Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1637
Title: | The Causal Relationship and Effect of Learning Organization Competencies : An Empirical Evidence of Thailand Textile Industry ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของศักยภาพองค์การแห่งการเรียนรู้ : หลักฐานเชิงประจักษ์ของอุตสาหกรรมธุรกิจสิ่งทอในประเทศไทย |
Authors: | Chatcharawan MEESUBTHONG ชัชราวรรณ มีทรัพย์ทอง Viroj Jadesadalug วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ Silpakorn University. Management Sciences |
Keywords: | ศักยภาพองค์กรแห่งการเรียนรู้ , ความสามารถทางนวัตกรรม, ทีมพลวัต, วิสัยทัศน์เพื่อการรวม พลัง, ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่, ผลการดำเนินงานขององค์การ Learning organization competencies Vision for Synergy Team Dynamic New Decade Leader Innovation Capability Organization Performance. |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of this research was to study the cause and effect relationships of Learning Organization Competencies on the textile industry in Thailand. As it is the fourth largest industry in the industry with the largest value added per gross domestic product which facing severe environmental change, Thailand Textile Industry must increase its ability to compete. Meanwhile building learning organization competencies has been accepted broadly to create competitive advantage effectively. This research uses mixed method methodology. Mainly use quantitative research methods and supported by qualitative research. Unit of analysis is the organization. Data were collected from 2,006 textile industry executives in Thailand, with 201 responses. Statistic used in data analysis include structural equation analysis. The results showed that vision for ynergy, team dynamic and new decade leader have directly positive impact on learning organization competencies while learning organization competencies also has directly positive impact on innovation capability and firm performance. Moreover learning organization competencies has indirectly positive impact on firm performance with innovation capability as a mediator. Supporting by qualitative research which revealed that Thailand-textile industry focus on teamwork adaptation, determine strategy to operate in order to compete with competitors with many advantages. At the same time, paying attention to the importance of moral management and develop innovative capabilities to increase business value and profitability. This research propose policy benefits to use as a quideline for strategy and policy development in Thailand’s textile industry such as improving education curriculum to fit with workforce demand upon skilled labor with systematic planning among stakeholders. Besides this research also offers business benefits such as human resources development for the future, customer management to create opportunities in market segmentation and competitive advantages. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของศักยภาพองค์การแห่งการเรียนรู้ของอุตสาหกรรมธุรกิจสิ่งทอในประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นอันดับที่ 4 ของอุตสาหกรรมทั้งหมด และกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง ส่งผลให้อุตสาหกรรมธุรกิจสิ่งทอจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างศักยภาพองค์การแห่งการเรียนรู้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมธุรกิจต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและนำวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมายืนยันผลการวิจัย ใช้หน่วยในการวิเคราะห์ในระดับองค์การ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริหารของอุตสาหกรรมธุรกิจสิ่งทอในประเทศไทย จำนวน 2,006 ราย ได้รับการตอบกลับจำนวน 201 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า วิสัยทัศน์เพื่อการรวมพลัง ทีมพลวัต และ ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ ส่งกระทบทางตรงเชิงบวกกับศักยภาพองค์การแห่งการเรียนรู้ และศักยภาพองค์การแห่งการเรียนรู้ส่งผลกระทบทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถทางนวัตกรรมและผลการดำเนินงาน ในขณะที่ศักยภาพองค์การแห่งการเรียนรู้ส่งผลกระทบทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานโดยมีความสามารถทางนวัตกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่พบว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมธุรกิจสิ่งทอของประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการปรับตัวด้วยการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีความได้เปรียบในหลายด้าน ในขณะเดียวกันได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารตามหลักคุณธรรมโปร่งใสชัดเจน มุ่งพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าในการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการ จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำเสนอประโยชน์ในเชิงนโยบาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการพัฒนาสิ่งทอของประเทศไทย และแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสมกับการสร้างแรงงานที่มีผีมือและมีความเชี่ยวชาญให้กับผู้ประกอบการด้านสิ่งทอของประเทศ โดยการวางแผนร่วมกันอย่างเป็น ระบบทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังได้นำเสนอประโยชน์ในเชิงธุรกิจ โดยการจัดทำแผนการพัฒนาบุคคลากร และแผนการพัฒนาทักษะที่จำเป็น ในการพัฒนาองค์การให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็น เน้นการสร้างเสริมบรรยากาศในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นทีม การให้ความสำคัญกับแนวทางสำหรับการคัดเลือกผู้นำที่เปิดกว้างรับแนวคิดใหม่เพื่อการพัฒนายึดหลักเหตุผลและคุณธรรมในการดำเนินงานเพื่อมาตรฐานในการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การศึกษาความต้องการจากลูกค้าอย่างเป็นระบบเพื่อนำมาพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานได้ถูกต้องตรงประเด็นก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยอดเยี่ยม |
Description: | Doctor of Philosophy (PH.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1637 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57604810.pdf | 5.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.