events were not significant difference between non-bisphosphonate and the control group. Non-bisphosphonate significant increased risk of some common adverse events compare with control group such as Denosumab and Strontium ranelate increased risk of rash (RR= 1.71; 95%CI 1.30-2.26, 1.35; 95%CI 1.05-1.73, respectively) and hot flushes form Raloxifene (RR= 1.57; 95%CI 1.33-1.85). In conclusion, the effectiveness on the prevention of bone fractures and on the increased BMD; and the safety of each Non-Bisphosphonate drug are different. However, evidences indicate the effectiveness of Raloxifene and Tibolone were limited. Further studies should be conducted on the use of these drugs for preventing osteoporotic fracture in postmenopausal women.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลของยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนตในการรักษาโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน โดยทำการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ MEDLINE, The Cochrane Library และฐานข้อมูลภาษาไทย ตั้งแต่เริ่มมีฐานข้อมูล จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยคัดเลือกงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมที่เปรียบเทียบประสิทธิผลของยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนตได้แก่ Denosumab, Raloxifene, Strontium ranelate, Teriparatide และ Tibolone กับการให้ยาหลอกหรือ/และแคลเซียมร่วมกับวิตามินดี โดยวัดผลลัพธ์เป็นอุบัติการณ์การหักของกระดูกที่บริเวณต่างๆ หรือการเปลี่ยนแปลงของค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก หรือ อุบัติการณ์การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลของยาโดยแสดงด้วยค่าอัตราเสี่ยงสัมพัทธ์ (Risk ratio; RR) และค่าเฉลี่ยความแตกต่าง (Mean difference; MD) ร่วมกับช่วงความเชื่อมั่น 95% (95% CI) ผลการศึกษาพบงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 23 เรื่อง ซึ่งเป็นงานวิจัยศึกษาเปรียบเทียบกับผลของยากลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนตกับการให้ยาหลอกร้อยละ 96.07 มีระยะเวลาการศึกษาอยู่ในช่วง 1-3 ปี งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์อภิมานเป็นงานวิจัยคุณภาพสูงจำนวน 22 งานวิจัย และงานวิจัยคุณภาพต่ำ 1 งานวิจัย ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่า การให้ยา Denosumab, Strontium ranelate และ Teriparatide สามารถป้องกันการเกิดกระดูกสันหลังหักได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Risk ratio (RR) = 0.33; 95%CI: 0.26-0.41, 0.60; 95%CI: 0.53-0.69 และ 0.26; 95%CI: 0.14-0.49) ตามลำดับ) ทั้งนี้ยา Raloxifene ให้ผลไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยา Denosumab ยังมีประสิทธิผลในการป้องกันกระดูกสะโพกหักได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ( RR=0.61; 95%CI: 0.37-0.98) ส่วนผลในการป้องกันกระดูกข้อมือหักพบว่า ยาแต่ละรายการให้ผลไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ยาแต่ละรายการทำให้ค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD) เพิ่มขึ้นจากค่าเริ่มต้นที่ตำแหน่ง Lumbar spine, Femoral neck และ Total Hip ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบประสิทธิผลของ Tibolone ต่อ BMD ที่ Total Hip ด้านความปลอดภัยของการใช้ยาพบว่า การได้รับยา Tibolone ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) (RR= 2.16; 95%CI: 1.12-4.10) ส่วนการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงอื่น ๆ พบว่า การใช้ยาแต่ละรายการ ให้ผลไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ความเสี่ยงการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้ทั่วไปบางอาการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เช่น การให้ยา Denosumab และ Strontium ranelate พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดผื่นเพิ่มขึ้น (RR=1.71; 95%CI 1.30-2.26, 1.35; 95%CI 1.05-1.73 ตามลำดับ) การเกิดความผิดปกติต่อระบบอื่นๆ คือ อาการร้อนวูบวาบจากยา Raloxifene มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น (RR= 1.57; 95%CI 1.33-1.85)  เป็นต้น สรุปได้ว่า ประสิทธิผลในการป้องกันกระดูกหักที่บริเวณต่างๆ และเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก รวมไปถึงความปลอดภัยของยาในกลุ่มที่มิใช่บิสฟอสโฟเนตแต่ละรายการมีแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดของหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงผลในการป้องกันกระดูกหักของยาบางรายการ เช่น Raloxifene และ Tibolone ดังนั้นการนำข้อมูลไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยหญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุน ควรทำการศึกษาเพิ่มเติม
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1178
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57362202.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.