Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2829
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Kanokporn KRAJANGSAENG | en |
dc.contributor | กนกพร กระจ่างแสง | th |
dc.contributor.advisor | VIROJ JADESADALUG | en |
dc.contributor.advisor | วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Management Sciences | en |
dc.date.accessioned | 2020-08-14T04:51:38Z | - |
dc.date.available | 2020-08-14T04:51:38Z | - |
dc.date.issued | 10/7/2020 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2829 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purpose of this research were 1) to examine the influences of Creative Innovation Management on the Excellence in Innovation of Private Hospitals in Thailand 2) to examine the influences of Excellence in Innovation on the Organizational Performance of Private Hospitals in Thailand 3) to examine the influences of Creative Innovation Management on the Organizational Performance of Private Hospitals in Thailand 4) to examine the influences of Perceived Competitive Intensity on the Creative Innovation Management of Private Hospitals in Thailand 5) to examine the influences of Transformational Leadership on the Creative Innovation Management of Private Hospitals in Thailand and 6) to study the guidelines for developing Creative Innovation Management of Private Hospitals in Thailand toward excellence in innovation and organizational performance. The mixed methods approach was used in this study by complying with the explanatory sequential research design; started by using quantitative approach to study the causal relationship of Creative Innovation Management of Private Hospitals in Thailand. Quantitative data were collected by using a questionnaire which were responded by the 347 chief executives of the hospitals. Structural Equation Model was used for analyzing the causal model with empirical data. Path Analysis was used for hypotheses test. Followed by the qualitative approach in phenomenological research by in-depth interviewing 6 key informants who are the chief executive of private hospitals where were accredited by JCI (Joint Commission International Accreditation) The results showed that 1) Creative Innovation Management has a positive direct influence on the Excellence in Innovation 2) The Excellence in Innovation has a positive direct influence on the Organizational Performance 3) Creative Innovation Management has a positive direct influence on the Organizational Performance 4) Perceived Competitive Intensity has a positive direct influence on the Creative Innovation Management, and 5) Transformational Leadership has a positive direct influence on the Creative Innovation Management. Confirmatory factor analysis founded that the hypotheses model was congruent with empirical data. In this study, the chi-square was 93.54, the degrees of freedom was 195 at the level of significance (p-value) was 0.22, the relative chi-square was 1.11, CFI was 1.00, GFI was 0.96, AGFI was 0.93, and RMSEA was 0.02. The qualitative research results could explain, confirm, and extend the quantitative findings. The contributions of this research can explain the causality of Creative Innovation Management of the private hospitals in Thailand toward excellence in innovation and organizational performance. The knowledge management theory and the contingency theory were used as the foundation theories for constructing the variables and conceptual framework. The research results can be used to manage for developing capabilities and innovations for enhancing organizational performance and gaining the sustainable competitive advantage. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อทดสอบอิทธิพลของ การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ส่งผลเชิงบวกต่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย 2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม ส่งผลเชิงบวก ต่อผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย 3) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ส่งผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย 4) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงในการแข่งขัน ส่งผลเชิงบวกต่อการจัดการนวัตกรรม เชิงสร้างสรรค์ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย 5) เพื่อทดสอบอิทธิพลของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลเชิงบวกต่อการจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และ 6) เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนารูปแบบการจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงพยาบาลเอกชน ในประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและผลการดำเนินงานขององค์การ ใช้ระเบียบวิธีการ วิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ออกแบบแผนการวิจัยเป็นแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) โดยเริ่มด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของการจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 347 แห่ง ใช้การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์และการวิเคราะห์เส้นทางเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิทยาแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological Approach) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการรักษาระดับสากล (Joint Commission International Accreditation : JCI) จำนวน 6 คน ผลการวิจัยตามสมมติฐาน พบว่า 1) การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์มีอิทธิพล ทางตรงเชิงบวกต่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม 2) ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม มีอิทธิพลทางตรง เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์การ 3) การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ มีอิทธิพลทางตรง เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์การ 4) การรับรู้ความรุนแรงในการแข่งขัน มีอิทธิพลทางตรง เชิงบวกต่อการจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์และ 5) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลทางตรง เชิงบวกต่อการจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวแบบตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 93.54 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.22 (p-value เท่ากับ 0.22) ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 1.11 ค่าดัชนี วัดความกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.96 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.93 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ย ความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.02 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่าแสดงว่า โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถอธิบาย ยืนยัน และขยาย ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณได้เป็นอย่างดีทำให้ผลการศึกษามีความชัดเจนและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ประโยชน์จากการวิจัยนี้ สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของการจัดการนวัตกรรม เชิงสร้างสรรค์ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและ ผลการดำเนินงาน โดยมีทฤษฎีพื้นฐานในการวิจัยคือ ทฤษฎีจัดการความรู้และทฤษฎีการบริหาร เชิงสถานการณ์ ใช้ในการบูรณาการ เพื่อพัฒนาตัวแปรหลัก คือ การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย โดยสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการบริหารจัดการ เพิ่มศักยภาพและผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับองค์การซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น และเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ | th |
dc.subject | ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม | th |
dc.subject | ผลการดำเนินงาน | th |
dc.subject | ผู้นำการเปลี่ยนแปลง | th |
dc.subject | การรับรู้ความรุนแรงในการแข่งขัน | th |
dc.subject | CREATIVE INNOVATION MANAGEMENT | en |
dc.subject | EXCELLENCE IN INNOVATION | en |
dc.subject | ORGANIZATIONAL PERFORMANCE | en |
dc.subject | TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP | en |
dc.subject | PERCEIVED COMPETITIVE INTENSITY | en |
dc.subject.classification | Business | en |
dc.title | CREATIVE INNOVATION MANAGEMENT OF PRIVATE HOSPITALS IN THAILAND TO EXCELLENCE IN INNOVATION AND PERFORMANCE OF THE ORGANIZATION | en |
dc.title | การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย สู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและผลการดำเนินงานขององค์การ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59604901.pdf | 7.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.