Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2635
Title: GOOD  GOVERNANCE IN PHATTHARAYAN WITTAYA SCHOOL
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา
Authors: Thasanee WIWADCHANOON
ทัศนีย์ วิวัฒน์ชานนท์
Prasert Intarak
ประเสริฐ อินทร์รักษ์
Silpakorn University. Education
Keywords: การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล, โรงเรียนภัทรญาณวิทยา
GOOD GOVERNANCE / PHATTHARAYAN WITTAYA SCHOOL
Issue Date:  29
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of  this  research  were to  determine : 1) The implication of good governance in Phatharayan Wittayan School, and 2) The guidelines for applying the good governance in Phattharayan  School. The population in this research consisited of 2 school administrators, 49 teachers, with the total of  51 respondents. The research instrument was a questionnaire about good governance based on United Nations Development Program (UNDP) concept. The statistics applied in data analysis were frequency (f), percentage (%), arithmetic mean (µ) standard deviation (  ) and content analysis.  The results of this research were as follows: 1.The implication of good governance in Phattharayan Wittayan School as a whole and individuals were at a high level sorted by descending order ; Rule of Law, Accountability, Transparency, Effectiveness and Efficiency, Responsiveness, Strategic Vision, Participation, Consensus-Oriented and Equity. 2.The guidelines for applying the good governance in Phattharayan Wittayan School were 9 aspects as follows : 1) It should give an opportunities  for participation in idea and decision making for planning. 2) It should have a training about law and regulations of duties for the school personnel. 3) It should provide information to personnel regarding budgeting, procurement, accounting management and welfare payments based on auditing. 4) It should have monitoring and supervising school operation and coordinate for improving there  work. 5) It should open for accepting the opposite ideas and solving for problems.  6) It should have more justice. 7) It should have a school plant system suitable for learning process. 8) It should implement school plan.  9) It should set vision beyond changing policy  and plan .
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา 2) แนวทางในการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ข้าราชการครู 49 คน  รวมทั้งสิ้น 51 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล  ตามแนวคิดขององค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ  ความถี่  ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนภัทรญาณวิทยา โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านนิติธรรม ด้านภาระรับผิดชอบ ด้านความโปร่งใส  ด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพ  ด้านการตอบสนอง ด้านวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์  ด้านการมีส่วนร่วม  ด้านการมุ่งเน้นฉันทามติ  และด้านความเสมอภาค 2. แนวทางการใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนภัทรญาณวิทยาตามแนวคิดขององค์การพัฒนา แห่งสหประชาชาติ 9 ประการ เป็นดังนี้ 1) เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการวางแผน     2) มีการจัดการอบรมด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ๆ ที่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บุคลากรในโรงเรียน 3) การให้ข้อมูลกับบุคลากรในเรื่องงบประมาณ การจัดซื้อ จัดจ้าง การบริหารบัญชีและเงินสวัสดิการ สามารถตรวจสอบได้ 4) มีการนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน ประสานงานในการช่วยเหลือ 5) ยอมรับความคิดเห็นที่เกิดจากความขัดแย้ง และร่วมแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามความเหมาะสม 6) มีความยุติธรรม 7) จัดระบบการใช้อาคารสถานที่ภายในให้เกิดประโยชน์และตรงความต้องการของการเรียน 8) มีการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้   9) มีวิสัยทัศน์ ที่รองรับแผนและนโยบายตามภาวะการเปลี่ยนแปลง  
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2635
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58252321.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.