Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1692
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKacheenuch SAWASDINAMen
dc.contributorขจีนุช สวัสดินามth
dc.contributor.advisorAMARIN TAWATAen
dc.contributor.advisorอมรินทร์ เทวตาth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Management Sciencesen
dc.date.accessioned2018-12-14T02:58:06Z-
dc.date.available2018-12-14T02:58:06Z-
dc.date.issued17/8/2018
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1692-
dc.descriptionMaster of Business Administration (M.B.A.)en
dc.descriptionบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)th
dc.description.abstractThe objectives of this study were four; 1) To study the degree of e-commerce website elements 2) To study the degree of perceived e-commerce which was e-marketplace reputation 3) To study the degree of e-marketplace trust 4) To study the website elements and perceived E-commerce reputation which influence customer trust. This study adopte7C framework and collected a sample group of those who had experience of purchasing products from e-commerce website. Quota sampling was estimated 81 percent from LAZADA and 19 percent from SHOPEE customer group by online questionnaires. Factor analyzing was employed. Hypothesis testing was tested by Multiple Linear Regression. Findings found that most of respondent are female with between 30 – 39 years old. Educational level were bachelor degree. Revenue per month of respondents were 20,001 – 30,000 baht. The most respondents have shopping during once a month, mainly fashion, apparel, 501-1,000 baht per time and payment by mobile banking. The result also found that the degree of e-commerce website elements, seven factors of e-commerce website, Commerce and Content were the highest. and Context, Community, Customization, Communication and Connection were high level. The degree of perceived e-commerce which was e-marketplace reputation was the highest.  The degree of perceived e-marketplace trust was high level. The result shows that Community, Communication, Customization and perceived e-commerce reputation was the positive influencing factor on customer trust.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ขององค์ประกอบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ในชื่อเสียงของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของความไว้วางใจในการซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยองค์ประกอบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการรับรู้ในชื่อเสียงของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความไว้วางใจในการซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยนำเอาองค์ประกอบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 7 ด้าน มาทำการศึกษา จากผู้ที่เคยซื้อสินค้าจากตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบโควตาจากผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ LAZADA ร้อยละ 81 และ SHOPEE ร้อยละ 19 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 – 39 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาทสินค้าที่นิยมซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่เป็นสินค้าแฟชั่น, เครื่องแต่งกาย ซื้อเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งโดยซื้อครั้งละ 501 – 1,000 บาท ชำระสินค้าส่วนใหญ่ด้วย Mobile banking ผลการวิจัยยังพบว่าผู้บริโภคมีระดับการรับรู้ขององค์ประกอบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7 ด้าน ของตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านการพาณิชย์ (Commerce) และ ด้านเนื้อหา (Content) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านบริบท (Context)  ด้านชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Community) ด้านการปรับแต่ง (Customization) ด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) และด้านการเชื่อมโยง (Connection) อยู่ในระดับมาก มีระดับการรับรู้ในชื่อเสียงของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมากที่สุด มีระดับการรับรู้ของความไว้วางใจในการซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก และพบว่าองค์ประกอบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Community)  ด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) และด้านการปรับแต่ง (Customization) ส่งผลทางบวกต่อความไว้วางใจในการซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ และการรับรู้ในชื่อเสียงของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ส่งผลทางบวกต่อความไว้วางใจในการซื้อผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์th
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์th
dc.subjectความไว้วางใจth
dc.subjectตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์th
dc.subjecte-commerce websiteen
dc.subjecttrusten
dc.subjecte-marketplaceen
dc.subject.classificationBusinessen
dc.titleFactors Affecting Trust of E-Marketplace in Thailanden
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความไว้วางใจตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59602306.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.