Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1580
Title: | NETWORK ANALYSIS OF RETURNS AND VOLUME TRADING Of THE STOCK IN SET 50 การวิเคราะห์เครือข่ายอัตราผลตอบแทนและปริมาณการซื้อขายของหุ้นใน SET 50 |
Authors: | Angkana KOKAEW อังคนา เกาะแก้ว Suda Tragantalerngsak สุดา ตระการเถลิงศักดิ์ Silpakorn University. Science |
Keywords: | วิธีสัญลักษณ์ วิธี Minimum Spanning Tree วิธีHierarchical Tree เทคนิคบูทสแตรป สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ RV Symbolization methods Minimum Spanning Tree Hierarchical Tree Bootstrap Technique Escoufier’s RV coefficient |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research proposed 1) to compare the structure of the stocks in SET50 between the distance values based on Escoufier’s RV coefficient and the distance values based on method of symbolization, using Minimum Spanning Tree (MST) and Hierarchical Tree (HT), with the time series of daily closing prices and volume trading from February 1, 2016 to February 2, 2017. 2) To apply Bootstrap Technique to show reliability of the relationship structure of stocks in MST and HT.
The result showed that
1. The structure of MST based on the symbolization methods and based on the RV coefficient are similar and consisted five main clusters in business sector, banking, information technology & communication, petrochemicals & chemicals, energy & utilities, and finance & securities. In addition, the relationship structure of the stock has changed as the market situation changes. In during the time that the stock market fluctuates in a trendless, the stocks were included more clustering but grouping by business sector was less. The structure based on the symbolization methods was very sensitive to shows changes in the relative-stock structure faster than the structure based on the RV coefficient.
2. The HT shows the sequence of the connection of the stock within five main clusters in business sector, banking, information technology & communication, energy & utilities (Oil & Refinery), petrochemicals & chemicals, and finance & securities.
3. From the reliability of the MST and HT using the bootstrap value, we found that the connection of the stocks within business sector had high bootstrap value and short distances. It shows the opportunity to be connected very well with high reliability. ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของหุ้นใน SET50 ระหว่างกรณีวัดระยะห่างของหุ้นบนพื้นฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ RV และกรณีวัดระยะห่างของหุ้นบนพื้นฐานวิธีสัญลักษณ์ โดยใช้ข้อมูลราคาปิดและปริมาณการซื้อขายระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ด้วยวิธีการจัดกลุ่มแผนภาพต้นไม้แผ่สั้นสุด หรือMinimum Spanning Tree (MST) และแผนภาพต้นไม้แบบลำดับชั้น หรือHierarchical Tree (HT) และ 2) เพื่อประยุกต์เทคนิคบูทสแตรป ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเส้นเชื่อมบนเครือข่ายความสัมพันธ์ของหุ้นในแผนภาพ MST และแผนภาพ HT ผลการศึกษาพบว่า 1. โครงสร้างความสัมพันธ์และการจัดกลุ่มของหุ้นใน SET50 บนแผนภาพ MST ที่สร้างภายใต้ระยะห่างบนพื้นฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ RV และภายใต้ระยะห่างบนพื้นฐานวิธีสัญลักษณ์ มีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกัน โดยแสดงการจัดกลุ่มตามประเภทธุรกิจ ดังนี้ กลุ่มธุรกิจธนาคาร กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค และกลุ่มธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ นอกจากนี้พบโครงสร้างความสัมพันธ์ของหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อสถานการณ์ในตลาดเปลี่ยนไป โดยช่วงตลาดหุ้นผันผวนในลักษณะไม่มีแนวโน้ม หุ้นมีการเกาะกลุ่มกันมากขึ้น แต่การจัดกลุ่มตามประเภทธุรกิจน้อยลง และวิธีวัดระยะห่างบนพื้นฐานวิธีสัญลักษณ์มีความไวต่อการเสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างความสัมพันธ์ของหุ้นมากกว่ากรณีวัดระยะห่างบนพื้นฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ RV 2. สำหรับแผนภาพ HT แสดงลำดับการเชื่อมต่อของหุ้นอย่างต่อเนื่องภายในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน 5 กลุ่มหลัก ดังนี้ กลุ่มธุรกิจธนาคาร กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค (น้ำมันและโรงกลั่น) และกลุ่มธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ 3. จากผลการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเส้นเชื่อมบนแผนภาพ MST และแผนภาพ HT โดยใช้เทคนิคบูทสแตรป พบว่าการเชื่อมต่อของหุ้นภายในกลุ่มธุรกิจเดียวกันส่วนมากมีค่าบูทสแตรปค่อนข้างสูงและมีค่าระยะห่างสั้น แสดงถึงการมีโอกาสถูกเชื่อมต่อเข้าหากันมากด้วยความน่าเชื่อถือของเส้นเชื่อมค่อนข้างสูง |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1580 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58304205.pdf | 7.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.