Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2524
Title: | GREEN OFFICE BUILDING: A STUDY OF SPATIAL CONFIGURATIONAND FACADE OF OFFICE BUILDINGS FOR ENERGY CONSERVATIONTHROUGH SYNTACTIC AND SEMANTIC METHODS สำนักงานเขียว: การศึกษาระบบพื้นที่และพื้นผิวอาคารสำนักงานเพื่อการประหยัดพลังงาน ด้วยทฤษฎี Syntactic และ Semantic |
Authors: | Tanakarn MOKKHASMITA ธนาคาร โมกขะสมิต Tonkao Panin ต้นข้าว ปาณินท์ Silpakorn University. Architecture |
Keywords: | อาคารสำนักงาน อาคารเขียว ระบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม Architectural Semantic Architectural Syntactic Office Building Green Building Green Spatial Configuration Facade Architectural Semantic Architectural Syntactic |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | Workspaces that are aimed at serving various working activities have been developed long throughout history. They have been transformed through different characteristics, sizes, design methods and physical configurations, thus communicating and signifying different messages, Workspaces, or architecture that we call office building is one of the building typologies that we spend most of our waking times each day. It is also the type of architecture that has been affected by socio-cultural as well as environmental changes. Today, it is one of the most problematic building types in terms of its usages of energy, materials and natural resources. Within the changes and pressing problems, concepts about “green” office building have emerged.
The subject of this thesis is twofold. It aims to study the history and development of Office Building focusing on its spatial configuration and façade. It investigates current problems as well as projected problems for future. It also aims to study the history and development of Green Concepts or Green Movement, to understand its background, development, problems and relationships between green concepts and architectural design. These twofold subjects will be studied using Semantic and Syntactic Methods to analyze selected case studies. These two methods are often thought to be radically different. But in this thesis, both methods will be complementarily used as tools to understand the development of various types of office buildings in relation to the “Green” concept.
The ultimate goal of this thesis is to find a balance between the “Active” and “Passive” approach as well as the differences between “Open” and “Closed” building office configurations. Relationship between communicative or idealistic semantic aspects and practical or realistic syntactic aspects will be explored, in order to find an equilibrium in contemporary and future building design, and explore ways in which future office buildings can fulfill both communicative and practical demands of being “Green.” พื้นที่ทำงาน และประเภทอาคารที่รองรับการทำงานประเภทต่างๆ ของมนุษย์ ได้ถูกพัฒนา ผ่านยุคสมัยต่างๆ ในประวัติศาสตร์ มาอย่างยาวนาน ผ่านการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบ ขนาด วิธีการออกแบบ และผลลัพธ์ทางกายภาพ ตลอดจนผลลัพธ์ด้านภาษาและการสื่อสาร พื้นที่ทำงาน สถานที่ทำงาน หรือประเภทอาคารที่ปัจจุบัน เรียกกันว่าอาคารสำนักงานนั้น เป็นพื้นที่ที่ผู้คนใช้เวลาอยู่ในอาคารเป็นเวลายาวนานในแต่ละวันนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ซึ่งอาคารสำนักงานก็ได้สร้างปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในการใช้พลังงาน ทั้งในการก่อสร้าง ปริมาณการใช้งาน และการซ่อมบำรุง ซึ่งพัฒนาการความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของแนวคิดสีเขียว ที่พยายามเข้ามาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ พัฒาการด้านรูปแบบ ผังพื้น และเปลือกอาคาร ของการออกแบบพื้นที่เพื่อการทำงาน และอาคารสำนักงาน ศึกษาปัญหาปัจจุบันและแนวโน้มปัญหาในอนาคต และศึกษาประวัติศาสตร์และพัฒนาการของแนวคิดสีเขียว หรือ Green Movement ความเป็นมา พัฒนาการ ปัญหา และความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดสีเขียวและการออกแบบสถาปัตยกรรม ศึกษาความสัมพันธ์ ความเหมือนและความแตกต่าง ตลอดจนความเป็นไปได้ของการทำงานร่วมกันระหว่าง Semantic and Syntactic Method ผ่านการวิเคราะห์กรณีศึกษาอาคารสำนักงาน ซึ่งโดยทั่วไปนักทฤษฎีและนักวิชาการจะเห็นว่าทั้ง 2 แนวทางของทฤษฎีนี้มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานความคิดและวิธีการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำงานร่วมกันของ Semantic และ Syntactic Method นั้นอาจสามารถเกื้อกูลกันในการทำความเข้าใจเหตุปัจจัย และการพัฒนาการของอาคารประเภทต่างๆ เพื่อช่วยให้ตอบสนองกับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น จากการพยายามค้นหาสมดุลย์ ระหว่างแนวความคิด Active และ Passive และความแตกต่างระหว่างอาคารระบบปิดและระบบเปิดของสำนักงานเขียว นำไปสู่ การใช้วิธีการทั้งเครื่องมือของการสื่อสารภาพลักษณ์แบบ Semantic และเครื่องมือของการจัดการกับกายภาพของอาคารด้านการใช้สอยจริงหรือ Syntactic ซึ่งในอาคารสำนักงานแต่ละอาคาร ค้นพบความขัดแย้งหรือความย้อนแย้งระหว่างการสื่อสารภาพลักษณ์ และการทำงานจริงทางกายภาพของอาคาร ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้สถาปนิกและนักออกแบบจำนวนหนึ่ง พยายามค้นหาคำตอบ หรือพยายามค้นหาความสมดุลย์ ของการออกแบบอาคารสำนักงานเขียว ในรูปแบบที่ไม่เพียงตอบโจทย์ทางด้าน Syntactic ของการจัดการทางกายภาพด้วยเทคโนโลยี แต่ในรูปแบบอาคารที่สื่อสาร และตอบโจทย์เชิงสัญลักษณ์ของการเป็นอาคารสำนักงานเขียวด้วยในเวลาเดียวกัน |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2524 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59054901.pdf | 21.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.