Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2554
Title: | ANIMAL SIGNS IN THAI ASTROLOGY AND INFLUENCE IN THAI ARTS คติสัตว์ตัวนามในคัมภีร์ทักษาพยากรณ์และอิทธิพลต่อศิลปะไทย |
Authors: | Mathee ONGSIRIPORN เมธี องค์ศิริพร CHEDHA TINGSANCHALI เชษฐ์ ติงสัญชลี Silpakorn University. Archaeology |
Keywords: | สัตว์ตัวนาม คัมภีร์ทักษาพยากรณ์ คติสัตว์ตัวนาม คติสัตว์ประจำทิศ ANIMAL SIGNS THAI ASTROLOGY Burmese zodiac signs |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This independent study aims to study the origin of animal signs in Thai astrology and its influence in Thai arts by studying Thai astrology and other associated beliefs with related arts to demonstrate the dynamic of beliefs and arts. The results are that there are multiple beliefs share the same origin with animal signs in Thai astrology. The Burmese zodiac signs are the most likely. These beliefs are visualized as the sculptures around the sacred sites in Myanmar and the north of Thailand. The belief derived from Burmese zodiac signs are solidly related with direction, day, and planet. However, the belief in the northeast of Thailand is strongly related with only direction. This belief spreads into the center of Thailand via astrology such as in the art of war but the relationship between the animal signs and direction is decreased and replaced by the planets god images which exists nowadays. การค้นคว้าอิสระมุ่งเน้นศึกษาที่มาของคติสัตว์ตัวนามในคัมภีร์ทักษาพยากรณ์ และอิทธิพลที่มีต่อศิลปะไทย โดยจะศึกษาคัมภีร์ทักษาพยากรณ์ และคติสัตว์ประจำทิศอื่น ๆ ร่วมกับสำรวจศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากคติเหล่านั้น เพื่อให้เห็นความสืบเนื่องของคติเหล่านั้น ซึ่งส่งผลต่อความสืบเนื่องของศิลปกรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า มีคติสัตว์ประจำทิศที่สันนิษฐานว่ามีต้นทางเดียวกันหรือได้รับอิทธิพลจากสัตว์ตัวนามตามคัมภีร์ทักษาพยากรณ์หลายระบบ โดยเมื่อเปรียบเทียบสัตว์ประจำทิศในคติเหล่านี้พบว่า สัตว์ตัวนามตามคัมภีร์ทักษาพยากรณ์มีความใกล้เคียงกับสัตว์ประจำวันในโหราศาสตร์พม่ามากที่สุด คติสัตว์ประจำทิศเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ปรากฏในงานศิลปกรรมประดับปูชนียสถาน ทั้งที่พบในประเทศเมียนมา และทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยคติสัตว์ประจำทิศที่ได้รับอิทธิพลมาจากโหราศาสตร์พม่าจะมีความเชื่อมโยงทั้งกับ ทิศ วัน เทวดานพเคราะห์ และ ดาวเคราะห์ ในขณะที่ คติสัตว์ประจำทิศอีกสองคติที่พบในภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย คือ คติสัตว์ตัวเปิ้ง และ คติสัตว์ตามตำราฟ้าไขประตูน้ำฝน มีความเชื่อมโยงกับทิศ แต่ลดทอนความเชื่อมโยงกับวัน เทวดานพเคราะห์ หรือ ดาวเคราะห์ลง คติสัตว์ประจำทิศนี้อาจเผยแพร่เข้าสู่ภาคกลาง ผ่านทางวิชาโหราศาสตร์ ดังที่ปรากฏในคัมภีร์พิไชยสงคราม แต่คติความเป็นสัตว์ประจำทิศได้ถูกลดความสำคัญลง และถูกแทนที่ด้วยรูปเทวดานพเคราะห์อันสร้างขึ้นตามลักษณะทางประติมานวิทยาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพ ซึ่งยังคงปรากฏสืบต่อมาจนปัจจุบัน |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2554 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58107312.pdf | 6.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.