Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1618
Title: Effect of fermented total mixed ration (FTMR) from pineapple wastes on rumen ecology, nutrients digestibility and growth performance in crossbred goat
ผลของอาหารผสมเสร็จหมักจากเศษเหลือสับปะรดต่อนิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมน, การย่อยได้โภชนะ และสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสม
Authors: Chalinee TIMKLIP
ชาลินี ติ้มขลิบ
Pornpan Saenphoom
พรพรรณ แสนภูมิ
Silpakorn University. Animal Sciences and Agricultural Technology
Keywords: อาหารผสมเสร็จหมัก
เศษเหลือสับปะรด
การย่อยได้โภชนะ
สมรรถนะการเจริญเติบโต
นิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมน
fermented total mixed ration
pineapple wastes
nutrients digestibility
growth performance
rumen ecology
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The study consisted of 2 experiments. Firstly, the objective was to study effect of fermented total mixed ration (FTMR) from pineapple wastes on in vitro digestibility, gas production and rumen ecology. This experiment was designed in a completely randomized design (CRD) with 3 treatments and 4 replicates which consisted of FTMR from pineapple peel to pineapple waste in 100:0 ratio (T1 as control), FTMR from pineapple peel to pineapple meal in 50:50 ratio (T2), FTMR from pineapple peel to pineapple leaf in 50:50 ratio (T3). The results showed that physical quality assessment of FTMR from pineapple wastes had well to very well and pH value between 4.05-4.06. Which FTMR from pineapple peel to pineapple meal in 50:50 ratio had higher total lactic acid content, in vitro organic matter digestibility, gas production and ammonium-nitrogen (NH3-N) than other treatments (P < 0.05). The in vitro dry matter and organic matter digestibility values of FTMR were range 62.77 -64.14 % and 95.35 – 97.42 % at 48 hours, respectively. The accumulative gas production volume was range 70.71 – 78.91 at 72 hours. However, total volatile fatty acid (TVFA) and bacteria content in rumen were not significantly different among treatments (P > 0.05). In conclusion, FTMR from pineapple peel to pineapple meal in 50:50 ratio can be used as a new alternative to recipe for animal feed substitutes in the dry season due to it had higher in vitro organic matter digestibility value, accumulative gas production volume and NH3-N than FTMR in other treatments. Secondly, the objective effect of FTMR from pineapple wastes on rumen ecology, nutrients digestibility and growth performance. Twelve crossbred goats (Native x Boer) with an average initial weight of goats was 16.71 ± 0.40 kg. This experiment was designed in a completely randomized design (CRD) with 3 treatments and 4 replicates which consisted of goat fed with Leucaena (T1 as control), goat fed with TMR from pineapple peel to pineapple meal in 50:50 ratio (T2), goat fed with FTMR from pineapple peel to pineapple meal in 50:50 ratio (T3). The goats were offered to feed and water ad libitum throughout this study (72 days). The results showed that goat fed with TMR or FTMR from pineapple peel to pineapple meal in 50:50 ratio had lower total feed intake than goat fed with Leucaena (P<0.01). While growth performance were not significantly different among treatments (P > 0.05). Therefore, goat fed with TMR or FTMR had higher feed efficiency than goat fed with Leucaena (P<0.01). The feed intake and average daily gain were 0.92, 0.62 and 0.54 kg/d and 138.21, 163.85 and 111.56 g/h/d, respectively. Moreover, goat fed with TMR or FTMR had higher nutrient digestibility of protein, nitrogen digestible and NH3-N in rumen than goat fed with Leucaena (P<0.05). While goat fed with TMR had higher TVFA, blood urea nitrogen and blood glucose than other treatments (P<0.05). However, pH value and bacteria count in rumen were not significantly different among treatments (P > 0.05). In conclusion, TMR and FTMR from pineapple peel to pineapple meal in 50:50 ratios can be used as roughage substitute. Moreover, can be used FTMR for alternative roughage source during dry season because it had no effect on growth performance, nutrients digestibility and rumen ecology.
การศึกษาในครั้งนี้ประกอบไปด้วย 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอาหารผสมเสร็จหมัก (Fermented total mixed ration: FTMR) จากเศษเหลือสับปะรดต่อการย่อยได้ในหลอดทดลอง (In vitro digestibility), จลนศาสตร์การผลิตแก๊สโดยใช้เทคนิคผลผลิตแก๊ส (Gas production) และนิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบรูณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลองๆ ละ 4 ซ้ำ คือ อาหาร FTMR จากเปลือกสับปะรดและเศษเหลือสับปะรดในอัตราส่วน 100:0 (กลุ่มการทดลองที่ 1; กลุ่มควบคุม), อาหาร FTMR จากเปลือกสับปะรดและกากสับปะรดในอัตราส่วน 50:50 (กลุ่มการทดลองที่ 2) และ อาหาร FTMR จากเปลือกสับปะรดและใบสับปะรดในอัตราส่วน 50:50 (กลุ่มการทดลองที่ 3) จากการศึกษาพบว่าการประเมินคุณภาพทางกายภาพของอาหาร FTMR จากเศษเหลือสับปะรดอยู่ในเกณฑ์คุณภาพดี –ดีมาก โดยมีค่า pH อยู่ในช่วง 4.05-4.06 ซึ่งอาหาร FTMR จากเปลือกสับปะรดและกากสับปะรดในอัตราส่วน 50:50 มีปริมาณกรดแลคติคทั้งหมด, สัมประสิทธิ์การย่อยได้อินทรียวัตถุ, ค่าจลนพลศาสตร์การผลิตแก๊ส, ปริมาณแก๊สสะสม และค่าแอมโมเนียไนโตรเจนสูงกว่าอาหาร FTMR ในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P < 0.05) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้วัตถุแห้ง และอินทรียวัตถุ ปริมาณแก๊สสะสม อยู่ในช่วง 62.77 -64.14 % และ 95.35 – 97.42% ตามลำดับ ในชั่วโมงที่ 48 ของระยะการบ่ม  และปริมาณแก๊สสะสมอยู่ในช่วง 70.71 – 78.91 ml ในชั่วโมงที่ 72 แต่อย่างไรก็ตามค่าปริมาณความเข้มข้นของกรดไขมันที่ระเหยได้ทั้งหมดและปริมาณแบคทีเรียที่สำคัญในกระเพาะรูเมนในแต่ละกลุ่มการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอาหาร FTMR จากเปลือกสับปะรดและกากสับปะรดในอัตราส่วน 50:50 สามารถใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการประกอบสูตรอาหารเป็นอาหารสัตว์ทดแทนในช่วงฤดูแล้งได้ เนื่องจากมีสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของอินทรียวัตถุ และปริมาณผลผลิตแก๊สสะสมและค่าแอมโมเนียไนโตรเจนสูงกว่าอาหาร FTMR ในกลุ่มการทดลองอื่นๆ   สำหรับการทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอาหาร FTMR จากเศษเหลือสับปะรดต่อการย่อยได้โภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสมพันธุ์พื้นเมือง x บอร์ เพศผู้ จำนวน 12 ตัว โดยแพะมีน้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 16.71 ± 0.40 กิโลกรัม โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบรูณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลองๆ ละ 4 ซ้ำ คือ แพะที่ได้รับก้านใบกระถินสด (กลุ่มการทดลองที่ 1; กลุ่มควบคุม), อาหาร TMR จากเปลือกสับปะรดและกากสับปะรดในอัตราส่วน 50:50 (กลุ่มการทดลองที่ 2), อาหาร FTMR จากเปลือกสับปะรดและกากสับปะรดในอัตราส่วน 50:50 (กลุ่มการทดลองที่ 3) ให้อาหารและน้ำอย่างเต็มที่ตลอดระยะการทดลอง (72 วัน) จากการศึกษาพบว่าแพะที่ได้รับอาหาร TMR และ FTMR มีปริมาณการกินได้วัตถุแห้งต่ำกว่าแพะที่ได้รับกระถิน (P < 0.01) ในขณะที่มีสมรรถนะการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) จึงส่งผลให้แพะที่ได้รับอาหาร TMR และ FTMR มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก (9.18 และ 11.21 ตามลำดับ) ที่ดีกว่าแพะที่ได้รับกระถิน (P < 0.01) โดยมีค่าปริมาณการกินได้วัตถุแห้ง และอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 0.92, 0.62 และ 0.54 กิโลกรัม/วัน และ 138.21, 163.85 และ 111.56 กรัม/ตัว/วัน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าแพะที่ได้รับอาหาร TMR และ FTMR มีสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโปรตีน, ปริมาณไนโตรเจนที่ย่อยได้ และ แอมโมเนียไนโตรเจนในกระเพาะรูเมนสูงกว่าแพะที่ได้รับกระถิน (P < 0.05) ในขณะที่แพะที่ได้รับอาหาร TMR มีค่าปริมาณความเข้มข้นของกรดไขมันที่ระเหยได้ทั้งหมด, ยูเรียไนโตรเจน และกลูโคสในกระแสเลือด สูงกว่ากลุ่มการทดลองอื่นๆ (P < 0.05) ส่วนค่า pH และจำนวนจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่าอาหาร TMR และ FTMR จากเปลือกสับปะรดและกากสับปะรดในอัตราส่วน 50:50 สามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกสำหรับการนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำอาหาร FTMR เก็บไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้งหรือช่วงขาดแคลนอาหารหยาบได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และนิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมน 
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1618
Appears in Collections:Animal Sciences and Agricultural Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58751201.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.