Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2822
Title: | Guidelines for Practice of Self-Care Among Patients with Heart Transplants แนวทางการปฏิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ |
Authors: | Usanee PHETON อุษณีย์ เพ็ชรอ่อน PITAK SIRIWONG พิทักษ์ ศิริวงศ์ Silpakorn University. Management Sciences |
Keywords: | การดูแลตนเอง การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ Self-care Heart transplantation |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to explore heart transplantation patients’ self-care practice guidelines and their perceptions about the heart transplant meaning. The qualitative research using phenomenology methodology design was employed using the data of ten heart transplant patients who underwent heart transplant procedure for the last 6 months and two healthcare providers (1 cardiologist, 1 transplant coordinator nurse) who participated in a heart transplant clinic at Siriraj Hospital. In this study, in-depth interviews,voice recording and unassociated observation were conducted with all informants. Data analyzed using descriptive analysis.
The results showed that patients were predominantly male with age of 18-59 year,time after heart transplantation about 9 month to 9 year. the patients and healthcare providers shared the same concerns about self-care practice. The practice concerns consisted of post-operative health functional status is generally excellent, self-care regimen, self-management in four areas (immunosuppressive drug administration, infection prevention, food restriction, and warning signs and symptoms), and financial problem. Overall perceptions about the heart transplantation of patients and healthcare providers were associated. They yield three main meanings regarding heart transplantation: Ultimate treatment for advanced heart failure by replace with another heart from donor, reborn or elongated life span, and improved quality of life. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและการให้ความหมายการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหวใจและกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดตามดูแลผู้ปวยภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักคือ 1.กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจระยะเวลาหลังผ่าตัดมากกว่า 6 เดือนที่มาตรวจตามนัด งานเปลี่ยนอวัยวะ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 10 คน 2. กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ประกอบด้วยแพทย์สาขาหทัยวิทยาจำนวน 1 คนและพยาบาลประสานงานเปลี่ยนอวัยวะ1 คน รวมทั้งหมด 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง18-59 ปี ระยะเวลาหลังผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตั้งแต่ 9 เดือนถึง 9 ปี แนวทางการปฏิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจของกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์มีความสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันคือ 1. ภาวะสุขภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจดีขึ้น 2. การปฏิบัติตามคำแนะนำ 3. การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 4 ประเด็นย่อย 3.1 รับประทานยากดภูมิคุ้มกันถูกต้อง ตรงเวลา 3.2 ใส่ใจป้องกันการติดเชื้อ 3.3 ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร 3.4 อาการผิดปกติและการจัดการ 4. ปัญหาด้านการเงิน และให้ความหมายการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจคือ การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น โดยการนำหัวใจของคนที่บริจาคมาเปลี่ยน ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวขึ้น เหมือนได้เกิดใหม่ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2822 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59601705.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.