Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1370
Title: | THE DEVELOPMENT OF MODEL ON ORGANIC AGRICULTURE MARKET MANAGEMENT IN ACCORDANCE WITH CREATIVE ECONOMY BY INTERNET MARKETING การพัฒนารูปแบบการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต |
Authors: | Nusara LARPPUWANART นุสรา ลาภภูวนารถ Yuwaree YANPRECHASET ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ Silpakorn University. Education |
Keywords: | การจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ การตลาดบนอินเทอร์เน็ต ORGANIC AGRICULTURE MARKET MANAGEMENT INTERNET MARKETING |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to explore performance condition, best practices, factors or criterions that effect and needs to the organic agricultural marketing management in accordance with creative economy by internet marketing. 2) to develop the model of the organic agricultural marketing management in accordance with creative economy by internet marketing. 3) to try out the model. The research methodology was research and development. The samples consisted of 402 organic farmers questionnaire respondents, 385 consumers and the key informants were 17 persons working in organic agricultural marketing management. The data were collected by both quantitative and qualitative methods. The instruments were composed of a questionnaire, an in-depth interview guidelines, pre-test and post-test, skill test. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test and content analysis
The findings of the research were as follows: 1. The most of the 55.20 percent of farmers sell their produce to cooperatives / organic farming groups and emphasis is on controlling the production process in accordance with organic farming standards (IFOAM). The pricing depends on quality of output. The farmer needs to marketing management as follows: promotion distribution pricing and product and use the Internet media such as Facebook, Line, Blog and Website. 2. The TOPWAS Model are 3 components: 1) Management Factors 2) Management Processes 3) Marketing Management result. There are 6 marketing management processes: Target Market, Organic Certificated, Presentation, Wisdom, Added Value, Story. Which has planning and activity creating relate to integrated marketing management concept and internet marketing. 3. The results revealed that in the knowledge assessment, the organic farmers has the post-test scores in overall and in each unit higher than the pre-test ones at the .05 level of statistical significance. The skill assessment in marketing planning, creativity and the possibility are at the moderation level and the attitude assessment on the “TOPWAS Model” are at the high level. The lesson learned by After Action Review (AAR) the farmers suggested that should be work shop and to have mentors to do internet marketing. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินการ ปัจจัยหรือเงื่อนไข และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) และความต้องการ ของการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต 2) พัฒนารูปแบบการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต 3) ทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยนี้ได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิตระบบอินทรีย์ จำนวน 402 คน ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ จำนวน 385 คน และผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวน 17 คน และกลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 28 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แนวทางการแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียน แบบทดสอบความสามารถ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า: 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 55.20 จำหน่ายผลผลิตให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรอินทรีย์ โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมกระบวนการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ทุกขั้นตอน ซึ่งราคาสินค้าของกลุ่มขึ้นอยู่กับคุณภาพผลผลิต ทั้งนี้เกษตรกรมีลำดับความต้องการในการจัดการตลาดดังนี้ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการจัดจำหน่าย ราคา และด้านผลิตภัณฑ์ มีการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) บล๊อก (Blog) และ เว็บไซต์ (Website) 2. รูปแบบการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เรียกว่า “TOPWAS Model” มีองค์ประกอบ 3 ส่วนได้แก่ 1) ปัจจัยในการจัดการ 2) กระบวนการจัดการ 3) ผลการจัดการตลาด โดยมีกระบวนการจัดการตลาดมี 6 ประการ คือ Target Market, Organic Certificated, Presentation, Wisdom, Added Value, Story ซึ่งมีการวางแผน และสร้างกิจกรรมที่สัมพันธ์กันกับแนวคิดการจัดการตลาด และการตลาดบนอินเทอร์เน็ต ที่มีความเชื่อมโยงกันในลักษณะของการบูรณาการ (Integration) และมีความเป็นองค์รวม (Holistic) ซึ่งผ่านการตรวจสอบและรับรองรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ ความสอดคล้องกับบริบท และการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ผลการทดสอบความรู้เกษตรกรผู้ผลิตระบบอินทรีย์มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการทดสอบความสามารถ 3 ด้าน คือ การวางแผนการตลาด ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นไปได้ พบว่ามีระดับคุณภาพพอใช้ และการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบ “TOPWAS Model” มีความคิดเห็นด้วยในระดับมาก โดยการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติการ (AAR) เกษตรกรเสนอให้มีการปฏิบัติ (Work shop) และมีให้ผู้ดูแลให้คำปรึกษาในการทำการตลาดบนอินเทอร์เน็ต |
Description: | Doctor of Philosophy (PH.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1370 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55260801.pdf | 7.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.