Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2591
Title: | An Analysis of Language Strategy Used in Klonlam Songs of Chaweewan Damnern วิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาในกลอนลำของหมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน |
Authors: | Artit SUWANNASOOK อาทิตย์ สุวรรณสุข Sirichaya Corngreat สิริชญา คอนกรีต Silpakorn University. Arts |
Keywords: | ภาษาไทยถิ่นอีสาน กลอนลำ กลวิธีการใช้ภาษา Northeast Thai Dialects Klonlam language strategy |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objective of this research is to analyze the use of Thai Isan dialects (Northeast Thai Dialects), rhetorical strategy and figure of speech in “Klonlam” poem of “Chaweewan Damnern”, a mor lam singer (Northeastern style singer). This is from online electronic media on www.youtube.com/user/siangsiamofficial/playlists, by Siang Siam Offical; the copyright owner of Siang Siam LP-Tape limited, 6 sets and 82 Klonlam poem.
The results show that there are two main points of using Thai Isan dialects in Klonlam poem. The first one is the use of Thai Isan dialect for interpretive. Including, using the simple words, adjective words, compound words, repeated words, phya words and the words that reflect on Isan culture. For using the words that reflect on Isan culture, it shows farmer’s lifestyle, rural society condition, simple life, self-reliant and nature, beautiful culture, and Buddhism and supernatural in Isan society belief. For the second main points, there are the literary art that found the use of imagination words, emotional words, anaphora word, repositioning and rhyme that related to language strategy. This has shown that the literary art of Thai Isan dialects create rhythm, style and melody in Klonlam Songs. Which is to influence and emotional expression to the audience.
The study of rhetorical strategy, shows that is the most using in descriptive writing. Furthermore, it also appears narrative, expository, didactics and allegory literary style. These rhetoric make listener the imagination and deferring emotion. For the figure of speech, it show the comparative of people, animals, things, and nature in accordance with the Isan local context to convey the meaning and stimulate emotion in Klonlam poem by using the most in simile, metaphor and onomatopoeia. For rhetorical question, hyperbole, oxymoron and personification, are the second using found in some Klonlam poem. Moreover, there are poem a few part the using of symbol, metonymy and allusion to Isan local literature for communication rather than emotional expression. Hence, the language strategy used in Klonlam songs of Chaweewan Damnern is an indication of the local ethnic group language identity. This has shown the unique style with her outstanding characteristics by using Thai Isan dialect, rhetorical strategy and figure of speech, to be fascinating, touching, convincing and impressive to the audience. And this is significant for communication to Thai Isan dialects which represents and maintains as the wisdom of language. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน กลวิธีการใช้โวหารและภาพพจน์ในกลอนลำ ของ หมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ www.youtube.com/ user/siangsiamofficial/playlists โดยเสียงสยามออฟฟิชเชียล เจ้าของลิขสิทธิ์ เสียงสยามแผ่นเสียง-เทป จำกัด จำนวน 6 ชุด รวม 82 กลอนลำ ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสานในกลอนลำ 2 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย ประเด็นที่หนึ่ง การใช้ถ้อยคำภาษาไทยถิ่นอีสานเพื่อสื่อความหมาย อันได้แก่ การใช้คำง่ายสื่อความหมาย การใช้คำขยายในกลอนลำ การใช้คำซ้อน การใช้คำซ้ำ การใช้คำผญาอีสาน และการใช้คำสะท้อนภาพวัฒนธรรมอีสาน ในส่วนการใช้คำสะท้อนภาพวัฒนธรรมอีสาน แสดงภาพวิถีชีวิตเกษตรกรรม สภาพสังคมชนบท ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย การพึ่งตนเองและธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติในสังคมอีสาน สำหรับประเด็นที่สอง มีการใช้วรรณศิลป์โดยพบ การใช้ถ้อยคำสร้างจินตภาพ การใช้ถ้อยคำสื่ออารมณ์ การซ้ำคำ การเล่นคำสลับตำแหน่ง และ การเล่นคำสัมผัส ซึ่งเป็นกลวิธีการใช้ภาษา ที่แสดงให้เห็นศิลปะความงามของถ้อยคำภาษาไทยถิ่นอีสาน ทำให้กลอนลำมีความไพเราะ คมคาย สร้างความเข้าใจลึกซึ้ง และเกิดอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้ฟัง จากการศึกษากลวิธีการใช้โวหาร พบว่า มีการใช้พรรณนาโวหารมากที่สุด นอกจากนี้ยังปรากฏ การใช้บรรยายโวหาร อธิบายโวหาร เทศนาโวหาร และสาธกโวหาร ซึ่งโวหารเหล่านี้ล้วนทำให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการและอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม ส่วนกลวิธีการใช้ภาพพจน์ พบว่า มีถ้อยคำแสดงการเปรียบเทียบเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติ สอดคล้องกับบริบทในท้องถิ่นอีสาน เพื่อสื่อความหมายและเร้าอารมณ์ความรู้สึกในกลอนลำ โดยการใช้อุปมา อุปลักษณ์ และสัทพจน์มากที่สุด สำหรับการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ อติพจน์ ปฏิพจน์ และ บุคลาธิษฐานหรือบุคคลวัต มีปรากฏรองลงมาซึ่งพบในกลอนลำบางบทเท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏการใช้สัญลักษณ์ นามนัย และ การกล่าวอ้างถึงวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เพื่อสื่อความหมายมากกว่าการแสดงอารมณ์ความรู้สึกซึ่งพบเพียงส่วนน้อย ทั้งนี้ จะเห็นว่ากลวิธีการใช้ภาษาในกลอนลำของหมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน เป็นเครื่องบ่งบอกอัตลักษณ์ทางภาษาความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เฉพาะถิ่น แสดงให้เห็นถึงลีลาการประพันธ์เฉพาะตัวของศิลปิน ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ด้วยกลวิธีการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน โวหารและภาพพจน์ ให้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้งใจ โน้มน้าวใจ สร้างความประทับใจแก่ผู้รับฟังกลอนลำอย่างต่อเนื่อง และสื่อสารกับคนในท้องถิ่นอีสานเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางภาษาที่ควรรักษาสืบไป |
Description: | Master of Arts (M.A.) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2591 |
Appears in Collections: | Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58208305.pdf | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.