Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2740
Title: | THE DEVELOPMENT OF THE PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY FOR SECONDARY THAI TEACHERS TO DEVELOP CRITICAL READING SKILL USING ONLINE TEXTS WITH THE SQ4R TEACHING METHOD การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R |
Authors: | Jarungjit JUMPANIL จรุงจิต จำปานิล MEECHAI IAMJINDA มีชัย เอี่ยมจินดา Silpakorn University. Education |
Keywords: | การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ SQ4R Professional Learning Community Critical Reading SQ4R |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aims to 1) improve teachers’ knowledge of professional learning community on SQ4R learning management before and after the program. 2) study teachers’ performance in their classrooms when applying SQ4R teaching technique. 3) investigate students’ reading skill after using SQ4R technique with online texts as a set criteria 75% and 4) investigate teachers’ perception on PLC and SQ4R technique. Sample in this study were 1) 3 secondary school teachers from 2 schools in Suphanburi Province. 2) 78 students are also selected from these 3 secondary schools using simple random sampling.
Research instruments using in this study were, 1) Test for 2 teachers participated the program. 2) Observation checklist for teachers to investigate their teaching improvement. 3) Interview form for teachers on their teaching performance. 4) Test for students on reading skill. 5) Lesson plan reading skill using SQ4R technique and 6) Questionnaires on teachers' opinion toward PLC and SQ4R teaching technique. Data analysis used in this study are means , standard deviation , percentage, relative gain score and t-test one sample.
The result of the study show that,
1. Teachers’ understanding on PLC using SQ4R reading technique after the training program is higher than before the program at very high score. 2.Teachers. performance on SQ4R reading technique in their classes is rated as higher score. 3. Students’ achievement on their reading ability is higher than 75% as expectation at 0.05 4. Teachers’ perception on PLC and SQ4R technique is rated at very high satisfaction. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการความรู้ครูผู้สอนเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ก่อนและหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาความสามารถของครูผู้สอนในการปฏิบัติการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R 3) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ตามเกณฑ์ร้อยละ 75 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รวมถึงผู้วิจัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 3 คน ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา และโรงเรียนสระยายโสมวิทยา โรงเรียนละ 1 คน ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา จำนวน 1 คน 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา จำนวน 24 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา จำนวน 29 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา จำนวน 25 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ครูผู้สอน แบบสังเกตความสามารถของครูผู้สอน แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ค่า t-test แบบ one sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนมีพัฒนาการความรู้เกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R หลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ อยู่ในระดับสูงและสูงมาก 2) ครูผู้สอนมีความสามารถการปฏิบัติการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ในระดับดีมาก 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 79.06 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 81.90 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดคือด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และลำดับรองลงมาคือด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2740 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59255401.pdf | 4.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.