Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1559
Title: Emission factors and Emission patterns of particulates from food grilling by charcoal cook stove
ค่าการปลดปล่อยและรูปแบบการปลดปล่อยฝุ่นละอองจากการปิ้งย่างอาหารด้วยเตาถ่าน
Authors: Paramaporn THONGKAEW
ปรมาภรณ์ ทองแก้ว
Aungsiri Thippayarom
อังก์ศิริ ทิพยารมณ์
Silpakorn University. Science
Keywords: PM10 / PM2.5 /ค่าการปลดปล่อยฝุ่น/รูปแบบการปลดปล่อยฝุ่น/อัตราการปลดปล่อยฝุ่น/การปิ้งย่างด้วยเตาถ่าน
PM10/ PM2.5 /Emission Factor/Emission Pattern/Emission Rate/Food Grilling by Charcoal Stove
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study aims to investigate the concentration, emission factor and emission patterns of PM2.5 and PM10 from grilling 6 different kinds of foods which were pork, chicken, fish, giant squid, tomatoes and pineapples by charcoal stove. The samples were collected and analyzed by using DustTrak Aerosol Monitor 8530 in a tightly enclosed fume hood without ventilation acting as test chamber while grilling. The results indicated that PM2.5 and PM10 emitted from pork, chicken, fish, giant squid, tomatoes and pineapples grilling were 0.77±0.41/0.80±0.40, 1.13±0.50/1.21±0.46, 1.12±0.71/1.19±0.71,1.29±0.56/1.31±0.58,1.43±0.57/1.52±0.69and1.06±0.46/1.14±0.45 mg/m3, respectively. The emission factors of PM2.5 and PM10 obtained from pork, chicken, fish, giant squid, tomatoes and pineapples grilling were 0.34 ± 0.18/0.36 ± 0.18 , 0.34 ± 0.15/0.36 ± 0.14, 0.20 ± 0.13/0.22 ± 0.13, 0.23 ± 0.10/0.24 ± 0.10, 0.17 ± .07/0.18 ± 0.08 and 0.13 ± 0.05/0.14 ± 0.05 g/kg, respectively. The highest emission factors observed from read meat grilling. The ratio between PM2.5 and PM10 ranged from 0.92 to 0.98 revealed that the predominant particle was PM2.5 which is an ultrafine particles causing adverse effects on human health. The emission rates of PM2.5 and PM10 acquired from pork, chicken, fish, giant squid, tomatoes and pineapples grilling were 24.04/24.97, 25.16/26.50, 59.98/64.80, 64.56/65.56, 0.51/0.54 and 2.06/2.21 tons/year, respectively. Total emission rate of PM2.5 and PM10 from grilling six kinds of foods were 176.31 and 184.59 tons/year, respectively. The results of this study suggested that seafood, vegetable and fruit grilling were harmless than red meat grilling. Moreover, fume hood and particle remover should be installed in charcoal grill restaurant for better human and environmental health.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาค่าความเข้มข้น ค่าการปลดปล่อย รูปแบบการ ปลดปล่อย และอัตราการปลดปล่อย PM2.5 และ PM10 จากการปิ้งย่างอาหาร 6 ชนิด ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา เนื้อหมึกยักษ์ มะเขือเทศ และสับปะรด ด้วยเตาถ่าน ทำการเก็บตัวอย่างโดยใช้เครื่องดัสแทร็ค รุ่น 8530 ภายในตู้ดูดควันที่ปิดสวิตช์และปิดสนิทที่ทำหน้าที่เป็นห้องทดสอบ (Chamber) ในขณะปิ้งย่างอาหาร ผลการตรวจวัด พบว่า ค่าความเข้มข้นของ PM2.5 และ PM10 ที่ได้มีดังนี้ เนื้อหมู 0.77±0.41/0.80±0.40 เนื้อไก่ 1.13±0.50/1.21±0.46 เนื้อปลา 1.12±0.71/1.19±0.71 เนื้อหมึกยักษ์ 1.29±0.56/1.31±0.58 มะเขือเทศ 1.43±0.57/1.52±0.69 และสับปะรด 1.06±0.46 /1.14±0.45 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ค่าการปลดปล่อย (Emission factor) PM2.5 และ PM10 จากการปิ้งย่างเนื้อหมูมีค่าเท่ากับ 0.34 ± 0.18/0.36 ± 0.18 เนื้อไก่ 0.34 ± 0.15/0.36 ± 0.14 เนื้อปลา 0.20 ± 0.13/0.22 ± 0.13 เนื้อหมึกยักษ์ 0.23 ± 0.10/0.24 ± 0.10 มะเขือเทศ 0.17 ± 0.07/0.18 ± 0.08 และสับปะรด 0.13 ± 0.05/0.14 ± 0.05 กรัมต่อกิโลกรัม โดยกลุ่มเนื้อแดงมีค่าการปลดปล่อยสูงที่สุด จากสัดส่วน PM2.5/PM10 ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.92 – 0.98 แสดงให้เห็นว่า ฝุ่นส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ PM2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นละเอียดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ส่วนค่าอัตราการปลดปล่อยฝุ่นของ PM2.5 และ PM10 จากการปิ้งย่างอาหารแต่ละชนิดที่มีค่าเท่ากับ 24.04/24.97 (เนื้อหมู) 25.16/26.50 (เนื้อไก่) 59.98/64.80 (เนื้อปลา) 64.56/65.56 (เนื้อหมึกยักษ์) 0.51/0.54 (มะเขือเทศ) และ 2.06/2.21 (สับปะรด) ตันต่อปี โดยอัตราการปลดปล่อย PM2.5 และ PM10 รวมของอาหารทั้ง 6 ชนิดเท่ากับ 176.31 และ 184.59 ตันต่อปี ตามลำดับ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การปิ้งย่างอาหารประเภทอาหารทะเลและผักผลไม้เป็นอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าการปิ้งย่างอาหารอาหารประเภทเนื้อแดง และร้านขายอาหารประเภทปิ้งย่างควรมีการติดตั้งปล่องดูดควันและเครื่องบำบัดอากาศก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ เพื่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1559
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57311311.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.