Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/248
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | รอดทิม, มุทาทิพย์ | - |
dc.contributor.author | Rodthim, Muthathip | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-25T16:23:18Z | - |
dc.date.available | 2017-08-25T16:23:18Z | - |
dc.date.issued | 2559-07-11 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/248 | - |
dc.description | 56311317 ; สาขาวิชาวิทยาศาสตรสิ่งแวดลอม -- มุทาทิพย รอดทิม | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นของสารหนูในแหล่งน้ำและน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคบริเวณพื้นที่แหล่งแร่ดีบุกจังหวัดสุราษฎร์ธานีระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2556 และเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสารหนูจากน้ำอุปโภคบริโภค 5 ประเภท คือ น้ำประปาผิวดิน น้ำประปาบาดาล น้ำประปาขุมเหมือง น้ำประปาภูเขา และน้ำบ่อตื้น โดยทำการประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสารหนูที่เข้าสู่ร่างกายใน 2 เส้นทาง ได้แก่ ทางเดินอาหารโดยทางอ้อม (Indirect ingestion) และทางผิวหนัง (Dermal Contact) สำหรับคน 2 กลุ่ม คือ เด็ก (อายุ 0-6 ปี) และผู้ใหญ่ ด้วยวิธีการของ USEPA (1989) ผลการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารหนูในน้ำอยู่ในช่วง 0.001 – 0.185 มก./ล. โดยน้ำขุมเหมืองเก่ามีความเข้มข้นสูงสุดและมีค่าเกินมาตรฐาน สำหรับน้ำประปาผิวดินและน้ำประปาขุมเหมืองมีค่าความเข้มข้นของสารหนูอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด ผลการประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งพบว่าความเสี่ยงรวมของน้ำทุกประเภทสำหรับเด็กและผู้ใหญ่อยู่ในช่วง 1.20E-04 – 7.23E-03 และ 4.58E-05 – 2.75E-03 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเกินเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สำหรับความเสี่ยงรวมจากอันตรายอื่นนอกจากมะเร็งสำหรับคนทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในช่วง 0.27 – 16.06 และ 0.10 – 6.10 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเกินเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ความเสี่ยงทั้ง 2 ประเภทมีการเรียงลำดับจากมากไปน้อยเช่นเดียวกัน ดังนี้ น้ำบ่อตื้น น้ำประปาภูเขา น้ำประปาบาดาล น้ำประปาขุมเหมือง และน้ำประปาผิวดิน เส้นทางการรับสัมผัสผ่านทางเดินอาหารโดยทางอ้อมก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าทางผิวหนัง จากการประเมินความเสี่ยงพบว่าถึงแม้ความเข้มข้นของสารหนูในน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่เมื่อประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่าความเสี่ยงรวมในการเกิดมะเร็งและความเป็นอันตรายอื่นนอกจากมะเร็งมีค่าสูงเกินเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคการพิจารณาความเป็นอันตรายของสารหนูจึงควรพิจารณาจากทั้งค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพร่วมกัน สำหรับการจัดการความเสี่ยงในเบื้องต้นควรแจ้งข้อมูลความเสี่ยงที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ให้กับหน่วยงานที่ดูแลระบบประปาหมู่บ้านเพื่อกำจัดความเข้มข้นของสารหนูในน้ำในกระบวนการผลิตน้ำประปา และประชาชนที่จะนำน้ำประปาไปใช้ประกอบอาหารจำเป็นต้องบำบัดน้ำเพื่อลดความเข้มข้นของสารหนูก่อนนำไปใช้ This research aims to study the concentration of arsenic in the water supply and water consumption in the tin-distribution areas located in Surat Thani province during June-July 2013. And to assess human health risk from exposure to arsenic from 5 kinds of water supply produced from surface water, ground water, old mine water, hill water and shallow well water. Two exposure pathways, i.e., gastrointestinal indirectly (indirect ingestion) and skin (dermal contact) were evaluated for two groups consisting of children (aged 0-6 years) and adults. using the methodology of USEPA (1989). The concentrations of arsenic in water ranged from 0.001 - 0.185 mg/l. The maximum concentration which exceeded the water standard value was found in the old mine water. The concentrations of arsenic in surface water supply and the old mine water supply, were both below the water supply standard. The risk assessment found that the cancer risks of all water types, for children and adults were 1.20E-04 - 7.23E-03 and 4.58E-05 - 2.75E-03, respectively, which exceeded the acceptable threshold. As for non-cancer risks, these two groups were in the range 0.27 - 16.06 and 12.10 - 6.10, respectively, which also exceeded the acceptable threshold. The two risk categories are sorted by descending order as follows; water, shallow well water, hill water, ground water, old mine water and surface water. Route of exposure via the digestive indirectly posed a greater risk than the skin. The risk assessment indicated that, although the concentration of arsenic in the water supply was within the standard, the risks of total cancers and non-cancers were higher than the acceptable values. Therefore, in order to secure the health of consumers, the dangers of arsenic should be considered from the standard and health risk together. For risk management, there should inform these unacceptable risks to the agency who is responsible for taking care of village’s water supply system to remove the concentration of arsenic in the water treatment process. As well as the people who use the water for their cooking should treat the water prior to reduce the concentration of arsenic. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ | en_US |
dc.subject | สารหนู | en_US |
dc.subject | เหมืองแร่ดีบุก | en_US |
dc.subject | น้ำประปาหมู่บ้าน | en_US |
dc.subject | HEALTH RISK ASSESSMENT | en_US |
dc.subject | ARSENIC | en_US |
dc.subject | TIN MINE | en_US |
dc.subject | VILLAGE WATER SUPPLY | en_US |
dc.title | การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสารหนูที่ละลายในน้ำอุปโภคบริโภค ในพื้นที่แหล่งแร่ดีบุกเก่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.title.alternative | HEALTH RISK ASSESSMENT FROM SOLUBLE ARSENIC IN THE WATER SUPPLY IN THE OLD TIN MINE AREAS, SURAT THANI PROVINCE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56311317_Muthathip_Front final thesis.pdf | 651.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.