Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1583
Title: | A SURVEY OF WASTEWATER SOURCES, ORGANIC LOADING AND ONSITE WASTEWATER TREATMENT SYSTEMS AT SILPAKORN UNIVERSITY, SANAMCHANDRA PALACE CAMPUS การสำรวจแหล่งกำเนิดน้ำเสีย ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ และระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดที่ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ |
Authors: | Nantana SODA นันทนา โสดา Mallika Panyakapo มัลลิกา ปัญญาคะโป Silpakorn University. Science |
Keywords: | มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อัตราการเกิดน้ำเสีย ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดที่ Silpakorn university Sanamchantra palace campus Wastewater flow rate Organic loading onsite wastewater treatment systems |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | Wastewater, generated from the Silpakorn University, Sanamchandra Palace Campus, includes soil, kitches, gray as well as laboratory and painting wastewater. This campus is divided into 2 parts, western and eastern parts of Sa Kaew pond. Wastewater flow rate and organic loading from the west part were 1,469.29 m3/day and 243.90 kg_BOD/day respectively whereas those form the eastern part were 187.14 m3/day and 31.07 kg_BOD/day respectively. Percentage of organic loading of the west and east pasts were 87.26 and 12.74% of total organic loading.
The result showed that wastewater from the western part was pre-treated by septic tank or grease trap before pumped to the central wastewater treatment system. Finally, effluent was drained to canals in the campus. For eastern part, there was no central wastewater treatment system. Wastewater from certain buildings was treated by their onsite wastewater treatment systems but some was drained to the canals without any treatment.
There are ten onsite wastewater treatment systems in this campus. However, these systems were not properly maintained. Six systems were out-of-order whereas only four systems were operated, which were systems at Science building 1, Silpa Bhirasri building 2 (Faculty of Decorative Arts), Soamsawali building (main building) and Somsawali building (canteen section) (Faculty of Education).
As Compared to the effluent standards for the communities (2010), The value of BOD, TKN, TP and SS of effluents at all four onsite systems exceeded the standards, In order to reduce water pollution problem in this campus, all ten onsite wastewater treatment systems should be regularly maintenance in order to achieve their efficiencies.
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ก่อให้เกิดน้ำเสียประเภทต่าง ๆ ได้แก่ น้ำโสโครก น้ำทิ้งจากครัว น้ำทิ้งจากการซักล้าง รวมทั้งน้ำทิ้งจากห้องปฏิบัติการและน้ำจากการล้างสี พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกของสระแก้ว บริเวณฝั่งตะวันตกของสระแก้วมีอัตราการเกิดน้ำเสียและภาระบรรทุกสารอินทรีย์รวมเท่ากับ 1,469.29 ลบ.ม./วัน และ 243.90 กก.บีโอดี/วัน ตามลำดับ บริเวณฝั่งตะวันออกของสระแก้วมีอัตราการเกิดน้ำเสียและภาระบรรทุกสารอินทรีย์รวมเท่ากับ 187.14 ลบ.ม./วัน และ 31.07 กก.บีโอดี/วัน ตามลำดับ ซึ่งอัตราการเกิดน้ำเสีย และภาระบรรทุกสารอินทรีย์ทางฝั่งตะวันตกและตะวันออกคิดเป็นร้อยละ 87.26 และ 12.74 ของน้ำเสียทั้งหมด จากการสำรวจการจัดการน้ำเสียพบว่าบริเวณฝั่งตะวันตกของสระแก้วนั้น น้ำเสียส่วนใหญ่ผ่านการบำบัดเบื้องต้นด้วยบ่อเกรอะหรือบ่อดักไขมันก่อนไหลเข้าสู่บ่อสูบและถูกสูบไปยังระบบบำบัดน้ำเสียแบบศูนย์กลาง จากนั้นปล่อยลงสู่คลองภายในมหาวิทยาลัย สำหรับบริเวณฝั่งตะวันออกของสระแก้วซึ่งไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียแบบศูนย์กลาง น้ำเสียจากบางอาคารจะผ่านการบำบัดด้วยระบบบำบัดแบบติดที่ของอาคาร แต่น้ำเสียจากบางอาคารจะไหลลงสู่คลองภายในมหาวิทยาลัยโดยไม่ผ่านการบำบัด ระบบบำบัดแบบติดที่ภายในมหาวิทยาลัยมีทั้งหมด 10 ระบบ แต่ใช้งานได้เพียง 4 ระบบ เนื่องจากระบบส่วนใหญ่ไม่ได้รับการดูเเลบำรุงรักษาอย่างถูกวิธีทำให้ชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ ระบบทั้ง 4 ที่ใช้งานได้ปกติ ได้แก่ ระบบของอาคารวิทยาศาสตร์ 1 คณะวิทยาศาสตร์ ระบบของอาคารศิลป์พีระศรี 2 คณะมัณฑนศิลป์ ระบบบำบัดแบบติดที่ของอาคารโสมสวลี (ส่วนอาคารหลัก) และอาคารโสมสวลี (ส่วนโรงอาหาร) คณะศึกษาศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่ออกจากระบบบำบัดแบบติดที่กับค่าที่กำหนดในมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (2553) พบว่าน้ำที่ออกจากระบบบำบัดทั้ง 4 มีค่าบีโอดี เจดาห์ลไนโตรเจน ฟอสฟอรัสทั้งหมด และของแข็งแขวนลอย เกินค่ามาตรฐาน จากปัญหาเหล่านี้มหาวิทยาลัยจึงควรดูแลบำรุงรักษาระบบบำบัดแบบติดที่ทั้ง 10 ระบบให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหามลพิษทางน้ำภายในมหาวิทยาลัย |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1583 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58311302.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.