Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3072
Title: | MEDIA EXPOSURE SERVICE INNOVATION BASE ON APPLICATION AND APPLICATION BEHAVIOR IN LIFESTYLE OF BABY BOOMER IN BANGKOK METROPOLITAN การเปิดรับสื่อนวัตกรรมการบริการผ่านแอปพลิเคชันและพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันในการดำเนินชีวิตของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | Katewalee PRASIT เกศวลี ประสิทธิ์ SIRICHAI DEELERS สิริชัย ดีเลิศ Silpakorn University. Management Sciences |
Keywords: | การยอมรับเทคโนโลยี ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน การเปิดรับสื่อ เบบี้บูมเมอร์ Technology Acceptance Attitude Toward Using Media Exposure Baby Boomers |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research studies Media exposure, service innovation base on application and application behavior in lifestyle of baby boomer in Bangkok Metropolitan. The data collection is done through questionnaires by 400 baby boomers living in Bangkok Metropolitan. The Statistic used for data analysis include percentage, mean, standard deviation and this research by using the PLS-SEM for the analysis
The findings include the samples are mostly females, aged between 61-65 years old, most completed bachelor’s degree, and expenses for life 15,001-30,000 baht
per month, with of income is saving, by currently living with family and merchant occupations. Media exposure, service innovation base on application and application behavior in lifestyle of baby boomer in Bangkok Metropolitan, that most samples was use social media applications to chat and communicate, duration of use is 1-2 hours.
It is popular to use a smartphone to access applications. In addition, the results of ฺ Behavior of media exposure, service innovation base on application in lifestyle of
baby boomer in Bangkok Metropolitan factor analysis. Found that the perceived usefulness factor of benefit in use Has the most importance. Followed by the Perceived Ease of Use and Attitude Toward Using. Affect the Media exposure, service innovation base on application and application behavior in lifestyle of baby boomer in Bangkok Metropolitan.
Suggestion for Developer 1) Perceived Usefulness : Should has a simple layout,
it is useful to use and reduce the time to access information 2) Perceived Ease of Use : Should layout and process are easy to use ,Can learn the steps to use it. It doesn't take much effort to learn to use it. งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยด้านการเปิดรับสื่อนวัตกรรมการบริการผ่านแอปพลิเคชันและพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน ในการดำเนินชีวิตของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานและการรับรู้ความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เก็บข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM : Structural Equation Modeling) แบบ PLS-SEM ผลการวิจัยพบว่า พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 61-65 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีค่าใช้จ่ายในการครองชีพต่อเดือน 15,001-30,000 บาท มีแหล่งที่มาของรายได้ที่ใช้จ่ายค่าครองชีพมาจากเงินสะสม ปัจจุบันอาศัยอยู่กับครอบครัว และส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขายก่อนเกษียณอายุ พฤติกรรมการใช้งานนวัตกรรมการบริการผ่านแอปพลิเคชันของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ในเขตกรุงเทพมหานครของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้แอปพลิเคชันประเภทสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนทนา ติดต่อสื่อสาร ระยะเวลาในการใช้งาน 1-2 ชั่วโมง นิยมใช้สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ ผลของการวิเคราะห์ปัจจัยการเปิดรับสื่อนวัตกรรมการบริการผ่านแอปพลิเคชันและพฤติกรรมการใช้ แอปพลิเคชัน ในการดำเนินชีวิตของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน มีระดับความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน มีผลต่อการเปิดรับสื่อนวัตกรรมการบริการผ่านแอปพลิเคชันและพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน ในการดำเนินชีวิตของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ข้อเสนอแนะสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชัน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ได้ดังนี้ 1) ด้านประโยชน์ของการใช้งาน ควรมีรูปแบบการจัดวางง่ายเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน และลดระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูล 2) ด้านความง่ายในการใช้งาน ควรมีรูปแบบและขั้นตอนการใช้งานที่ง่าย สามารถเรียนรู้ขั้นตอนการใช้งานได้ ไม่ต้องใช้ความพยายามมากในการเรียนรู้การใช้งาน |
Description: | Master of Business Administration (M.B.A.) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3072 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61606301.pdf | 5.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.