Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2752
Title: | DEVELOPMENT OF THE THAI AGEING FOR HAPPINESS MODEL IN THAILAND 4.0 การพัฒนารูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 |
Authors: | Warisara INTHARASAEN วริศรา อินทรแสน WANNAWEE BOONKOUM วรรณวีร์ บุญคุ้ม Silpakorn University. Education |
Keywords: | ความสุขของผู้สูงอายุ สังคมผู้สูงอายุ ไทยแลนด์ 4.0 HAPPINESS OF THE ELDERLY ELDERLY SOCIETY THAILAND 4.0 |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to: 1) study the current situation of the elderly in Thailand 4.0;
2) develop a social model for the elderly in terms of happiness in Thailand 4.0; and 3) find guidelines for the development of Thai ageing for happiness model in Thailand 4.0. Research and Development (R&D) was used in this study. The study area was the central provinces of Thailand: (Nonthaburi, PathumThani, Nakhon Pathom and Samut Prakan). The samples of the study were 384 members of the elderly in the central provinces of Thailand. For the experimental group of using the happiness model in Thailand 4.0, 32 samples were selected from the elderly people in Nakhon Pathom Province. The data were collected by focus group discussions, answering the questionnaire, observation, and in-depht interview. Furthermore, key informants who assessed the studied model were ten representatives of the organizations relating to the development of elderly in the community and participated focus group discussion. The data was collected during September - February 2019, and analyzed by frequency, percentage, arithemetic mean, standard deviation, Exploratory Factor Analysis (EFA), and content analysis.
The results of the study could be conclude as follows:
1. The current situation of the elderly in the central provinces of Thailand 4.0, it was found that the elderly were grouped according to their needs and interests based on happiness and desire to create value for theirself through joint activities. The happiness dimension of elderly consisted of: 1) emotional and phychological, 2) social, 3) physical, 4) Thailand 4.0 culture and 5) economic dimentions. Happiness elderly activities should be invouled the elderly who were able to do activities by themselves, hobbies or favorite activities and self-esteem from helping others.
2. The social model for the elderly in terms of happiness in Thailand 4.0 under the concept of the DSOFAR model consisted of six elements, four steps, five factors of success: 1) D: Dealing with the change of the elderly;
2) S: Social / community participation; 3) O: Online social knowledge; 4) F: Financial Planning; 5: A: Appropriate health care; and 6) R: Religious and beliefs activities. Four steps of process were composed of: 1) Plan: to define groups and planning to determine activities and work steps; 2) Do: learning and understand; 3) Study: evaluation of procedures; and 4) Action: making suggesstions of guilelines for process. Five factors of success were: 1) Leaders with insight wisdom, and understand knowledgeable and modernity; 2) Benefit for theirself and their community; 3) Create value for theirself; 4) Flexibility; and
5) having self-reliance.
3. Guidelines for the development of Thai ageing for happiness model in Thailand 4.0 were to: 1) identify target groups and activities; 2) find needs of activities; 3) develop activities; 4) connect with government; 5) provid opportunities and options for the elderly; 6) create important database for the elderly, and 7) follow the activities of the elderly sustainably. These guidelines should be happened with the cooperation from all sectors, including the elderly, families, communities, public and private agencies, and academics. Futhermore, expanding network to other communities or areas was also important to sustain happiness in the aging society during Thailand 4.0 era. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 2) สร้างและ พัฒนารูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 3) หาแนวทางพัฒนารูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลคือ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัด สมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล จำนวน 384 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดนครปฐมจำนวน 32 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการประเมินและหาแนวทางพัฒนารูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้แก่ ตัวแทนผู้สูงอายุและ ตัวแทนจากหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน เก็บรวบรวมโดยการสนทนากลุ่ม สอบถาม สังเกต และ สัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามสภาพการณ์ 2) ประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบประเมินรูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข เพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 และ 4) ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบความตรงตามโครงสร้างด้วยสถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลที่ได้จากการศึกษา สรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มกันตามความต้องการ และความสนใจ บนพื้นฐานของความสุขและความต้องการ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับตนเอง สร้างความสุขผ่านกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งมิติที่ส่งผลต่อ ผู้สูงอายุคือ 1) มิติด้านอารมณ์และจิตใจ 2) มิติด้านสังคม 3) มิติด้านร่างกาย 4) มิติด้านวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 5) มิติด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ กิจกรรมที่ส่งเสริมความสุขกับผู้สูงอายุนั้นต้องคำนึงถึงว่า ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง เป็นอดิเรก หรือกิจกรรมที่ชอบ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผ่านการช่วยเหลือผู้อื่น 2. รูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่พัฒนาขึ้นคือ “รูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้แนวคิด DSOFAR Model” ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 4 ขั้นตอนการดำเนินการ 5 ปัจจัยความสำเร็จ ดังนี้ 1) D : Dealing with the change of the elderly การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ 2) S : Social /community participation การมีส่วนร่วมกับสังคม/ชุมชน 3) O : Online social knowledge ความรู้ในการเข้าสู่สังคมออนไลน์ 4) F : Financial Planning การวางแผน ด้านการเงิน 5) A : Appropriate health care. การดูแลสุขภาพร่างกายที่เหมาะสม และ 6) R : Religious and belief activities กิจกรรม ทางศาสนาและความเชื่อ ผ่านขั้นตอนดำเนินการคือ 1) Plan การกำหนดกลุ่ม การวางแผนกำหนดขั้นตอน 2) Do การทำ การเรียนรู้ ทำความเข้าใจ 3) Study การทบทวนประเมินการเรียนรู้ ขั้นตอนการตรวจสอบและ 4) Action การพัฒนาปรับปรุง โดยมีปัจจัยความสำเร็จประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ 1) ผู้นำที่มีความเข้าใจ รอบรู้และทันยุคสมัย Leardership 2) มีประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน Benefit 3) สร้างคุณค่าให้กับตนเอง Value 4) มีความยืดหยุ่น Flexibility และ 5) สามารถทำได้ด้วยตนเอง Myself 3. แนวทางพัฒนารูปแบบสังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 คือ 1) การระบุกลุ่มเป้าหมายและกิจกรรม 2) การค้นหาความต้องการของกิจกรรมด้วยผู้สูงอายุในชมรมเอง 3)การพัฒนารูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม 4) การประสานไปยังหน่วยงานภาครัฐ ที่เข้าใจสังคมผู้สูงอายุ 5) การให้โอกาสและทางเลือกกับผู้สูงอายุ 6) การสร้างฐานข้อมูลสำคัญของผู้สูงอายุ และ 7) ติดตามผลจากการทำกิจกรรม ของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้เกิดได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ โดยขยายเครือข่ายไปยังชมรมอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง หรือพื้นที่อื่น ๆ อันนำไปสู่สังคมผู้สูงอายุด้านความสุข ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีความยั่งยืน |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2752 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60260906.pdf | 5.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.