Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2972
Title: Research and Development of Exercise Equipment for Osteoporosis Prevention in the Elderly
การศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์ออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
Authors: Kunanon SONGTHAWRONPONG
คุณานนต์ ทรงถาวรพงศ์
LUI KANSOMKIETHE
ลุ้ย กานต์สมเกียรติ
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: อุปกรณ์ออกกำลังกาย/ผู้สูงอายุ/โรคกระดูกพรุน
EXERCISE EQUIPMENT/ELDERLY/OSTEOPOROSIS
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract:           This research aims to design exercise equipment for the prevention of osteoporosis in the elderly by studying the symptoms, causes, and risk factors of the disease as well as evaluating the elderly's satisfaction from using product prototypes. The design process consists of 2 main phases. The first one is interviewing the needs of 40 elderly persons. Such information combined with Thai wisdom and modern design was used to specify the shape and usage of the exercise equipment in consideration of user comfort. The exercise equipment includes 3 tools for arm, hip, and leg exercises since osteoporosis is often found in the bones of these parts. The last phase is evaluating the user satisfaction of using the product prototypes with a questionnaire.         In analyzing the information of the questionnaire, statistical values such as mean (x̄) and standard deviation (S.D.) were used. It was found that the exercise equipment received high satisfaction for its attitude (x̄ = 4.11) (S.D. = 0.59), convenience (x̄ = 4.09) (S.D. = 0.60), safety (x̄ = 4.08) (S.D. = 0.57) and design (x̄ = 4.04) (S.D. = 0.60). Therefore, the designed products can prevent osteoporosis in the elderly effectively and also satisfy their requirements.
          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบอุปกรณ์ออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ โดยศึกษาสาเหตุ ลักษณะอาการ ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคกระดูกพรุน รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้ออกแบบขึ้น กระบวนการออกแบบประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการสัมภาษณ์ความต้องการผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน นำข้อมูลที่ได้มาผนวกเข้ากับภูมิปัญญาไทยและอุปกรณ์สมัยใหม่ เพื่อให้ได้อุปกรณ์ออกกำลังกาย ที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมได้ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้สูงอายุ โดยอุปกรณ์ออกกำลังกายมี 3 ชิ้น ประกอบด้วย อุปกรณ์บริหารแขน อุปกรณ์บริหารสะโพก และอุปกรณ์บริหารขา ซึ่งเป็นส่วนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน ขั้นตอนที่สองเป็น การประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้จากผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยแบบสอบถาม          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามใช้สถิติหาค่าร้อยละ แบบประเมินความพึงพอใจ ใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในด้านทัศนคติที่มีต่ออุปกรณ์ออกกำลังกาย มีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ (x̄ = 4.11) (S.D. = 0.59) ในด้านความสะดวกสบายและประโยชน์ในการใช้งาน มีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ (x̄ = 4.09) (S.D. = 0.60) ด้านความปลอดภัย มีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ (x̄ = 4.08) (S.D. = 0.57) และด้านการออกแบบมีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ (x̄ = 4.04) (S.D. = 0.60) ตามลำดับ การออกแบบในครั้งนี้ได้อุปกรณ์ออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจต่อผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2972
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59155305.pdf11.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.