Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1960
Title: Nutrition Screening and Assessment Patterns for Hospitalized Patients: A Systematic Review
รูปแบบการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
Authors: Kwanchanok JANWEERANON
ขวัญชนก เจนวีระนนท์
Waranee Bunchuailua
วารณี บุญช่วยเหลือ
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: ทุพโภชนาการ
ผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล
การคัดกรองภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะโภชนาการ
Malnutrition
Hospitalized patient
Nutrition screening
Nutrition assessment
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Malnutrition is an important public health problem which can affect ailment, mortality and increased cost of illness. This study aimed to systematically review on patterns of screening risk of malnutrition and evaluation of malnutrition status for hospitalized patients. Published reports were searched through the electronic databases including Medline, The Cochrane Library and Thai databases from inception to October 2016. The researchers selected experimental studies both with randomized or non-randomized or analytical studies including case-control, cohort, cross-sectional studies which studied on the screening of risk of malnutrition and evaluation of malnutrition status in hospitalized patients and reported the following outcomes: prevalence of malnutrition, hospitalization period, mortality rate. Results found that 86 studies were identified according to inclusion criteria. The studies screened risk of malnutrition and/or evaluated malnutrition status in several types of hospitalized patients including pediatric patient, critically ill patient, digestive surgery patient, geriatric patient. Patterns of screening and evaluation of malnutrition used in the studies could be categorized into 3 types which were 1) subjective nutritional assessment (e.g., patient history, dietary assessment, physical assessment); 2) objective nutritional assessment (e.g., anthropometric measurement, biochemical assessment , functional assessment) and 3) Screening and assessment tools (e.g., Subjective Global assessment,  Nutritional Risk Screening, STRONGkids). Results of the outcomes of the studies indicated that malnutrition prevalence was 0-92.1% depends on types of tools used and types of patients. Patients with malnutrition had higher mortality rate and hospitalized period than those with normal nutrition status or mild malnutrition status. Moreover, malnutrition patients were more affected from infection and recurrence of the disease than those with normal nutrition status or mild malnutrition status. Screening and evaluation for malnutrition in hospitalized patients are essential and could decrease negative impacts on mortality, hospitalization period, infection and disease recurrence. A number of patterns of screening and evaluation for malnutrition are available; however, appropriate selection for use of the patterns should be based on individual patients.                
ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งส่งผลต่อการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของรูปแบบการคัดกรองความเสี่ยงและประเมินระดับความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการที่มีการใช้ในผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล โดยสืบค้นรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Medline, The Cochrane Library และฐานข้อมูลภาษาไทยตั้งแต่เริ่มมีฐานข้อมูล จนถึงตุลาคม พ.ศ.2559 ผู้วิจัยคัดเลือกงานวิจัยรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การศึกษาเชิงทดลองทั้งแบบสุ่มและไม่มีการสุ่มและการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ที่ทำการศึกษาโดยใช้รูปแบบต่างๆ ในการคัดกรองความเสี่ยงและประเมินระดับความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลในการการใช้เครื่องมือคัดกรองภาวะโภชนาการและวัดผลลัพธ์เป็นความชุกของภาวะทุพโภชนาการ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล อัตราตาย ผลการศึกษาพบงานวิจัยจำนวน  86 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า โดยเป็นการศึกษาที่มีการใช้รูปแบบการคัดกรองและประเมินภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยหลายกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติ ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดทางเดินอาหาร ผู้ป่วยสูงอายุ สำหรับรูปแบบที่ใช้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) การใช้ข้อมูลจากตัวบุคคล ได้แก่ การซักประวัติ การประเมินอาหารที่บริโภค การตรวจร่างกายทางคลินิก 2) การใช้ข้อมูลจากการวัด ได้แก่ การวัดสัดส่วนของร่างกาย การตรวจทางชีวเคมี การประเมินจากหน้าที่ 3) เครื่องมือที่เป็นแบบวัดซึ่งประกอบด้วยการใช้ข้อมูลจากตัวบุคคลและข้อมูลจากการวัด จำนวน 30 แบบวัด เช่น Subjective Global assessment,  Nutritional Risk Screening, STRONGkids ส่วนผลลัพธ์ของการศึกษาพบว่า ความชุกของภาวะทุพโภชนาการอยู่ในช่วง 0-92.1% ขึ้นกับรูปแบบที่ใช้และลักษณะของผู้ป่วย ผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลที่มีภาวะทุพโภชนาการจะมีอัตราตายและระยะเวลานอนโรงพยาบาลยาวมากกกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการปกติหรือภาวะทุพโภชนาการรุนแรงน้อยกว่า นอกจากนี้ภาวะทุพโภชนาการยังทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อและการกลับเป็นซ้ำที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การคัดกรองความเสี่ยงและประเมินภาวะทุพโภชนานาการในผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยจะช่วยลดผลกระทบต่อผู้ป่วยในด้านการเสียชีวิต การนอนโรงโรงพยาบาล การติดเชื้อและการกลับเป็นซ้ำได้ ทั้งนี้รูปแบบในการคัดกรองและประเมินภาวะทุพโภชนาการมีความหลากหลาย อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยด้วย
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1960
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56352304.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.