Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1399
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Borisudtum PIMSIRI | en |
dc.contributor | บริสุทธิ์ธรรม พิมพ์ศิริ | th |
dc.contributor.advisor | Sutep Uamcharoen | en |
dc.contributor.advisor | สุเทพ อ่วมเจริญ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Education | en |
dc.date.accessioned | 2018-12-14T02:38:58Z | - |
dc.date.available | 2018-12-14T02:38:58Z | - |
dc.date.issued | 12/7/2019 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1399 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (PH.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this research were: 1) develop and determine the efficiency of a learning model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary 2) evaluate the effectiveness of a learning model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary 3) disseminate a learning model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary by used mixed methodologies of quantitative and qualitative research. Key informants were teachers/experts in primary mathematics and students in the sample group, data were analyzed by content analysis. And in quantitative research population was the 160 students in primary grade 5 at Anubansamsen School of the 2016 academic year, the sample size was the 40 students in grade 5 class 2 and the disseminate size was the 40 students in grade 5 class 3 of the 2017 academic year, the sampling method was cluster random sampling, the research instruments were 1) interview form 2) questionnaire form 3) a model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary (JOICE Model) 4) a manual of model 5) lesson plans 6) tests. The data were analyzed by quantitative and qualitative and using computer software package. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation. The results were as follows: 1. Learning model based on constructivism to enhance mathematical abilities for students in primary was called JOICE Model. There was 5 elements: (1) the concept, the mathematics activities learning through students’ experiences. They connected with their structures of knowledge structures that they had. And refined the thinking process, found different ways. To be used in the realization of the meaning of knowledge is self-meaning. Then they could learn mathematics effectively. (2) the objective, to enhance mathematical abilities for students in primary include concept, calculate, problem solving, reasonable for use in real life (3) the concepts and theories, constructivism, mathematical learning theory and the learning area in mathematics were Piaget's theory of intellectual development for mathematical knowledge management, Gagne's theory of learning for mathematical instruction, Bruner's teaching theory of mathematics learning, theory of mathematics. Dienes’ theory of mathematical instruction and Skinner's theory of mathematical knowledge management, model of mathematics teaching and assessment for learning in mathematics. (4) The procedure of JOICE Model was 5 stages: (4.1) Joyful Preparation: J (4.2) Obvious Knowledge: O (4.3) Infinite Activities: I (4.4) Check Learning Experience: C (4.5) Evaluate Learning: E (5) Assessment and evaluation, it was 2 periods: (5.1) pretest/posttest of JOICE Model (objective test) were 4 multiple choices (5.2) progressive test of JOICE Model (5.2.1) subjective test using after finishing every unit (5.2.2) learning logs of real life using after finishing every title in unit, using 5 levels of evaluation criteria for mathematical abilities. 2. The evaluation of experiential learning model were the mathematical abilities include 1) concept 2) calculate 3) problem solving 4) reasonable for students in primary after using JOICE Model was higher than before using model and statistically significant at the .05 level. 3. The evaluation of disseminate learning model were the mathematical abilities include 1) mathematical conceptual 2) calculation 3) mathematical problem solving 4) mathematical reasonable for students in primary after using JOICE Model was higher than before using model and statistically significant at the .05 level. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3) เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ครูผู้สอน/ ผู้เชี่ยวชาญในวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษา และนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ประชากรคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลสามเสน(สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2559 จำนวน 160 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 2 จำนวน 40 คน กลุ่มขยายผลเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (JOICE Model) 4) คู่มือการใช้รูปแบบ 5) แผนการจัดการเรียนรู้ 6) แบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและเชิงปริมาณ และวิเคราะห์ข้อมูลโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีชื่อว่า JOICE Model มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยผ่านประสบการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนได้รับไปเชื่อมโยงกับโครงสร้างความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ และปรับกระบวนการคิดค้นหาวิธีการต่างๆ มาใช้ในการสร้างความเข้าใจจนเกิดเป็นความรู้ที่มีความหมายด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ (2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ได้แก่ ความสามารถด้านการมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ความสามารถด้านการคิดคำนวณ ความสามารถด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถด้านการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ไปใช้จริงตามศักยภาพ (3) แนวคิดและทฤษฎี แนวคิด constructivism แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเยกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์, ทฤษฎีการเรียนการสอนของบรูเนอร์ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ทฤษฎีของดีนส์กับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์, ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์รูปแบบต่างๆ และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กัน (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (JOICE Model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ (4.1) การเตรียมความพร้อมอย่างสนุกสนาน (Joyful Preparation: J) (4.2) การทำความรู้ให้ชัดเจน (Obvious Knowledge: O) (4.3) การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย (Infinite Activities: I) (4.4) การตรวจสอบประสบการณ์การเรียนรู้ (Check Learning Experience: C) (4.5) การประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluate Learning: E) (5) การวัดและประเมินผล มี 2 ระยะ ดังนี้ (5.1) ก่อน/หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก (5.2) ระหว่างใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (5.2.1) แบบทดสอบแบบอัตนัยมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด ใช้หลังจากการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้เสร็จสิ้น (5.2.2) แบบบันทึกการเรียนรู้สู่ชีวิตจริงใช้ประเมินทุกกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์มี 5 ระดับ 2. ประสิทธิผลการใช้รูปแบบ พบว่านักเรียนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ 1) ความสามารถด้านมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ 2) ความสามารถด้านการคิดคำนวณ 3) ความสามารถด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4) ความสามารถด้านการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังใช้รูปแบบ JOICE Model สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการขยายผลการใช้รูปแบบ พบว่านักเรียนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ 1) ความสามารถด้านมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ 2) ความสามารถด้านการคิดคำนวณ 3) ความสามารถด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4) ความสามารถด้านการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังใช้รูปแบบ JOICE Model สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism | th |
dc.subject | ความสามารถทางคณิตศาสตร์ | th |
dc.subject | LEARNING MODEL BASED ON CONSTRUCTIVISM | en |
dc.subject | MATHEMATICS ABILITIES | en |
dc.subject.classification | Mathematics | en |
dc.title | THE DEVELOPMENT OF LEARNING MODEL BASED ON CONSTRUCTIVISM TO ENHANCE MATHEMATICAL ABILITIES FOR STUDENTS IN PRIMARY | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56253904.pdf | 8.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.