Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1344
Title: The Studies Local Arts and Crafts of Nakhon Ratchasima to Design and Develop Products for Souvenirs of Spa and Wellness Tourism  
โครงการศึกษารูปแบบศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่นจังหวัดนครราชสีมาเพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึกส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม
Authors: Lalita SOONTORNPUTTHASART
ลลิตา สุนทรพุทธศาสน์
Ratthai Porncharoen
รัฐไท พรเจริญ
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: นครราชสีมา
หัตถกรรมพื้นถิ่น
ผลิตภัณฑ์ที่ระลึก
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม
สบู่
Nakhonratchasima
spa and wellness
souvenir
local craft and art
soap
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research are 1) to study the local handicraft of Nakonrachasima to find guidelines on creating the intellectual identity of health and beauty souvenir. 2) to test and find the ingredients in health and beauty products and to test the efficiency with the target consumers. 3) to design and develop a model product. The researcher has collected data about forms and local handicraft materials of Nakonrachasima to study the posibility in souvenir designing and development by studying from the related textbooks and documents, visiting the area to survey from local traders in the communities (None-Toom in Paktongchai district and Dankwean in Chokchai district), studying guidelines on creating emotional experience and making the research instrument which is general and satisfaction assessing questionaire by using standard deviation statistic. The result from 40 subjects which are 65% of female, 27.5% of male and 7.5% of indeterminate shows that people between 25-45 years old have the average income of approximately 10,000-20,000 bath and mostly are government officers and govenment-owned company. It is found that the target’s opinion toward the souvenir is that first, it is a reminding present of that person or place. Second, the targets think of the usefulness of the souvenir as well. About the price, most targets think that the souvenir price should be between 100-200 bath and a few think that the price depends on other factors. Most targets know very well about the spa service but not all of them has ever used the service. They think that there should be spa product for using at home and it should be made from local ingredients. After summarizing the data, the researcher comes up with 3 ways of product designing and creates research instrument as designing appraisal from 5 experts which are  a designing expert, a marketing expert, an applied Thai traditional medicine expert, a spa product entrepreneur and a provincial tourist. The over all result of the product in the way of usefulness in the third form shows the everage = 4.9, S.D = 0.13 which is the highest level. The over all result in the way of convenience shows the average = 4.4, S.D = 0.7 which is on high level and the over all result in the way of beauty of the first form shows the average = 4.2, S.D = 0.8 which is quite high. Most experts emphasize on both usefulness and appearance also color and fragrance.
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่นจังหวัดนครราชสีมาเพื่อหาแนวทางสร้างอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาในผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสุขภาพและความงาม  2) เพื่อทดลองหาส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมด้านสุขภาพและความงามรวมทั้งทำการทดสอบประสิทธิภาพกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 3) เพื่อนำมาทำการออกแบบพัฒนาสร้างเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามด้านรูปแบบและวัสดุหัตถกรรมพื้นถิ่นจังหวัดนครราชสีมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึก โดยการศึกษาจากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่สำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เป็นชาวบ้านในชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านโนนตูม อำเภอปักธงชัย และชุมชนด่านเกวียน อำเภอโชคชัยพร้อมทั้งมีการศึกษาแนวทางการสร้างประสบการณ์เชิงอารมณ์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการออกแบบจากเอกสารและตำรา และได้จัดทำเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและประเมินความพึงพอใจ โดยใช้วิธีการทางสถิติ คือค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน เป็นหญิง 65% ชาย 27.5% และไม่ระบุเพศ 7.5% ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 25-45 ปี มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท มีอาชีพข้าราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกคือสิ่งที่แทนใจให้ระลึกถึงสถานที่หรือบุคคล รองลงมาคือเล็งเห็นความสำคัญของประโยชน์ใช้สอยร่วมด้วย ในด้านราคาของผลิตภัณฑ์ที่ระลึกที่กลุ่มเป้าหมายคิดว่าเหมาะสมอยู่ที่ราคา 100-200 บาท มีเพียงส่วนน้อยที่คิดว่าแล้วแต่ปัจจัยอื่นๆ อีกทั้งกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่รู้จักสถานบริการสปาเป็นอย่างดี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เคยใช้บริการจริง กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีความต้องการผลิตภัณฑ์สปาที่สามารถใช้งานได้เองที่บ้าน อีกทั้งมองว่าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกควรผลิตจากวัสดุหรือส่วนผสมที่หาได้ในท้องถิ่น เมื่อผู้วิจัยได้ผลสรุปของข้อมูลแล้ว จึงนำมาทำการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ 3 แนวทาง และได้สร้างเครื่องมือการวิจัยเป็นแบบประเมินผลแนวทางการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาด 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ 1 ท่าน ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์สปา 1 ท่าน และนักท่องเที่ยวต่างจังหวัด 1 ท่าน ผลในภาพรวมด้านประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์แบบที่ 3 ค่าเฉลี่ย = 4.9 ค่า S.D = 0.13 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด ผลในภาพรวมด้านความสะดวกสบายในการใช้ของแบบที่ 1 มีค่าเฉลี่ย = 4.4 ค่า S.D = 0.7 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และผลในภาพรวมของความสวยงามของแบบที่ 1 มีค่าเฉลี่ย = 4.2 ค่า S.D = 0.8 ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการให้ความสำคัญของประโยชน์ใช้สอยควรมีควบคู่ไปกับรูปลักษณ์ที่ใช้งานง่ายและเหมาะสม อีกทั้งความสำคัญของสีสันและกลิ่นของผลิตภัณฑ์ก็ควรมีความน่าใช้งาน 
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1344
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58155306.pdf9.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.