Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1820
Title: | THE RELATIONSHIP BETWEEN SPACE AND ART OF NAVIN RAWANCHAIKUL ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และศิลปะของ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล |
Authors: | Wanlita AYUTH วัลย์ลิตา อยุทธ์ Paramaporn Sirikulchayanont ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts |
Keywords: | พื้นที่สาธารณะ ศิลปะจัดวาง ศิลปะสาธารณะ PUBLIC SPACE INSTALLATION PUBLIC ART |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | Nawin Rawanchaikul is a contemporary artist who is accepted internationally. His performance art holds unique installations that using spaces as a component. Additionally, it has interesting processes such as: the interaction of the audience (interactive) where the audience is involved by using multimedia and community art welfare (community). Thus, this thesis, which is a qualitative research, using the theory of space relational art, focuses on the relationship between Navin’s art and different types of spaces. Upon analyzing, it can be categorized into 3 types as follows: 1) Art in public spaces; creating art or art situations in public spaces where people can attend and the concept of the art is supported by the meaning of the spaces, utilizing the spaces as the representations of themselves to support the meaning of the art. 2) Art in identified or specific spaces; these spaces are on another level and can act as both realistic and ideal spaces. They combine differences using art as a combining tool. Accordingly, new spaces are created and act as representations of absolute desire, and 3) Community art; the artist and members of communities cooperate to create art, in order to develop the relationship between the members. The form of this kind of art is inspired by the present community lifestyles which are resulted from the events in the past. There are both the communities that have been running the activities since the past and those who used to do so in the past. The differences of the active spaces and the inactive spaces can be obviously seen. Accordingly, the artist has to find strategies to create art in community spaces that make the members conscious of their co-ownership of the spaces. It can be seen that his artistic methods hold a “working” attribute, starting from surveying information, then synthesizing the information, and transforming into the components of the exhibitions. Therefore, each piece of work is unique and has different methods from each other focusing on the interaction and the participation between the audience and the art, expressing the co-existence of environmental factors within the spaces. นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล เป็นศิลปินร่วมสมัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล มีความน่าสนใจในการนำงานศิลปะเข้าไปสู่พื้นที่ต่างๆ และมีกระบวนการที่น่าสนใจ เช่น การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม (Interactive) การใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อดึงผู้ชมให้เข้ามาร่วมกับงาน และการทำงานศิลปะที่ร่วมมือกับชุมชน (Community) ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของงานศิลปะของนาวิน กับพื้นที่ในรูปแบบต่างๆด้วยทฤษฎีของพื้นที่และศิลปะเชิงสัมพันธ์ เมื่อวิเคราะห์แล้วสามารถจำแนกออกมาได้ 3 แบบ คือ 1.) ศิลปะที่ติดตั้งในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นการสร้างศิลปะหรือสถานการณ์ศิลปะในพื้นที่สาธารณะที่ที่ผู้คนทั่วไปเข้าถึงได้และใช้ความหมายของพื้นที่ส่งเสริมแนวคิดของงาน โดยเป็นการใช้พื้นที่ในฐานะภาพตัวแทนของพื้นที่เป็นตัวส่งเสริมความหมายของงาน และการใช้พื้นที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งหนึ่งเพื่อเน้นย้ำความหมายของงานให้ชัดเจนขึ้น 2.) ศิลปะที่ติดตั้งในพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่พิเศษ เป็นพื้นที่อีกระดับหนึ่งที่สามารถเป็นทั้งพื้นที่ที่มีอยู่จริงและพื้นที่ในอุดมคติ เป็นพื้นที่ที่ทำหน้าที่ผสานความแตกต่างโดยใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือเชื่อมรอยต่อ และการสร้างพื้นที่ขึ้นใหม่ให้เป็นภาพตัวแทนของความปรารถนาอันสมบูรณ์แบบ และ 3.) ศิลปะชุมชน เป็นกระบวนการสร้างงานศิลปะที่ศิลปินต้องร่วมมือกับสมาชิกในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ซึ่งรูปแบบของศิลปะนั้นได้แรงบันดาลใจจากวิถีของชุมชนในปัจจุบัน อันเป็นผลพวงมาจากเหตุการณ์ในอดีต มีทั้งชุมชนที่ยังคงดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องมาแต่ครั้งอดีตและชุมชนที่วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมาได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว ซึ่งเห็นถึงความแตกต่างทางพื้นที่ได้อย่างชัดเจนระหว่างพื้นที่ที่เคลื่อนไหวกับพื้นที่หยุดนิ่ง ดังนั้นศิลปินจำเป็นจะต้องหากลวิธีเพื่อที่จะสร้างสรรค์ศิลปะในพื้นที่ชุมชน ให้เกิดสำนึกถึงการเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน เมื่อได้ทำการจำแนกและวิเคราะห์ผลงานตามหมวดหมู่แล้ว พบว่าการสร้างสรรค์งานศิลปะของนาวินนั้นมีแนวทางการดำเนินงานเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการสำรวจเก็บข้อมูลต่างๆของพื้นที่แล้วจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์เป็นส่วนประกอบต่างๆ ของนิทรรศการ ดังนั้นผลงานศิลปะแต่ละชุดจึงมีความหลายและกระบวนการดำเนินงานที่แตกต่างกันออกไป โดยมุ่งเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับผู้ชม การเข้ามีส่วนร่วมและยังรวมถึงการแสดงการดำรงอยู่ร่วมกันขององค์ประกอบต่างๆในพื้นที่ |
Description: | Master of Fine Arts (M.F.A.) ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1820 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57005215.pdf | 6.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.