Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2344
Title: EFFECTS OF LEARNING ACTIVITIES MANAGEMENT USING THINKING ACTIVELY IN A SOCIAL CONTEXT WHEEL MODEL ON USING SOCIAL STUDIES KNOWLEDGE ABILITIES AND JUSTICE-ORIENTED CITIZEN CHARACTERISTIC OF EIGHT GRADE STUDENTS
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคมที่มีต่อความสามารถในการใช้ความรู้ทางสังคมศึกษาและคุณลักษณะพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Siriporn PUTTAISONG
ศิริพร พุทไธสงค์
Chairat Tosila
ชัยรัตน์ โตศิลา
Silpakorn University. Education
Keywords: รูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคม
ความสามารถในการใช้ความรู้ทางสังคมศึกษา
การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา
คุณลักษณะพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม
LEARNING ACTIVITIES MANAGEMENT USING THINKING ACTIVELY IN A SOCIAL CONTEXT WHEEL MODEL
USING SOCIAL STUDIES KNOWLEDGE ABILITIES
LEARNING MANAGEMENT OF SOCIAL STUDIES
JUSTICE-ORIENTED CITIZEN CHARACTERISTIC
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research was to: 1) study the abilities in using social studies knowledge of students learning with Thinking Actively in a Social Context Wheel Model 2) compare the abilities in using social studies knowledge of students before and after learning with Thinking Actively in a Social Context Wheel Model  3) studying the characteristic of Justice – oriented citizen of students learning with Thinking Actively in a Social Context Wheel Model  and 4) comparing the the characteristic of Justice – oriented citizen of students before and after learning with Thinking Actively in a Social Context Wheel Model. The sample of this research consisted of 24 students of class 8/3 studying in the second semester of the academic year 2018 in Srinakharinwirot University Demonstration School, Ongkharak District. Nakhon Nayok Province. The instrument used in the experiment is the unit learning plan by using Thinking Actively in a Social Context Wheel Model. Learning unit 1: We are good citizens in a democratic way and learning unit 2: social institutions The tools used for collecting data are abilities in using social studies knowledge and characteristic of Justice – oriented citizen. The data were analyzed by the arithmetic mean (x̄), standard deviation (S.D.) and t-test dependent. The research findings were summarized as follows: 1. The abilities in using social studies of students who learn with Thinking Actively in a Social Context Wheel Model were at a very good level. 2. The abilities in using social studies were higher than that before using Thinking Actively in a Social Context Wheel Model at .01 level of significance. 3. Justice-oriented citizen characteristic of students who learn Thinking Actively in a Social Context Wheel Model was at a high level. 4. Justice-oriented citizen characteristic of students who have been organized with Thinking Actively in a Social Context Wheel Model after learning significantly higher than before learning Statistics at the level of .01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการใช้ความรู้ทางสังคมศึกษาของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ความรู้ทางสังคมศึกษาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคม 3) ศึกษาคุณลักษณะพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคมของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคม และ 4) เปรียบเทียบคุณลักษณะพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคมของนักเรียนก่อนและหลังเรียนตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนหน่วยการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคม หน่วยการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เราเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย และหน่วยการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สถาบันทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการใช้ความรู้ทางสังคมศึกษา และแบบประเมินคุณลักษณะพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการใช้ความรู้ทางสังคมศึกษาของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคมอยู่ในระดับดีมาก 2. ความสามารถในการใช้ความรู้ทางสังคมศึกษาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. คุณลักษณะพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคมของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคมอยู่ในระดับมาก 4. คุณลักษณะพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคมของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวงล้อการคิดอย่างกระตือรือร้นในบริบทเชิงสังคมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2344
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60262405.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.