Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2530
Title: Guidelines of Management and Utilization of Sam Roi Yod Wetland Prachuab Khiri Khan Province for Sustainablility and Conservation.
แนวทางการจัดการและการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
Authors: Krittaya NIYOMDECHA
กฤตยา นิยมเดชา
RUJIROTE ANAMBUTR
รุจิโรจน์ อนามบุตร
Silpakorn University. Architecture
Keywords: พื้นที่ชุ่มน้ำสามร้อยยอด
แนวทางการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
Wetland Management
Sam Roi Yod Wetlands
Ecotourism
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Sam Roi Yod wetland is located in Sam Roi Yod and Kui Buri District in Prachuab Khiri Khan Province which was designated as Ramsar site for international acceptance. In concerning with the ecology approach which influence to plant and all living creature because of there are habitat , refuge , reproducing place and food source for native spicies and migratory spicies from north. If the quality of wetland is decline it should being the negative effect on all living creature in this place. Moreover threatening have an effect on plentifully wetland and area for study biology are decrease. Beside main wetland is importance to the community life and living around because this place is the main resource for consuming include their career. The cause of decline wetland have several reasons which effect to human and  natural environment. Searching the way to resolve and restore are need to conduct sustainability way in order to continue management for plentifully of biology in Sam Roi Yod wetland supports creatures can live along.
พื้นที่ชุ่มน้ำสามร้อยยอด ตั้งอยู่ในอำเภอสามร้อยยอดและอำเภอกุยบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ ทั้งนี้ในแง่นิเวศวิทยานั้นยังมีบทบาทสำคัญต่อพืชและสัตว์นานาชนิดเนื่องจากเป็นทั้งที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งหลบภัย แหล่งขยายพันธุ์และแหล่งอาหาร ทั้งสายพันธุ์ท้องถิ่นที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นและสัตว์ที่อพยพมาหลบภัยหนาว ซึ่งหากสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมจะส่งผลโดยตรงต่อสัตว์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำสามร้อยยอดและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ นอกจากนี้แล้วการคุกคามยังส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ธรรมชาติลดน้อยลงซึ่งมีผลในทางอ้อมต่อมนุษยชาติ นั่นคือพื้นที่เพื่อการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยลง และนอกจากนี้พื้นที่แห่งนี้ยังมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ต่อชุมชนที่อาศัยโดยรอบ เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญขนาดใหญ่สำหรับอุปโภค บริโภค รวมถึงเป็นแหล่งทำกินประกอบอาชีพสำหรับประชาชนในพพื้นที่ ซึ่งความเสื่อมโทรมของพื้นที่ชุ่มน้ำสามร้อยยอดมีสาเหตุจากหลายประการทั้งที่เกิดจากทางธรรมชาติและจากมนุษย์ การหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูจำเป็นต้องเป็นกระบวนการที่ยั่งยืน เพื่อให้พื้นที่ชุ่มน้ำได้รับการดูแลที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบชีวภาพในพื้นที่ชุ่มน้ำสามร้อยยอดที่เอื้ออำนวยแก่สายพันธุ์ที่พึ่งพาอาศัยในพื้นที่แห่งนี้ให้สามารถดำรงชีพต่อไปได้
Description: Master of Landscape Architecture (M.L.A.)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2530
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59060201.pdf15.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.