Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1306
Title: | Investigation of external perforated sunshade for daylighting efficiency and visual comfort การศึกษารูปแบบของแผงบังแดดแบบฉลุต่อประสิทธิภาพในการใช้แสงธรรมชาติและความสบายทางสายตา |
Authors: | Pinut SUWAPAP พิณุท สุวภาพ Tharinee Ramasoot ธาริณี รามสูต Silpakorn University. Architecture |
Keywords: | แผงบังแดดแบบฉลุ แสงบาดตา แสงบาดตาจากแสงธรรมชาติ ความสบายทางสายตา แสงธรรมชาติ Perforated Sunshade Glare Glare from daylighting Visual Comfort Daylighting |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The study of glare index, DGP and ASE1000lx, 250hr and the natural light with DF and sDA300/50% found that the increase of open area ratio cause of increase glare and the illuminace. The hole size of sunshade have not effect to change of glare and the illuminace. The distance of sunshade , the increase of the distance is the cause of incrase Glare. At 0.40 and 0.60 meter hadn’t more effect but at 1.00 meter had glare more because of the reflect and direct light pass trought space between shading and building.
The study of glare index, DGP and ASE1000lx, 250hr and the natural light with DF and sDA300/50% found that the increase of open area ratio cause of increase glare and the illuminace. The hole size of sunshade have not effect to change of glare and the illuminace. The distance of sunshade , the increase of the distance is the cause of incrase Glare. At 0.40 and 0.60 meter hadn’t more effect but at 1.00 meter had glare more because of the reflect and direct light pass trought space between shading and building.
From this Study has advice to use the perforated sunshade at 30% open area ratio that has sDA300/50% at 93% of room area, which is sufficient for working space. This study also found the area around 0 to 2.5 meters form the window have the illuminace on the workplane more than 1000 lux, 250 occupied hours per year. This corresponds to the DGP value where the position is high during November to January where the sun is move to the south. Be careful when using this space. Or consider other approaches to reduce the glare during that time. ปัจจุบันมีการใช้แผงบังแดดเพื่อช่วยลดความร้อนและการประหยัดพลังงาน จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อให้ได้แสงธรรมชาติที่พอเพียงต่อการใช้งานในอาคารสำนักงาน และมีความสบายทางสายตา โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ Ecotect, Radiance และ Daysim ในการจำลองผลเพื่อศึกษาสภาพแสงสว่าง โดยกำหนดให้อาคารสำนักงานมีช่องแสงทางทิศใต้ และทำการศึกษาแผงบังแดดแบบฉลุ เพื่อเปรียบเทียบ 3 ปัจจัย คือ อัตราส่วนช่องเปิด ขนาดของช่องฉลุ และ ระยะห่างระหว่างแผงบังแดดและอาคาร ทำการเปรียบเทียบที่ละตัวแปร จากการศึกษาแสงบาดตาด้วยดัชนีชี้วัด DGP และ ASE1000lx,250hr. และปริมาณแสงธรรมชาติ ด้วยดัชนีชี้วัด DF และ sDA300/50% พบว่า ปัจจัยด้านอัตราส่วนช่องเปิดนั้น เมื่อมีอัตราส่วนช่องเปิดเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดแสงบาดตา และมีแสงสว่างเข้าสู่อาคารเพิ่มขึ้น ปัจจัยด้านขนาดช่องฉลุพบว่า ไม่มีความสอดคล้องต่อการเกิดแสงบาดตาและปริมาณมีแสงสว่างที่เข้าสู่อาคาร และในส่วนระยะห่างของแผงบังแดด พบว่าที่ระยะห่างเพิ่มขึ้นมีโอกาสเกิดแสงบาดตามากขึ้น โดยที่ระยะ 0.40 และ 0.60 ม. มีผลใกล้เคียงกัน ส่วนที่ระยะห่าง 1.00 ม. มีโอกาสเกิดแสงบาดตาเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องแสงสะท้อนและแสงตรงที่ส่องผ่านช่องว่างระหว่างแผงบังแดดและอาคาร ปริมาณความสว่างพบว่าระยะห่างที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความสว่างเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยแผงบังแดดที่แนะนำคือ อัตราส่วนช่องเปิด 30% ที่มีค่า sDA300/50% ถึง 93% ของพื้นที่ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งนี้ยังพบว่าที่ระยะห่างจากช่องเปิดที่ระยะ 0 - 2.5 เมตร มีค่าความส่องสว่างมากกว่า 1,000 ลักซ์ 250 ชั่วโมงการทำงานบนพื้นผิวการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับค่า DGP ที่บริเวณนี้จะมีค่าสูงในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม ที่ดวงอาทิตย์อยู่ทางทิศใต้ จึงควรระมัดระวังในการใช้งานพื้นที่นี้ หรือพิจารณาแนวทางอื่นในการลดแสงบาดตาในช่วงเวลาดังกล่าว |
Description: | Master of Architecture (M.Arch) สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1306 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57054225.pdf | 6.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.