Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2864
Title: CONTINUOUS QUALITY IMPROVEMENT AFFECTING INNOVATIVE BEHAVIOR OF MEDICAL EMPLOYEES IN PRIVATE HOSPITAL AT BANGKOK AREA
การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: Rujires NHUNNAK
รุจิเรศ หนุนนาค
AMARIN TAWATA
อมรินทร์ เทวตา
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: วงจรคุณภาพ PDCA
พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม
การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ระบบบริหารคุณภาพ
บุคลากรทางการแพทย์
Quality Circle PDCA
Innovative Behavior
Continuous Quality Improvement
Quality Management System
Medical Employees
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research was 1) to investigate level of quality management system in part of continuous quality improvement operated by quality circle Plan-Do-Check-Act and innovative behavior of medical employees in private hospital at Bangkok area 2) to investigate individual factor affecting innovative behavior of medical employees in private hospital at Bangkok area 3) to investigate continuous quality improvement which applies quality circle Plan-Do-Check-Act affecting innovative behavior of medical employees in private hospital at Bangkok area.  This is quantitative research, samples consisted of 380 medical employees in private hospital at Bangkok.  Data collection was adopted by using questionnaires.  The data analysis for descriptive statistics was done by frequency, percentage, mean and standard deviation then analyze by T-test, F-test or One-way ANOVA.  The hypothesis analysis using Pearson’s product moment correlation and Multiple Regression Analysis. The resulted presented that the majority of respondents were female, 31 – 40 years old, graduate with a bachelor’s degree, earning more than 75,000 baht/month, have working experience over than 10 years and positioning as medical supporting staff.  The results of hypothesis testing presented that the overall level of quality circle and innovative behavior are at high level. The individual factor for age, graduate level, income, work experience and position affecting innovative behavior significant different at statistical 0.01 and 0.05 level.  However individual factor for gender not affecting innovative behavior significant different at statistical 0.05.  From correlation analysis, all 4 section of quality circle are correlate to innovative behavior.  Finally, from regression analysis, quality circle has positive influence to innovative behavior with statistical significance at 0.01 level which including Do and Act.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของระบบบริหารคุณภาพที่ดำเนินการด้วยวงจรคุณภาพ Plan-Do-Check-Act และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาระบบบริหารคุณภาพโดยใช้วงจรคุณภาพเป็นเครื่องมือ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 380 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) หรือการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) สถิติอนุมานใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 – 40 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้มากกว่า 75,000 บาท/เดือน มีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป และเป็นบุคลากรฝ่ายสนับสนุนทางการแพทย์ด้านอื่น ๆ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้ตัวแปรอิสระวงจรคุณภาพ และตัวแปรตามพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 อย่างไรก็ตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกัน กลับมีพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่าวงจรคุณภาพทั้ง 4 ด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยวงจรคุณภาพด้านการปฏิบัติตามแผน (Do) และด้านการปรับปรุงและพัฒนา (Act) ส่งอิทธิพลเชิงบวกและสามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2864
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61602319.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.