Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/120
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorยอดดำเนิน, สมพร-
dc.contributor.authorYODDAMNEON, SOMPORN-
dc.date.accessioned2017-08-25T09:19:58Z-
dc.date.available2017-08-25T09:19:58Z-
dc.date.issued2559-08-03-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/120-
dc.description55252947 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- สมพร ยอดดำเนินen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบเกี่ยวกับโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย ดังนี้ 1) ประวัติและ สภาพปัจจุบัน 2) อนาคตภาพ และ 3) แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่เหมาะสมกับอนาคตภาพ ซึ่งดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) เพื่อทราบประวัติและสภาพปัจจุบัน ใช้การวิเคราะห1เนื้อหาจากการศึกษาเอกสาร 2) เพื่อทราบอนาคต ภาพ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมสาน ในวิธีเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจาก ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และครูสถานศึกษาอื่น ได้ขนาดตัวอย่างประชากร 291 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ส่วนด้านเทคนิควิธีวิจัยEDFR (Ethnographic Delphi Futures Research)ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารโรงเรียน นักวิชาการ ครูผู้สอน ศิษย์เก่า ผู้ปกครองและชุมชน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาความสอดคล้อง และ 3) แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่เหมาะสมกับอนาคตภาพ ใช้การ ประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกกองทัพอากาศ จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยมีวิวัฒนาการ แบ่งได้ดังนี้ 1) ยุคก่อตั้งโรงเรียน ฤทธิยะวรรณาลัย (พ.ศ. 2490-พ.ศ. 2496) ไม่ปรากฎว่ามีการจัดการศึกษาปฐมวัย แต่มีระดับ ป.1 – ม.6 โรงเรียนมีฐานะเทียบเท่า โรงเรียนรัฐบาล มีผู8จัดการบริหารงานทั่วไป และมีครูใหญ5บริหารงานวิชาการ 2) ยุคกำเนิดโรงเรียนอนุบาล ฤทธิยะวรรณาลัย (พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2520) พบว่ามีการจัดการศึกษาระดับอนุบาลโดยตั้งแผนกอนุบาลขึ้นมามีหัวหน้า แผนกอนุบาลดูแล รับผิดชอบจัดการศึกษาระดับอนุบาล โรงเรียนมีฐานะเทียบเท่าโรงเรียนเอกชน 3) ยุคเปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือแผนกมัธยมโอนไปอยู่สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แผนกประถม โอนไปอยู่สังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนแผนกอนุบาลยังอยู่ในความดูแลของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ และได้เปลี่ยนชื่อเปน “โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย” มีฐานะเปนโรงเรียนเอกชน โดยกรมยุทธศึกษาทหารอากาศเปน เจ้าของ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศเปนผู้ลงนามรับใบอนุญาติโดยตำแหน่ง นับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา 2. อนาคตภาพโรงเรียนมีองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจการประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบาย โรงเรียน 2) ด้านสิทธิและค่านิยมสำหรับเด็กปฐมวัย 3) ด้านครูและบุคลากร 4) ด้านการจัดสภาพแวดล8อม 5) ด้าน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และ 6) ด้านการบริหารจัดการ 3. แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่เหมาะสมกับอนาคตภาพในแต่ละด้าน เริ่มตั้งแต่ มีการกำหนดนโยบาย ที่ชัดเจนในเป้าหมายที่จะเปนโรงเรียนบ่มเพาะคนดี โดยคำนึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กกับการปลูกฝังค่านิยมที่ สอดคล้องกับความเปนคนไทย ที่สำคัญโรงเรียนต้องการ ครู และบุคลากรที่เปนมืออาชีพ มีองค์ความรู้ จิตวิทยาเด็ก ปฐมวัย พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง มีจิตใจและจรรยาบรรณที่ดีงาม นอกจากนี้โรงเรียนยังต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย สะดวก สะอาด ปลอดภัย เพียงพอเปนไปตามมาตรฐานสากล ในด้านหลักสูตร การศึกษาปฐมวัยมีความเป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับระบบการศึกษาและการพัฒนาคนของชาติ ใช้หลักวิชาการ ที่เหมาะสมบนพื้นฐานงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน ผ่านกระบวนการเล่นเป็นฐาน และสุดท้าย ในการบริหารจัดการสำหรับอนาคต โรงเรียนต้องสามารถนำนโยบายโรงเรียนมาสู่ยุทธศาสตร์และนำยุทธศาสตร์ไปสู่การ ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคงความสำคัญอยู่ที่ผู้นำหรือผู้บริหารที่เปนมืออาชีพ ใช้หลักการบริหารและเครื่องมือ บริหารที่ทันสมัย ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างเท่าทัน This research aimed to determine the information concerning Rittiyawannalai kindergarten in the following areas: 1) the history and current status, 2) the future scenario, and 3) the guidelines of practices to achieve optimum results with the future. The research had three operationalized steps: 1) to determine the history and current status using content analysis of the papers 2) to determine the future scenario using mixed research methodology. In quantitative methods, data were collected by opinionnaires from 291 samples comprising; policy making level administrators, school administrators, school boards, teachers, parents, and the community delegates. The content analysis and exploratory factor analysis were used for data analysis. In term of EDFR, in-depth interviews were conducted with 21 specialists comprising policy making level administrators, school administrators, scholars, teachers, parents, alumni, and the community delegates. The content analysis was used to determine the consensus 3) the expert workshop was conducted to find the consensus of the guidelines of practices. The findings of the research were as follows: 1. The Rittiyawannalai Kindergarten has evolved for over 69 years, summarized into three periods: 1) the founding period (1947- 1954) there was no early childhood education found, but Mattayom 1 - 6. The school was a public school equivalent. It had a manager as a general administrator while the principal worked as academic administration. 2) The origination period (1955 - 1957) found that early childhood education had been started by formulating a kindergarten division which responsible for pre-school education. The school had provided education from Kindergarten up to Mattayom 6 and was as a private school equivalent. 3) The change period (1977- present) found a major shift that High school division was transferred to the Department of Education, Ministry of Education and Primary Education Division was transferred to the Bangkok Metropolitan Administration while the Kindergarten Division was still remain in charge of the Directorate of Education and Training, and was renamed "Rittiyawannalai Kindergarten" as a private school. The Director of Directorate of Education and Training has been the school licensee since 1978 onwards. 2. There were 6 factors (109 variables) for the future scenario of Rittiyawannalai kindergarten including; 1) School Policy, (21 variables) 2) Children's Rights and Values for Children (6 variables) 3) Teachers and Staff (18 variables) 4) Environmental Creating (17 variables) 5) Preschool Curriculum and Development (21 variables) and 6) School Management (26 variables). 3. There were guidelines of practices to achieve optimum results with the future scenario, starting with a clear policy goal to be a kindergarten for cultivating good children. To meet the goal, regarding to the law relating to children's rights is needed and the cultivating values must be consistent with Thailand expected citizen. Moreover, the kindergarten requires teacher and staff professionalism that is knowledgeable as well as Early Childhood Psychology. The teachers and staff will be developed continually and must be a good mind and ethics person. In addition, the school has to create environment that develop kindergarten readiness and maintain the hygienic and health services that meet international standards. In term of curriculum and development, the kindergarten needs learning standards that consistent with the educational system and the development of the nation and using the right theory based on related research such as play based learning which can develop children in all domains. Finally, the school must be able to imply policy to a strategy and implementing into practice effectively. The professional leaders who enable principles and tools of modern management that respond to changes are needed.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการบริหารการศึกษาปฐมวัยen_US
dc.subjectอนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยen_US
dc.subjectKINDERGARTEN EDUCATIONAL ADMINISTRATIONen_US
dc.subjectRITTIYAWANNALAI KINDERGARTENen_US
dc.titleอนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยen_US
dc.title.alternativeTHE FUTURE SCENARIO OF RITTYAWANNALAI KINDERGARTENen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
27.55252947 สมพร ยอดดำเนิน.pdf10.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.