Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2546
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Sudaporn KHIEWNGAMDEE | en |
dc.contributor | สุดาพร เขียวงามดี | th |
dc.contributor.advisor | SOMBAT MANGMEESUKSIRI | en |
dc.contributor.advisor | สมบัติ มั่งมีสุขศิริ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Archaeology | en |
dc.date.accessioned | 2020-08-05T02:26:12Z | - |
dc.date.available | 2020-08-05T02:26:12Z | - |
dc.date.issued | 10/7/2020 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2546 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | This thesis aims to transcribe and translate the Guhyasamāja Tantra from Sanskrit into Thai and to analytically study the contents, the histories, the process of dividing the levels of yoga practice, Dhyānibuddhas, Śaktis, Gods, Maṇḍala, Mantra, Achieving Bodhicitta and performing various rituals that appear in the scripture. At the beginning, it discussed the ongoing debate about the origins of the scripture, with many scholars commenting that the scripture must have been composed and developed over many eras. The scriptures consists of both prose and verse. There are 18 chapters. Chapter 18 is the most important because it is a summary of all the scriptural stories. The Tantra ritual practice in the scripture is spread by two main schools : the Siddhanāgārjuna's School and the Buddhaśrījñāna's School. From the study it was found that : there are 2 main types of yoga in the scripture, namely Sāmānya (general) and complete (advanced). There are 4 main stages of yoga, namely, Sevā, Upasādhana, Sādhana and Mahāsādhana step. These 4 steps of yoga are combined into the two main types of yoga. Śhaktiism was brought together with the five Dhyanibuddhas which represent Khandha, creating power and formed various gods according to the lines of each family. They are stationed in different directions of the Maṇḍala, with Akṣobhya Buddha being the representative of Vajradhara in the middle. Each god has his own magic mantra. The rituals that were required to follow the rules of the scripture from the outset is to live life to the extreme, conflicts with morals to make people of different doctrines understand that this Tantra school is a very offensive and terrible religion. However, in these actions, the Tantra are considered an integral part of the practice of yoga to achieve Bodhicitta. And the final step that will allow the followers of Tantra to achieve the perfect ritual is the consecrated ritual that the master conducting it must relay to his disciples. | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อปริวรรตและแปลคัมภีร์คุหยสมาชตันตระจากภาษาสันสกฤตให้เป็นภาษาไทย และศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา ประวัติความเป็นมา การแบ่งระดับขั้นตอนของการปฏิบัติโยคะ พระธยานิพุทธ ศักติ เทพเจ้า มณฑล มนตร์ การบรรลุโพธิจิต และการทำพิธีกรรมต่างๆที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ ในตอนต้นกล่าวถึงข้อถกเถียงในการกำเนิดขึ้นของคัมภีร์โดยมีนักวิชาการหลายสำนักให้ความเห็นว่าคัมภีร์น่าจะมีการแต่งและพัฒนาขึ้นในหลายยุคสมัย โดยคัมภีร์ประกอบไปด้วยร้อยแก้วและร้อยกรอง มี 18 บท บทที่ 18 สำคัญที่สุดเพราะเป็นบทสรุปของเรื่องราวในคัมภีร์ทั้งหมด การปฏิบัติพิธีกรรมแบบตันตระในคัมภีร์ถูกเผยแพร่ออกไปโดยสองสำนักหลัก คือ สำนักของสิทธะนาคารชุน และสำนักของพุทธศรีชญาน จากการศึกษาพบว่า การแบ่งระดับของโยคะในคัมภีร์มีอยู่ 2 แบบหลัก คือ แบบสามานยะ(ทั่วไป) และแบบสมบูรณ์(ขั้นสูง) และแบ่งประเภทของโยคะเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ คือ ขั้นเสวา ขั้นอุปสาธนะ ขั้นสาธนะ ขั้นมหาสาธนะ ในโยคะทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ถูกผสมอยู่ในโยคะทั้ง 2 แบบหลัก ลัทธิศักติถูกนำเข้ามารวมกับพระธยานิพุทธทั้ง 5 ซึ่งเป็นตัวแทนขันธ์ทำให้เกิดพลัง และก่อกำเนิดเป็นเทพเจ้าต่างๆตามสายของแต่ละตระกูล ประจำอยู่ทิศต่างๆของมณฑลโดยมีพระอักโษภยะเป็นตัวแทนของวัชรธรอยู่ตรงกลาง เทพแต่ละองค์มีมนตร์ประจำองค์ สาระในด้านพิธีกรรมที่ถูกกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในคัมภีร์ตั้งแต่แรกเริ่ม คือ การใช้ชีวิตอย่างสุดโต่ง ขัดแย้งกับศีลธรรมจนทำให้คนต่างนิกายเข้าใจว่าสำนักตันตระสายนี้เป็นลัทธิน่ารังเกียจและเลวร้ายมาก อย่างไรก็ตาม การกระทำเหล่านี้ชาวตันตระถือว่าเป็นเครื่องประกอบของการปฏิบัติโยคะให้บรรลุถึงโพธิจิต และขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้สาวกตันตระบรรลุถึงขั้นสมบูรณ์ได้คือพิธีกรรมอภิเษกที่อาจารย์ผู้ทำพิธีต้องถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | คุหยสมาชตันตระ / วัชรยาน / มณฑล | th |
dc.subject | GUHYASAMĀJA TANTRA / VAJRAYĀNA / MAṆḌALA | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | An Analytical Study of Guhyasamāja Tantra | en |
dc.title | การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์คุหยสมาชตันตระ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57116805.pdf | 8.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.