Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2370
Title: Magical Realism in Thai Contemporary Art in 2014-2017 as the means to present small narratives in politics
เรื่องเล่าย่อยทางการเมืองผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์ในผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทยปี 2557-2560
Authors: Nuttamon PRAMSUMRAN
นัทธมน เปรมสำราญ
Chaiyosh Isavorapant
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: สัจนิยมมหัศจรรย์
ศิลปะร่วมสมัย
เรื่องเล่าย่อย
วาทกรรมหลัก
รัฐประหารปี พ.ศ. 2557
magical realism
small narratives
contemporary art
dominant discourses
2014 Thai Coup D'État
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of the study is to analyze how the elements of magical realism correspond to the presentation of small narratives in contemporary art of Thai artists after 2014 Thai coup d'état. The case study is four sets of contemporary art pieces by four Thai artists: 1. “Songs without lyrics” by Wantanee Siripattananuntakul, consisted of three pieces, “III” (2014),“She sings a voiceless song” (2015) and “The Conductor” (2016), 2. “The Shards Would Shatter at Touch, Suk Sa Lai” (2017) by Tada Hengsapkul, comprised of a piece with number 000023 and a portrait of Chaiyapoom Pasae, 3. "Rai Mol Tin: Whitewash" (2016-2017) by Harit Srikao, consisted of three photographs demanded taken down from the wall by soldiers and undercover police officers, 4. "246247596248914102516... And then there were none" (2017) by Arin Rungjang, consisted of video and sculpture. The researcher uses her 7 Characteristics of Magic Realism to determine whether mentioned sets of works are magical realism or not. The characteristics are as follows: 1. Sober Subjects, 2. Representational 3. Magical elements grow organically out of the reality portrayed. 4. A strong presence of the phenomenal world 5. The viewer may hesitate between two contradictory understandings of events—and hence experiences some unsettling doubts, often whether it is hallucination or miracle. 6. The viewer experience the closeness or near-merging of two realms, two worlds. and 7. These fictions question received ideas about time, space, and identity to reflect how dominant discourses dominate small narratives. The result is that four sets of works have almost every characteristic of Magical Realism or 93.65%.  Small narratives are presented through elements of magical realism in the case study to fight back or argue dominant discourses proposed by National Council for Peace and Order (NCPO) and to revisit a part of history or a particular political event in Thailand. “Songs without lyrics” by Wantanee Siripattananuntakul presents songs without lyrics and a character without a voice to rebut the discourse upholding the government’s legitimacy in the song "Returns the happiness to Thailand” by NCPO. “The Shards Would Shatter at Touch, Suk Sa Lai” (2017) by Tada Hengsapkul presents a photograph of a person, who was mistreated or affected by the discourse on law enforcement, on a piece of cloth which will only appears when viewers touch and give it warmth. "Rai Mol Tin: Whitewash" (2016-2017) by Harit Srikao presents inappropriate and childish behaviors of military students to fight back the discourse upholding the government’s legitimacy and suggests viewers to revisit the memory of the Big Cleaning Day on May 23, 2010 as seen from the name whitewash and the sculpture named the Head by Ravinder Reddy located in front of the flame-engulfed Central World Department Store in Bangkok on bodies of women civil servants in white uniforms. The brass sculpture in "246247596248914102516... And then there were none" (2017) by Arin Rungjang presents the moment in Siamese revolution of 1932 that soldiers rushed to change the system of government in Siam to urge viewers to compare the roles of soldiers in the past and the present (2017) military junta. While the video presents small narratives about the relationship between Lt. Colonel Phra Prasat (Wan Chuthin) and Adolf Hitler and the story of the artist’s great-grandfather who was a part of Boworadej Rebellion that the artist has briefly narrated without personal feelings to let viewers examine the story rather than sympathize with him. After studying and analyzing the case study, four sets of contemporary art pieces by four Thai artists created between 2014 to 2017, the researcher has summarized that the case study has magical elements and the message interpreted from those elements presents small narratives fights back or argues dominant discourses proposed by National Council for Peace and Order (NCPO) and suggests viewers revisit a part of history or a particular political event in Thailand. However, not every contemporary art piece of Thai artist created in 2014 - 2017 to present small narratives has an element of magical realism and not every work with magical realism element by Thai artist in 2014 - 2017 presents small narratives.
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องของสัจนิยมมหัศจรรย์กับการนำเสนอเรื่องเล่าย่อยทางการเมืองในผลงานศิลปะร่วมสมัยของไทยหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2557 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยของไทยปี พ.ศ. 2557 - 2560 จำนวน 4 ชุดจากศิลปินทั้งหมด 4 ท่าน ได้แก่  1. ผลงานชุด “Songs without lyrics” โดย วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร ประกอบด้วยผลงานวิดีโอ 3 ชิ้น ได้แก่ “III” (2557) “She sings a voiceless song” (2558) และ “The Conductor” (2559)  2. ผลงานชุด “The Shards Would Shatter at Touch สุขสลาย” (2560) โดย ธาดา เฮงทรัพย์กุล ประกอบด้วยผ้าที่มีหมายเลข 000023 และภาพของนายชัยภูมิ ป่าแส 3. ผลงานชุด "ไร้มลทิน: Whitewash" (2559-2560) โดย หฤษฏ์ ศรีขาว ประกอบด้วยภาพสามภาพที่ถูกทหารและตำรวจนอกเครื่องแบบสั่งให้ปลดลง 4. ผลงานชุด "246247596248914102516... And then there were none" (2560) โดย อริญชย์ รุ่งแจ้ง ประกอบด้วยผลงานวิดีโอและประติมากรรมทองเหลือง เมื่อผู้วิจัยใช้เกณฑ์ 7 ข้อที่ผู้วิจัยเสนอ ได้แก่ 1.เรื่องที่ไม่ใช้อารมณ์ 2.เป็นภาพตัวแทน 3. ต้องมีองค์ประกอบที่มหัศจรรย์เหนือจริงแต่แฝงอยู่ในบริบทที่เป็นโลกธรรมดาสามัญ 4. มีฉากที่นำเสนอแบบสัจนิยม จับต้องได้ด้วยสัมผัส 5. ผู้ชมอาจจะรู้สึกคลางแคลงใจหรือตั้งข้อสงสัย เนื่องจากไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องมหัศจรรย์เพราะสามารถอธิบายได้ทั้งตรรกะทางด้านเหตุผลและอํานาจเหนือจริง 6. เรื่องเล่าต้องเชื่อมโยงพรมแดนระหว่างอาณาบริเวณที่ต่างกัน ซึ่งอาจหมายรวมไปถึงโลกที่แตกต่างกันก็ได้ และ 7. ตั้งคำถามกับแนวคิดที่เคยยอมรับเกี่ยวกับ เวลา สถานที่ และอัตลักษณ์ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของวาทกรรมกระแสหลักในการครอบงำวาทกรรมกระแสรอง เพื่อพิจารณาลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ในกลุ่มตัวอย่างผลงานศิลปะร่วมสมัยของไทยปี พ.ศ. 2557 - 2560 จำนวน 4 ชุดจากศิลปินทั้งหมด 4 ท่าน กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะตรงตามเกณฑ์สัจนิยมมหัศจรรย์เกือบทั้งหมดหรือ 93.65% เมื่อแปลงเกณฑ์การประเมินเป็นคะแนน เรื่องเล่าย่อยที่ถูกเสนอผ่านลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ในกลุ่มตัวอย่างตอบโต้หรือโต้แย้งกับวาทกรรมหลักของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และยังสำรวจประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีตด้วยมุมมองใหม่ โดยผลงานชุด “Songs without lyrics” โดย วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร เสนอบทเพลงที่ไร้เนื้อร้องและตัวละครที่ไม่มีเสียงเพื่อโต้แย้งกับวาทกรรมความชอบธรรมของรัฐบาลที่ถูกนำเสนอผ่านเพลง “คืนความสุข”  ผลงานชุด “The Shards Would Shatter at Touch สุขสลาย” (2560) โดย ธาดา เฮงทรัพย์กุล เสนอภาพบุคคลที่ถูกกระทำหรือได้รับผลกระทบจากวาทกรรมการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบนผ้าที่จะปรากฏก็ต่อเมื่อได้รับความอบอุ่นจากการสัมผัสของผู้ชม ผลงานภาพถ่ายชุด "ไร้มลทิน: Whitewash" (2559-2560) โดย หฤษฏ์ ศรีขาว เสนอความไม่เหมาะสมและเล่นเป็นเด็กๆ ของทหารซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลทหารที่เน้นวาทกรรมความชอบธรรมในการทำหน้าที่ของตนเอง อีกทั้งยังเสนอเรื่องเล่าย่อยให้ผู้ชมพิจารณาการร่วมกันทำความสะอาด (Big Cleaning Day) วันที่ 23 พฤษภาคม 2553 อีกครั้งผ่านการที่ศิลปินตั้งใจตั้งชื่อชุดผลงานว่า ไร้มลทิน: Whitewash และมีการปรากฏของประติมากรรมศีรษะ (The head) ของศิลปินราวินเดอร์ เรดดี้ (Ravinder Reddy) ที่ตั้งอยู่หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์บนร่างของเหล่าราชการหญิงในเครื่องแบบขาวปกติ ผลงานชุด "246247596248914102516... And then there were none" (2560) โดย อริญชย์ รุ่งแจ้ง ในผลงานประติมากรรมทองเหลือง ศิลปินเลือกขับเน้นสถานการณ์ที่แสดงความรีบเร่งเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยของคณะทหารที่เข้าร่วมกับคณะราษฎรในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมพิจารณาบทบาทที่แตกต่างของคณะทหารในช่วงเวลานั้นกับคณะรัฐบาลทหาร ณ ขณะที่ผลงานถูกสร้างสรรค์ขึ้น (ปี 2560) ซึ่งดำเนินการโดยอ้างวาทกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านผลงานวิดีโอเสนอเรื่องเล่าย่อยที่ไม่ถูกบรรจุไว้ในประวัติศาสตร์กระแสหลักของประเทศไทยคือเรื่องราวของพระประศาสน์พิทยายุทธกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเรื่องทวดของศิลปินซึ่งเป็นกบฏบวรเดชที่ถูกเล่าอย่างกระชับในน้ำเสียงราบเรียบกระตุ้นให้ผู้ชมตรวจสอบเรื่องราวมากกว่าจะมีอารมณ์ร่วม จากการศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยของไทยปี พ.ศ. 2557-2560 จำนวน 4 ชุดจากศิลปินทั้งหมด 4 ท่าน ผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างข้างต้นมีลักษณะตามเกณฑ์ประเมินลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ที่เสนอ สารที่ตีความได้จากลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ของกลุ่มตัวอย่างยังเสนอเรื่องเล่าย่อยที่ขัดแย้งหรือตอบโต้เรื่องเล่าหลัก คือ วาทกรรมหลักของรัฐบาลทหาร อีกทั้งยังสำรวจประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีตด้วยมุมมองใหม่ ทั้งนี้ ผลงานศิลปะร่วมสมัยของไทยปี พ.ศ. 2557-2560 ที่นำเสนอเรื่องเล่าย่อยทางการเมืองไม่จำเป็นต้องมีลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์และผลงานศิลปะร่วมสมัยของไทยปี พ.ศ. 2557-2560 ที่มีลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ก็ไม่ได้นำเสนอเรื่องเล่าย่อยทางการเมืองเสมอไป เป็นเพียงความสอดคล้องที่ผู้วิจัยพบจากกลุ่มตัวอย่างที่ตนเลือกเท่านั้น
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2370
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59005201.pdf5.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.