Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2470
Title: The Reflection Of City Disaster 
ภาพสะท้อนหายนะของเมือง
Authors: Witthaya HOSAP
วิทยา หอทรัพย์
ITHIPOL THANGCHALOK
อิทธิพล ตั้งโฉลก
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: ดิสโทเปีย
ยูโทเปีย
หายนะ
ภัยพิบัติ
ความหวัง
Dystopia
Utopia
Cataclysm
Disaster
Hope
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: In scientific view, it is quite incredible and nonsense to imagine about the doomsday or the end of humankind. However, the imagination sounds interesting to people believing that the day is coming. The climate rapidly and continuously changes so human has to confront crises and even disasters. The imagination is created in form of projection of futuristic society in concepts of Utopia and Dystopia. In concept of Utopia, it begins from literature and becomes the prototype of ideal life and society. On the other hand, the ideal is rejected by the concept of Dystopia that is pessimistic. Furthermore, the disasters are recorded in form of fine art. The art is inspired by belief and prophecy about doomsday. The related artists who create arts inspired by this concept are Paolo Uccello, Piero di Cosimo, Thomas Cole and Manabu Ikeda. By analyzing shapes and symbols in the arts, the chaotic and dangerous images of the disasters are projected. Nevertheless, hope and survival are also inserted in the arts as hope, belief and bright light. For this art thesis, the artist developed the works by adopting the concepts of Utopia and Dystopia. By using acrylic painting and marker pen on canvas, the two-dimensional fine art projected surroundings, architectures, animals, and objects. Moreover, symbols were adopted to convey meanings or concepts so the audiences were able to perceive them harmonizingly. The images of Dystopia and Utopia, in this thesis, performed that the projection of the disaster in the fine art was boundless and timeless. The arts projected the view of hope although the different arts were painted by different concepts and interpretations. It might be the religious concepts, the comparison between the catastrophe and society, and the reference to true story.
การจินตนาการถึงวันที่โลกดับสูญ มนุษยชาติถึงกาลอวสาน อาจฟังดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อและเหลวไหลเกินขอบเขตของวิทยาศาสตร์ แต่กลับดึงดูดความสนใจของผู้คนที่เชื่อว่าวันนั้นอาจเกิดขึ้นจริงสักวันหนึ่ง เห็นได้จากการที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และมนุษย์ต้องเผชิญภาวะวิกฤตต่าง ๆ หรือแม้แต่จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ จินตนาการเหล่านั้นถูกสร้างสรรค์ออกมาเป็นภาพสะท้อนสังคมอนาคตในแบบ ยูโทเปีย/ดิสโทเปีย (Utopia/Dystopia) จะเห็นได้ว่ามุมมองในแบบ ยูโทเปีย เริ่มต้นจากวรรณกรรมจนกลายเป็นต้นแบบของการแสดงออกถึงการโหยหาชีวิตและสังคมสมบูรณ์แบบที่เป็นอุดมคติ จนกระทั่งสังคมอุดมคติถูกเห็นต่างด้วยแนวคิด ดิสโทเปีย ที่เป็นการมองโลกด้านลบ หดหู่ พังพินาศ เรื่องราวเกี่ยวกับภาพหายนะได้ถูกบันทึกไว้ในผลงานจิตรกรรมจำนวนมาก ทั้งจากความเชื่อและคำทำนายเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของโลก และตัวอย่างจากผลงานจิตรกรรมของ เปาโล อุชเชลโล (Paolo Uccello) ปีเอโร ดิ โกซิโม (Piero di Cosimo) ธอมัส โคล (Thomas Cole) และมะนะบุ อิเคดะ (Manabu Ikeda) ด้วยวิธีการวิเคราะห์รูปทรงและสัญลักษณ์ที่ปรากฏในภาพ การศึกษาพบว่าภาพจิตรกรรมดังกล่าวไม่เพียงแสดงภาพหายนะที่มีความสับสนวุ่นวายและความอันตรายเท่านั้น หากแต่ยังสอดแทรกความหวังและทางรอดจากเหตุการณ์ในภาพเขียนดังกล่าวในรูปแบบของความหวัง ความเชื่อ และแสงสว่าง ผู้สร้างสรรค์ได้พัฒนาผลงานศิลปะจากการศึกษาแนวคิด ยูโทเปีย/ดิสโทเปีย แล้วได้สร้างสรรค์ผลงาน  แสดงให้เห็นสภาพแวดล้อม สถาปัตยกรรม สัตว์ และสิ่งของในชีวิตประจำวัน ในรูปแบบจิตรกรรมสองมิติ เทคนิคสีอะคริลิคและปากกาเคมีบนผ้าใบ โดยเน้นที่การใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ภาพลักษณ์ของ ดิสโทเปีย/ยูโทเปีย ในวิทยานิพนธ์นี้แสดงให้เห็นว่าภาพของหายนะที่ถูกถ่ายทอดผ่านผลงานจิตรกรรมนั้นมีอยู่อย่างไม่จำกัดพื้นที่และเวลา แม้ว่าภาพเหล่านี้จะถูกเขียนขึ้นด้วยวิธีคิดและการตีความที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดทางศาสนา การเปรียบเทียบหายนะกับสังคมหรือการอ้างอิงจากเหตุการณ์จริง แต่อย่างไรก็ตามภาพเขียนเหล่านี้ยังคงแสดงถึงมุมมองแห่งความหวังประกอบอยู่ในภาพด้วยเสมอ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2470
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59007805.pdf17.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.