Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3096
Title: Imitating the Transfer Printing Technique: An Alternative Method for Chinese Transfer Printed Porcelain
ทางเลือกในการอนุรักษ์เครื่องกระเบื้องจีนพิมพ์ลาย ด้วยวิธีเลียนแบบการพิมพ์ลาย
Authors: Burin SINGTOAJ
บุรินทร์ สิงห์โตอาจ
Putsadee Rodcharoen
ผุสดี รอดเจริญ
Silpakorn University. Graduate School
Keywords: การอนุรักษ์เครื่องปั้นดินเผา
เครื่องกระเบื้องจีนพิมพ์ลาย
ceramic conservation
Chinese transfer printed porcelain
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Chinese transfer printed porcelain is a common artifact in museums and communities. They were not properly caring and preserve. The materials used in previous conservation deteriorated. Most of them preserved without a retouching process, lacking useful information for studying, and lack of aesthetics in the exhibits. In some cases, retouching the porcelain to the original is essential for education. The researcher uses the decorative techniques of transfer printed ware as an alternative method to retouching into the filler material on the missing parts of porcelain by comparing the remaining designs with good condition porcelain. The designs were modified to be fit into the missing part using an open-source photo editing program. Then, the designs are printed on the water decal paper and stick on the plaster. As a result, objects get a complete pattern that looks like the transfer printed ware. This method can reduce conservation work time; artistic skills are unnecessary and help to study the complete design. This technique can also make a replica for the exhibition and the souvenirs in the museum. Ceramic conservation in the retouching process using this imitation transfer printing technique modify the object's appearance. Therefore, conservators need to consider the necessity, the stakeholders, and the purpose of conservation. The methodology presented by the study was an approach that easy to reproduced and reversed or removed. In case the conservation objectives change or when the materials deteriorated, there will a suitable and faster process in the future.
เครื่องกระเบื้องจีนพิมพ์ลายเป็นโบราณวัตถุที่พบทั่วไปในพิพิธภัณฑสถานและแหล่งชุมชน ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการดูแลและอนุรักษ์ตามหลักการที่เหมาะสม เครื่องปั้นดินเผาที่ผ่านการอนุรักษ์ในอดีตวัสดุที่ใช้อนุรักษ์เกิดการเสื่อมสภาพ และมักไม่มีการอนุรักษ์ในขั้นตอนแต่งเติมสีหรือลวดลาย ทำให้ขาดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเครื่องปั้นดินเผาในสภาพสมบูรณ์ ขาดรายละเอียด ขาดความสวยงามในการจัดแสดง ในบางกรณีการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาให้มีสภาพใกล้เคียงกับของต้นแบบเป็นสิ่งสำคัญเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดที่นำเทคนิคตกแต่งเครื่องกระเบื้องพิมพ์ลาย คือการใช้กระดาษลอกลายมาเป็นทางเลือกในการแต่งเติมลวดลายลงบนวัสดุที่ใช้เติมเต็มส่วนที่หายไปของเครื่องปั้นดินเผา โดยศึกษาเปรียบเทียบลายที่เหลืออยู่กับลายบนเครื่องปั้นดินเผาชิ้นสมบูรณ์และจากแหล่งข้อมูลอื่น ลายที่ได้จะปรับแต่งสีและขนาดให้ใกล้เคียงกับส่วนที่หายไปโดยใช้โปรแกรมแต่งภาพ จากนั้นพิมพ์ลายบนกระดาษรูปลอกน้ำและติดลายลงบนปูนปลาสเตอร์ที่ใช้เป็นวัสดุเติมเต็ม ผลที่ได้วัตถุจะมีลวดลายสมบูรณ์ มีความกลมกลืนใกล้เคียงกับภาชนะดั้งเดิมที่ใช้วิธีการพิมพ์ลาย วิธีนี้จะช่วยลดเวลาปฏิบัติงานอนุรักษ์ ไม่ต้องอาศัยทักษะทางศิลปะ ช่วยในการศึกษาลักษณะที่สมบูรณ์ สามารถนำไปทำวัตถุจำลองสำหรับจัดนิทรรศการ และการผลิตของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์ได้ วิธีนี้สามารถนำไปใช้กับเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลายในรูปแบบที่ซ้ำกัน และลายมีลักษณะแบนราบได้ การอนุรักษ์เครื่องปั้นดินเผาในขั้นตอนตกแต่งลายด้วยวิธีเลียนแบบการพิมพ์ลายเป็นวิธีที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุ จึงต้องพิจารณาความจำเป็น ความต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตกลงร่วมกันถึงวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ว่าต้องการให้เครื่องปั้นดินเผาที่อนุรักษ์แล้วมีความถูกต้องของรายละเอียด หรือต้องการภาพลักษณ์ความสวยงามโดยรวมของเครื่องปั้นดินเผา หรือต้องการให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงก่อนการอนุรักษ์ วิธีการที่ผู้ศึกษานำเสนอเป็นวิธีการที่สามารถทำซ้ำได้ง่ายและทำให้ย้อนกลับหรือสามารถนำออกได้ ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์เปลี่ยนแปลง หรือเมื่อเกิดความเสียหายกับวัสดุที่นำมาใช้ และในอนาคตหากมีวิธีการที่เหมาะสม สะดวก รวดเร็วกว่า
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3096
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61904306.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.