Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1983
Title: Increasing the efficiency of goat reproduction by developing  Timed Artificial Insemination (TAI) and appropriate semen extender
การเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของแพะโดยการพัฒนาโปรแกรมการผสมเทียมแบบกำหนดเวลาและสารละลายน้ำเชื้อที่เหมาะสม
Authors: Phakatip YODMINGKWAN
ผกาทิพย์ ยอดมิ่งขวัญ
Krittiya Lertchunhakiat
กฤติยา เลิศชุณหะเกียรติ
Silpakorn University. Animal Sciences and Agricultural Technology
Keywords: แพะ โปรแกรมการผสมเทียมแบบกำหนดเวลา สารละลายน้ำเชื้อ ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์
Goat Timed artificial insemination Semen extender Efficiency of reproduction
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The study consisted of 2 experiments. Firstly, the objective was to study efficacy of controlled internal drug releasing  (CIDR-G) device with gonadotropin releasing hormone (GnRH) supplemented with or without PGF2a on estrus synchronization and ovulation in goats. Ten nulliparous does were used and divided into 2 treatments (n=5) follow as, treatment 1: intravaginal progestin with CIDR-G for 8 days and intramuscularly with GnRH at CIDR-G removal and treatment 2: intravaginal CIDR-G device for 8 days and intramuscularly GnRH and PGF2a at CIDR-G removal. The result showed that animals in both groups have percentage of estrus 100 % did not differ significant between groups (p>0.05). Time to estrus after intramuscularly of both groups were 15.60 ± 2.40 and 49.20 ± 18.04 hours respectively, were differ highly significant between groups (p<0.01) and duration of estrus were 14.40 ± 2.40 and 27.60 ± 14.40 hours did not differ significant between groups (p>0.05). After this study, the efficiency of the two ovulation induction programs was studied using 12 does and fixed-time transcervical intrauterine artificial insemination at 48 hours after progesterone removal with frozen goat semen from Department of Livestock Development (DLD) of Thailand. Then, return to estrus were investigated and transrectal ultrasonogrophy were performed after TAI on day 21 and 30, repectively. The conception rates of 8 days and GnRH  and 8 days and GnRH+ PGF2a were 83.33% and 75%, respectively, did not differ significant between groups (p>0.05). Therefore, both types of programs could be used in nulliparous doe for ovulation synchronization and fixed-time AI. However, hormone program treatment 1 was higher precision time of ovulation and lower cost than treatment 2. Secondly, the objective was to compare the effects of substance diluted semen on semen quality of boer goat. Semen from three boer bucks was collected using artificial vagina. The semen samples were pooled and preserved in liquid state and subsequently were diluted with phosphate buffer solution (PBS), tris-fructose-citric acid (TFC), tris-fructose-citric acid + 1.5% soybean lecithin (TFCSL) and tris fructose-citric acid + 2.5% egg yolk (TFCEY). It was found that percentage of sperm motility of TFCSL was highest (p<0.05).  Percentage of sperm viability of TFC was highest (p<0.05). Percentage of sperm abnormality were not significantly differed (p>0.05). Percentage of membrane integrity of TFCSL was highest (p<0.05). This study shows that TCFSL and TCFEY extender can be used for preserved goat semen more than 3 days. Based on the results, it can be concluded that an extender containing soybean lecithin as the lipid and lipoprotein source can be used to prepare the goat semen for fresh semen preservation. 
การศึกษาในครั้งนี้ประกอบไปด้วย 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของฮอร์โมนที่มีต่ออัตราการเป็นสัดและตกไข่ของแพะสาวที่เหนี่ยวนำด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์รูปแบบซิลิโคน (controlled internal drug releasing device-goat; CIDR-G) ร่วมกับโกนาโดโทรปินส์รีลิสซิงฮอร์โมน (gonadotropin releasing hormone; GnRH)  ที่เสริมหรือไม่เสริมด้วยฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินเอฟทูอัลฟา (prostaglandin F2a; PGF2a) วางแผนการทดลองสุ่มแบบสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) โดยใช้แพะสาวพันธุ์บอร์จำนวน 10 ตัว แบ่งแพะออกเป็น 2 กลุ่ม (n=5) ทำการเหนี่ยวนำการเป็นสัดและตกไข่ดังนี้คือ ทรีทเมนต์ที่ 1 ใช้การสอด CIDR-G ทางช่องคลอดเป็นเวลา 8 วัน และในวันที่ถอด CIDR-G ฉีด GnRH 0.75 มิลลิกรัม และในทรีทเมนต์ที่ 2 ใช้การสอด CIDR-G ทางช่องคลอดเป็นเวลา 8 วัน ในวันที่ถอด CIDR-G ทำการฉีด GnRH 0.75 มิลลิกรัม และ PGF2a 0.5 มิลลิกรัม  พบว่าแพะในกลุ่มการทดลองทั้งสองกลุ่มมีเปอร์เซ็นต์การเป็นสัด 100 % (5/5) มีอาการเป็นสัดโดยนับจากถอด CIDR-G จนกระทั่งแสดงอาการเป็นสัดเฉลี่ยในชั่วโมงที่ 15.60±2.40 และ 49.20±18.04 ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งในกลุ่มทรีทเมนต์ที่ 2 แสดงอาการเป็นสัดช้ากว่ากลุ่มทรีทเมนต์ที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) และทั้ง 2 กลุ่มการทดลองมีระยะเวลาเป็นสัด 14.40±2.40 และ 27.60±14.40 ชั่วโมง ซึ่งกลุ่มทรีทเมนต์ที่ 2 มีระยะเวลาเป็นสัดนานกว่ากลุ่มทรีทเมนต์ที่ 1 แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ซึ่งภายหลังจากการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมการเหนี่ยวนำการตกไข่ทั้งสองโปรแกรมที่มีต่ออัตราการผสมติด โดยใช้แพะสาวสายพันธุ์บอร์เพศเมีย จำนวน 12 ตัว  แล้วผสมเทียมผ่านทางคอมดลูกด้วยน้ำเชื้อแพะแช่แข็งจากกรมปศุสัตว์ ในชั่วโมงที่ 48 หลังถอด CIDR-G  จากนั้นตรวจสอบการกลับสัดภายหลังการผสมเทียมในวันที่ 21 และตรวจสอบด้วยเครื่องอัลตราซาวน์หลังการผสมเทียม 30 วัน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มการทดลองมีอัตราการผสมติด 83.33 % และ 75 % ตามลำดับ  ซึ่งกลุ่มทรีทเมนต์ที่ 1 มีอัตราการผสมติดสูงกว่ากลุ่มทรีทเมนต์ที่ 2 แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของโปรแกรมการเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียมแบบกำหนดเวลาทั้งสองโปรแกรมสามารถใช้ทำการผสมเทียมในชั่วโมงที่ 48 ให้อัตราการผสมติดในแพะสาวได้ดี ซึ่งโปรแกรมตามกลุ่มทรีทเมนต์ที่ 1 ซึ่งไม่ใช้ PGF2a ให้ผลดีสำหรับช่วงเวลาตกไข่ที่แม่นยำกว่า และยังมีต้นทุนต่ำกว่าเหมาะสำหรับนำไปใช้ในฝูงแพะสาว การทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้สารละลายเจือจางน้ำเชื้อต่างกันที่มีต่อคุณภาพของน้ำเชื้อแพะในรูปน้ำเชื้อสด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) รีดเก็บน้ำเชื้อด้วยช่องคลอดเทียมจากพ่อพันธุ์ 3 ตัว ผสมรวมกัน (pooled semen) นำน้ำเชื้อสดมาผสมกับสารเจือจางน้ำเชื้อ 4 ทรีทเมนต์ๆ ละ 6 ซ้ำ โดยใช้สารเจือจางน้ำเชื้อ PBS (กลุ่มควบคุม), tris citric fructose (TCF), tris citric fructose+1.5% soybean lecithin (TCFSL) และ tris citric fructose+ 2.5 % egg yolk (TCFEY) พบว่าเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของอสุจิที่ทรีทเมนต์ TCFSL มีค่าสูงที่สุด (p<0.05) เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของอสุจิที่ทรีทเมนต์ TCF มีค่าสูงที่สุด (p<0.05) เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของอสุจินั้นมีค่าที่ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์ความสมบูรณ์ของอะโครโซมที่ทรีทเมนต์ TCF, TCFSL และ TCFEY มีค่าที่ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า การใช้ TCF จะทำให้คุณภาพน้ำเชื้อสดดีที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถใช้เลซิทินจากถั่วเหลืองเป็นแหล่งของลิปิดและไลโปโปรตีนแทนไข่แดงในสารละลายเจือจางน้ำเชื้อสดได้เนื่องจากให้ผลไม่แตกต่างกัน 
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1983
Appears in Collections:Animal Sciences and Agricultural Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57751203.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.