Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1848
Title: A Relationship between Nan Sukhothai and Lannain 14th - 17th Century from Archaeological Evidence
ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านกับสุโขทัยและล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - 22 จากหลักฐานทางโบราณคดี
Authors: Arithach NOKNGAM
อริย์ธัช นกงาม
Kannika Suteerattanapirom
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: โบราณคดี
น่าน
สุโขทัย
ล้านนา
Archaeology
Nan
Sukhothai
Lanna
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research is to study the relationship between Nan, Sukhothai and Lanna during 14th - 17th century A.D. The study is based on historical evidence, archaeological reports, and archaeological survey in 3 areas (Pua, Phu-Phiang, and Muang-Nan District). The results demonstrate the sequences of Nan which can be divided into 6 phases: Phases I (12th – 13th century A.D.) Evidence of settlement in Nan area at the time was only mentioned in local historical record of Phayao. Phases II (late 13th century A.D.) First settlement, Political relationship with Lanna is also started in this period but was unstable. Phases III (before A.D. 1292 – A.D. 1338) Pua ancient city flourished on the grounds of trading network in the area which brought Sukhothai political connection into Nan for the first time. Phases IV (A.D. 1356 – A.D. 1442) The period of close relationship of Nan and Sukhothai in the aspect of religion, kinship, arts, and politic. The archaeological evidence and Nan pottery also indicate relationship with Sukhothai and Lanna. Phases V (A.D. 1450 – A.D. 1558) Nan under the conquering of Lanna. Nan accepted Lanna art influence. Phases VI (A.D. 1558 – A.D. 1783) Nan under the conquering of Burma. Still, Lanna art influence was carried on.
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านกับสุโขทัย และล้านนา ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 19 – 22 จากการรวบรวมหลักฐานทางโบราณคดี ร่วมกับหลักฐานที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดีในพื้นที่ 3 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอภูเพียง และอำเภอเมืองน่าน โดยผลการวิจัยสามารถแบ่งได้เป็น 6 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยพญาภูคา (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 18) พบเพียงหลักฐานเอกสารพื้นเมืองพะเยาที่แสดงให้เห็นร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่จังหวัดน่าน ระยะที่ 2 สมัยพญาภูคา (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18) การตั้งถิ่นฐานมีความชัดเจน และสัมพันธ์กับล้านนาเป็นครั้งแรกแต่เป็นด้านการขยายอำนาจ ระยะที่ 3 กำเนิดเมืองพลัว (ปัว) (ก่อน พ.ศ. 1835 - 1881) เมืองพลัวอาจเกิดขึ้นบนเส้นทางเครือข่ายการค้า และเป็นครั้งแรกที่สุโขทัยแผ่อำนาจขึ้นมาถึงเมืองน่าน ระยะที่ 4 เวียงภูเพียงแช่แห้งและเวียงน่าน (พ.ศ. 1899 - 1985) เมืองน่านสัมพันธ์กับสุโขทัยอย่างใกล้ชิดทั้งการเมืองและเครือญาติรวมถึงงานศิลปกรรม ขณะที่หลักฐานทางโบราณคดีและการผลิตภาชนะดินเผาเมืองน่านแสดงถึงความสัมพันธ์กับทั้งสุโขทัยและล้านนา ระยะที่ 5 เมืองน่านภายใต้การปกครองของล้านนา (พ.ศ. 1993 - 2101) อิทธิพลทางการเมืองจากล้านนาเข้าสู่เมืองน่านเป็นครั้งแรกพร้อมกับงานศิลปกรรม ทั้งยังอาจทำให้ล้านนาได้ประโยชน์ด้านทรัพยากรอีกด้วย ระยะที่ 6 เมืองน่านขึ้นกับพม่า (พ.ศ. 2101 - 2326) แม้พม่าจะเข้าปกครองเมืองน่านแต่อิทธิพลด้านงานศิลปกรรมจากล้านนายังคงสืบมา
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1848
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57101210.pdf15.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.