Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2703
Title: THE DEVELOPMENT OF CRITICAL THINKING ABILITY ON GOOD DEMOCRATIC CITIZENSHIP OF MATTAYOM FIVE STUDENT USING PROBLEM-BASED LEARNING MANAGEMENT
การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
Authors: Sukumarn SONGKROH
สุขุมาลย์ สงเคราะห์
Arnon Punain
อนัน ปั้นอินทร์
Silpakorn University. Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
การสอนหน้าที่พลเมือง
ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
PROBLEM-BASED LEARNING MANAGEMENT
CITIZENSHIP TEACHING
ABILITY OF CRITICAL THINKING
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to: 1) study the development of critical thinking ability on democratic citizenship of Mathayomsuksa Five students by using problem - based learning management: 2) compare learning outcomes on citizenship in a democratic way of Mathayomsuksa Five students before and after using problem- based learning management and  3) study the opinions of mathayomsuksa Five students on problem - based learning management. The sample in this study was 43 Mathayomsuksa 5/12 students of Joseph Upatham School (Girls Section), Semester 1, academic year 2019. The instruments used for gathering data were: 1) lesson plans  2) a critical thinking ability test 3) a  learning outcome test on democratic citizenship and 4) a questionnaire for collecting students' opinions toward problem-based learning management. The statistics employed to analyze the data were dependent sample t-test, the mean (M),  standard deviation (S.D.) and conten analysis. The results of this study were: 1. The critical thinking ability on democratic  citizenship of Mathayomsuksa Five students by using problem-based learning management increased continuously. 2. The learning outcome on democratic citizenship of  Mathayomsuksa Five students by after using problem-based learning management were significantly higher than those  before using the learning management at the.05 level. 3. The overall opinions of Mathayomsuksa Five students towards problem- based learning management was at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ (แผนกสามัญหญิง) จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  เรื่อง ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานหลังเรียนมีพัฒนาการสูงขึ้น 2.  ผลการเรียนรู้ เรื่อง ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2703
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58262309.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.