Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/133
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจักกะพาก, รัตนา-
dc.contributor.authorCHAKKAPHARK, RATANA-
dc.date.accessioned2017-08-25T09:24:05Z-
dc.date.available2017-08-25T09:24:05Z-
dc.date.issued2559-07-11-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/133-
dc.description53260917 ; สาขาวิชาพัฒนศึกษา -- รัตนา จักกะพากen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ในปัจจุบันด้านการบริหารจัดการศึกษาของบุตรแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาของบุตรแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา สำหรับบุตรแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative Research) และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุตรแรงงานต่างด้าวที่กำลังศึกษา จำนวนรวม 400 คน และวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้แทน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอน เด็กนักเรียน คนในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น หรือ Modified Priority Needs Index: PNI Modified และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการศึกษา สำหรับบุตรแรงงานต่างด้าวเป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับเด็กทุกคน 2. บุตรแรงงานต่างด้าวที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีสัญชาติพม่า เพศชาย พักอาศัย อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร ร่วมกับพ่อและแม่ และกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา มาเรียนทุกวันอย่างต่อเนื่อง และเกือบทั้งหมดไม่เคยเรียนที่ใดมาก่อน ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่ไม่ทราบมากที่สุดคือเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเรียน ขณะที่ข้อมูลที่ทราบมากที่สุดคือเรื่องของหลักสูตรการเรียน การสอน ในด้านของข้อมูลที่ต้องการทราบมากที่สุด คือ เรื่องแนวทางการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ประเด็นเรื่องของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่มีระดับความคิดเห็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก ขณะที่ประเด็นของการมีส่วนร่วมในการเรียนของชุมชนนั้นอยู่ในลำดับสุดท้าย เรื่องของจำนวนครูที่ดูแลเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษามากที่สุด รวมถึงด้านกฎหมายและนโยบายการศึกษาเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นสูงที่สุด ตามความคิดเห็นของบุตรแรงงานต่างด้าว 3. การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา สำหรับบุตรแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 11 ด้าน ได้แก่ 1) กฎหมายและนโยบายการศึกษา 2) ครูผู้สอน 3) การเรียนการสอน 4) การมีส่วนร่วมของชุมชน 5) การเตรียมความพร้อมของนักเรียน 6) ค่าใช้จ่ายในการเรียน 7) สื่อการสอน 8) เนื้อหาหลักสูตร 9) การติดตามและประเมินผล 10) ผู้ปกครอง และ 11) การบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผลการประเมินทุกด้านได้ค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.50 ซึ่งถือว่ารูปแบบดังกล่าว อยู่ในระดับที่ใช้ได้ Research objectives cover the following 1) to study current situation of education management for migrant children in Thailand 2) to study problems and obstacles in managing education for migrant children in Thailand, and 3) to develop models of education management for migrant children in Thailand. The research methodology applies a mixed method research, including quantitative and qualitative research. The key informants are 400 migrant students, provincial governors or their representatives, directors of educational service areas or their representatives, NGOs, parents, school administrators, teachers, students and people in the community. The instrument in this research contain questionnaire and interview guideline. The data gathered is analyzed, utilizing ratio, average, standard deviation, and modified priority needs index (PNI Modified), as well as content analysis. The research findings are summarized as follows: The Study found that 1. The model of education management for migrant children was correspondent with the Ministry of Education’s core curriculum of fundamental education, Year 2008, which applies the same standard for all children. 2. The majority of migrant children were the Burmese male living in Muang District of Samut Sakhon Province with their parents, and also studying in primary school level. They continuously come to class every day. Most of them rarely studied in somewhere else before. The most un-known information on education management was the cost of education, while the most well-known data was the school curriculum. The most wanted information was plans to pursuit higher education. The cost of current education was the top ranked issue of discussion, whereas issue on community’s participation in education was ranked last. The number of teachers in charge was the most influential factor that impacts education management. Also, regulations and policy on education were the most essential necessities according to migrant children’s opinions. 3. The development of education-management models for migrant children in Thailand must consider eleven components: 1) Policies on Education for migrant children in Thailand 2) Teachers 3) Teaching 4) community’s participation in education management for migrant children 5) Prepare 6) Cost of Education 7) Instructional Media 8) Curriculum for migrant children 9) Monitoring and Evaluation 10) migrant children’s parents, and 11) Services Learn about education which should be a pattern that is passed through qualified resource persons’ evaluation with average, comprehensive evaluation higher than 3.50. The said pattern is regarded as feasible.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectรูปแบบการจัดการศึกษาen_US
dc.subjectบุตรแรงงานต่างด้าวen_US
dc.subjectMODEL OF EDUCATION MANAGEMENTen_US
dc.subjectMIGRANT CHILDRENen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับบุตรแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF AN EDUCATIONAL MANAGEMENT MODEL FOR MIGRANT CHILDREN IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
21.53260917 รัตนา จักกะพาก.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.