Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2429
Title: Fabrication of Nanotubes TiO2 Thin Film via Anodization Process for Dye Sensitized Solar Cell   
การเตรียมฟิล์มบางท่อนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ด้วยกระบวนการแอโนไดเซชันเพื่อประยุกต์ใช้สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง 
Authors: Vanida LUMPOL
วนิดา ลำพล
cheewita Suwanchawalit
ชีวิตา สุวรรณชวลิต
Silpakorn University. Science
Keywords: ท่อนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์
กระบวนการแอโนไดเซชัน
ฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์
เซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสง
Titaniumdioxide nanotubes
Anodization
Titaniumdioxide thin films
Dye sensitized solar cell
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research, TiO2 nanotubes were fabricated by anodization method. Controlled diameter and length of TiO2 nanotube by parameters including ammonium fluoride (NH4F) at 0.4-1.4 wt% and power voltage at 20-40 V. The results showed that XRD pattern exhibited anatase phase when annealed at 400oC for 3 h. The XPS results revealed TiO2 nanotube of Ti, O, F and C composed elements. The FT-IR spectrum exhibited the characteristic bands of the TiO2 which indicate Ti-O stretching mode. The SEM results depend on ammonium fluoride and power voltage. Optimal condition of TiO2 nanotubes are 1.2 wt%NH4F and power voltage at 30V which conversion efficiency of these optimal condition are 0.40%. In addition, the conversion efficiency for dye sensitized solar cell with varied optimal concentration of carminic acid dye at 0.10 - 0.50 mM and Fe-tannic acid complex at 0.002-0.010 M were investigated. Highest conversion efficiency of carminic acid dye at 0.50 mM are 0.40%. Highest conversion efficiency of Fe-tannic acid complex at 0.50 mM are 0.32%.
งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะการเตรียมท่อนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ด้วยกระบวนการแอโนไดเซชันซึ่งสามารถควบคุมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของท่อได้ด้วย ความเข้มข้นของแอมโมเนียมฟลูออไรด์ร้อยละ 0.4 - 1.4 โดยมวล และ ความต่างศักย์ 20 – 50 โวลต์ จากผลการวิเคราะห์ด้วเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์พบว่าการเผาฟิล์มด้วยอุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ทำให้เกิดผลึกอะนาเทส ผลจากเทคนิคสเปคโตรสโคปีของอนุภาคอิเล็กตรอนที่ถูกปลดปล่อยด้วยรังสีเอกซ์พบว่าฟิล์มประกอบด้วยธาตุไทเทเนียม ออกซิเจน ฟลูออรีน และคาร์บอน เมื่อนำมาตรวจสอบหมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปคโตรเมทรี แสดงแถบการยืดของพันธะระหว่างไทเทเนียมกับออกซิเจน ผลของภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นท่อนาโนที่มีขนาด เส้นผ่านศ์กลาง 50 นาโนเมตร และความยาว 758 นาโนเมตร ดังนั้นกระบวนการแอโนไดเซชันสามารถเตรียมฟิล์มบางท่อนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ได้ จากการศึกษาประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสงแต่ละสภาวะพบว่าที่สภาวะความเข้มข้นแอมโมเนียมฟลูออไรด์ร้อยละ 1.2 โดยมวล และความต่างศักย์ 30 โวลต์ เป็นสภาวะที่มีค่าประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสงที่ใช้สีย้อม N719 มากที่สุด เท่ากับร้อยละ 0.40  จึงนำสภาวะนี้มาศึกษาผลของ  ความเข้มข้นสีย้อมกรดคาร์มินิกและสารประกอบเชิงซ้อน Fe-tannic acid ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสง โดยศึกษาสีย้อมกรดคาร์มินิกศึกษาที่ความเข้มข้น 0.50  0.25  และ 0.10 มิลลิโมลาร์ พบว่าความเข้มข้นของสีย้อมกรดคาร์มินิก 0.50 มิลลิโมลาร์ มีค่าประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสงมากที่สุดคือร้อยละ 0.40  ในการศึกษาความเข้มข้นของสารประกอบเชิงซ้อน     Fe-tannic acid ที่ความเข้มข้น 0.10  0.005 และ 0.002 โมลาร์พบว่าความเข้มข้นของสารประกอบเชิงซ้อน Fe-tannic acid 0.002 โมลาร์ มีค่าประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสงมากที่สุดคือร้อยละ 0.32
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2429
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60301201.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.