Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/130
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศรีรุ่งเรือง, อัญชลี | - |
dc.contributor.author | SRIRUNGRUANG, ANCHALEE | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-25T09:23:25Z | - |
dc.date.available | 2017-08-25T09:23:25Z | - |
dc.date.issued | 2559-12-09 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/130 | - |
dc.description | 55257319 ; สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา -- อัญชลี ศรีรุ่งเรือง | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ 2) เปรียบเทียบความรู้พื้นฐานด้านสื่อก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือวิชาคอมพิวเตอร์ 3) ศึกษาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง 2) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ 3) บทเรียนอีเลิร์นนิงสำหรับการเรียนแบบผสมผสาน 4) แบบทดสอบความรู้พื้นฐานด้านสื่อ 5) แบบประเมินความสามารถในการผลิตสื่อ 6) แบบประเมินความสามารถในการทำงานร่วมกัน 7) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples ผลการวิจัย พบว่า 1) การออกแบบการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการของกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ โดยมีอัตราส่วนระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้อีเลิร์นนิงกับกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน เป็นร้อยละ 60: 40 2) ความรู้พื้นฐานด้านสื่อของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และความสามารถในการผลิตสื่อ มีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3) ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ มีคะแนนรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 2.70, S.D. = 0.09) 4) ความพึงพอใจ ของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ มีคะแนนรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ((x ) ̅= 2.86, S.D. = 0.28) The objectives of this research were: 1) to design blended learning using cooperative learning instruction on computer subject, 2) to compare pretest and posttest of media literacy of Phatomsuksa 6 students with blended learning using cooperative learning on computer subject, 3) to study cooperative skills of Phatomsuksa 6 students with blended learning using cooperative learning on computer subject, and 4) to study satisfaction of Phatomsuksa 6 students with blended learning using cooperative learning on computer subject. The sample consisted of 30 students of Phatomsuksa 6 during the academic year 2014 at Watradrangson School . Were selected by simple random sampling. The instruments of this research were: 1) a structure interview 2) a lesson plan on blended learning by cooperative learning 3) an e-Learning system by blended learning 4) a test of media literacy 5) an evaluation of ability to produce media 6) an evaluation from cooperative skills 7) a questionnaire for satisfaction of blended learning by cooperative learning on computer subject. The data analysis were mean (x ̅), standard deviation (S.D.) and t-test Dependent Samples. The results of this research were as follow: 1) Design blended learning using cooperative learning instruction on computer subject consisted of three components at followed: principles, instructional process and evaluation with the combination of e-learning activities with learning activities in class the percentage 60 : 40 2) The differences of pretest and posttest of the ability of media literacy with blended learning using cooperative learning was statistically significant at the 0.01 level which the posttest was higher than the pretest and the ability to produce media was the middle level 3) Cooperative skill of student with blended learning by cooperative learning on computer subject was the high level. (x ̅ = 2.70, S.D. = 0.09) 4) The student’s satisfaction with blended learning by cooperative learning on computer subject was the high level. (x ̅ = 2.86, S.D. = 0.28) | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | การเรียนแบบผสมผสาน | en_US |
dc.subject | การเรียนแบบร่วมมือ | en_US |
dc.subject | ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ | en_US |
dc.subject | การทำงานร่วมกับผู้อื่น | en_US |
dc.subject | BLENDED LEARNING | en_US |
dc.subject | COOPERTIVE SKILLS | en_US |
dc.subject | COOPERATIVE LEARNING | en_US |
dc.subject | MEDIA LITERACY | en_US |
dc.title | ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคอมพิวเตอร์ ที่มีต่อความรู้พื้นฐานด้านสื่อและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 | en_US |
dc.title.alternative | EFFECTS OF BLENDED LEARNING WITH COOPERATIVE LEARNING ON COMPUTER SUBJECT UPON MEDIA LITERACY AND COOPERTIVE SKILLS OF PHATOMSUKSA 6 STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
18.55257319 อัญชลี ศรีรุ่งเรือง.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.