Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3102
Title: The Development of Constructivist Teaching Modeland Using Online Peer Feedback to PromoteStudents’ English Writing Skill
การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา
Authors: Pongtawee TASSAWA
พงศ์ทวี ทัศวา
Patteera Thienpermpool
ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล
Silpakorn University. Education
Keywords: รูปแบบการสอนตามแนวสร้างสรรค์ความรู้
การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์
ทักษะการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ
Constructivist Teaching Model
Online Peer Feedback
English Composition Writing Skill
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to: 1) develop a constructivist instructional model with online peer feedback to enhance English major students’ writing skill; 2) study the effectiveness of using the constructivist instructional model with online peer feedback to enhance English major students’ writing skill 2.1) enhance writing skill of the second-year students who were studying in English major, Faculty of Education, Lampang Rajabhat University after learning by using the constructivist instructional model with online peer feedback and 2.2) study the development of writing skill of the second year students who were studying in English major, Faculty of Education, Lampang Rajabhat University after learning by using the constructivist instructional model with online peer feedback; 3) approve the constructivist instructional model with online peer feedback and create the instructional model guidebook. The samples comprised 30 second year students during the second semester of the academic year 2019 at Lampang Rajabhat University. Research instruments consisted of the constructivist instructional model with online peer feedback, lesson plans, writing composition test. The data was analyzed by mean, percentage, and standard deviation.  The results were as follows: 1. After studying the related documents and theories, the researcher has created the constructivist teaching model and using online peer feedback to promote students’ English writing skill called “PWP-Plus Model” consisted of four elements. These are (1) principles - emphasis on students who take the most important role in instructional activities and they can construct their knowledge systematically through collaborative learning; (2) objective – enhancing writing skills of 30 second year students at Lampang Rajabhat University in the second semester of the academic year 2019; (3) the learning process consisted of 3 steps,   a) Pre-writing steps: P – it’s a step that starts from the activity according to scaffolding strategies; the students in each group have to prepare any resources for being ready for the next steps. (stimulating the students’ background knowledge, asking priming question, brainstorming about the topic that they are going to write about, reading the example of text, studying essay components and ways to give feedback and), b) While writing: W, it’s a step of writing composition. The students have to bring any information or resources from the pre-writing step in order to write their own first draft. After finishing first draft, the students have to post their first draft in the group that was created by the researcher. And the last step, c) Post writing: P-Plus, the last step is the writing composition step that was integrated with online peer feedback, When the students finish their own first draft, they have to post their own first draft in the group that was created by the researcher. Then, the members in each group have to give online peer feedback without grammatical concern by using the content checklist given by the researcher. After that, everyone has to revise their own first draft according to online peer feedback and complete their second draft. After finishing second draft, everyone must post their own second draft in the group that was created by the researcher again, so members in each group have to give online peer feedback without content concern by using language checklist given by the researcher. Shortly after that, everyone has to use language error feedback from their friend to revise their own draft, and Finally, everyone has to write their own final draft and post it into the group again.; (4) The 5-part assessments and evaluations on writing composition skills, 1) content 2) idea organization 3) vocabularies 4) grammar 5) spelling, capitalization, and marking. 2. After the experiment of using the constructivist teaching model and using online peer feedback to promote students’ English writing skill “PWP-Plus Model” indicated that the students have mean score 8.76, the percentage is 87.6 and the standard deviation is 0.29, which met the first hypothesis that was set by the researcher, and the results of the study of students’ writing skill development indicated that the students’ writing composition skill develop gradually in every lesson plans, which met the second hypothesis that was set by the researcher. 3. The result of PWP-Plus model approvement has mean score 4.47 and the standard deviation is 0.37. The approvement is in high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์ 2.1 ส่งเสริมทักษะการเขียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์  2.2 ศึกษาการพัฒนาทักษะการเขียนของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 3. รับรองรูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 30 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการเขียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังจากที่ได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์ มีชื่อเรียกว่า “PWP-Plus Model” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1) หลักการ ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวผู้เรียนเองผ่านกิจกรรมที่เน้นกิจกรรมกลุ่ม 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางด้านการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อนเขียน (Pre Writing) เป็นขั้นตอนที่ประกอบด้วยกลวิธีการเตรียมทรัพยากรให้แก่ผู้เรียน (Scaffolding Strategies) เช่นการกระตุ้นความรู้เดิมของผู้เรียน การใช้คำถามนำทางเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดประเด็นความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้เขียน การระดมความคิดภายในกลุ่มเกี่ยวกับหัวข้อที่จะเขียน การศึกษาตัวอย่างชิ้นงานเขียน การศึกษาองค์ประกอบชิ้นงานเขียน รวมถึงการเรียนรู้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับงานเขียน เป็นต้น ขั้นระหว่างเขียน (While Writing) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนำข้อมูลต่างๆที่ได้จากกิจกรรมในขั้นก่อนเขียน นำมาใช้เขียนฉบับร่างที่ 1 ของตนเอง หลังจากที่เขียนฉบับร่างที่ 1 เสร็จให้ผู้เรียนนำงานเขียนฉบับร่างที่ 1 ไปโพสต์ไว้บนเฟสบุ๊ค ในกลุ่มที่ผู้สอนได้สร้างไว้ และขั้นสุดท้ายคือ ขั้นหลังเขียน (Post Writing) ในขั้นหลังเขียนนี้ จะมีการผสมผสานนำกิจกรรมการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์นั้นจะเกิดขึ้นในขั้นหลังเขียน (Post Writing) กล่าวคือเมื่อผู้เรียนเขียนฉบับร่างที่ 1 เสร็จให้ผู้เรียนนำงานเขียนฉบับร่างที่ 1 ไปโพสต์ไว้บนเฟสบุ๊ค ในกลุ่มที่ผู้สอนได้สร้างไว้ เพื่อแสดงให้เพื่อนในกลุ่มได้เข้ามาอ่านและให้ข้อมูลย้อนกลับผ่านสื่อออนไลน์โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับออนไลน์รอบแรกนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับทางด้านเนื้อหาโดยใช้แบบให้ข้อมูลย้อนกลับทางด้านเนื้อหาที่ผู้สอนแจกให้ โดยในการให้ข้อมูลย้อนกลับทางด้านเนื้อหานั้น จะไม่พิจารณาเรื่องความผิดพลาดทางด้านไวยากรณ์ เมื่อผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับทางด้านเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เรียนทุกคนนำข้อมูลย้อนกลับที่ได้นั้น ไปแก้ไขงานเขียนของตนเอง และปรับปรุงงานเขียนจนเป็นงานเขียนฉบับร่างที่ 2 เมื่อเขียนฉบับร่างที่ 2 เรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เรียนทุกคนนำฉบับร่างของตนเองไปโพสต์ลงในกลุ่มเฟสบุ๊คที่ผู้สอนได้ตั้งเอาไว้ หลังจากที่ทุกคนในกลุ่มได้โพสต์ฉบับร่างที่ 2 ของตนลงในกลุ่มเรียบร้อยแล้ว ให้สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มทำการให้ข้อมูลย้อนกลับทางด้านไวยากรณ์ โดยใช้แบบให้ข้อมูลย้อนกลับทางไวยากรณ์ที่ผู้สอนแจกให้ หลังจากที่ให้ข้อมูลย้อนกลับทางด้านไวยากรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เรียนทุกคนนำข้อมูลย้อนกลับทางด้านไวยากรณ์ที่ตนเองได้รับนั้น ไปปรับแก้งานเขียนของตนเอง แล้วจึงทำการเขียนฉบับสมสบูรณ์ และกิจกรรมสุดท้ายคือ ให้ผู้เรียนนำงานเขียนฉบับสมบูรณ์ของตนเองไปโพสต์ในกลุ่มเพื่อให้เพื่อนในกลุ่มได้เข้ามาอ่าน 4) การวัดประเมินผลงานเขียนมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1) องค์ประกอบด้านเนื้อหา 2)องค์ประกอบด้านการเรียบเรียงความคิด 3) องค์ประกอบด้านการใช้ศัพท์ 4) องค์ประกอบด้านการใช้ไวยากรณ์ 5) องค์ประกอบด้านตัวสะกด อักษรนำ และการขึ้นย่อหน้า หลังจากทดลอง 2. หลังทำการศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พบว่านักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ โดยนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 8.76 คิดเป็นร้อยละ 87.6 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29  และ และเมื่อพิจารณาในแต่ละแผนการสอน พบว่า แผนที่ 1 การเขียนแบบเล่าเรื่อง (Narrative Composition) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 คิดเป็นร้อยละ 48.3 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 แผนที่ 2 การเขียนเรียงความแบบชักจูง (Persuasive Composition) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.36 โดยคิดเป็นร้อยละ 63.6 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 แผนที่ 3 การเขียนเรียงความเชิงโต้แย้ง (Argumentative Composition) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.62 โดยคิดเป็นร้อยละ 76.2 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 แผนที่ 4 การเขียนเรียงความเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Composition) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.02 โดยคิดเป็นร้อยละเท่ากับ 80.2 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 และแผนสุดท้ายคือ แผนที่ 5 การเขียนเรียงความเชิงเหตุและผล (Cause and Effect Composition) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.38 โดยคิดเป็นร้อยละ 83.8 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34 จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีพัฒนาการทางด้านการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่ตั้งไว้ 3. ผลการรับรองรูปแบบการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.47 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 ซึ่งอยู่ในระดับ มาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3102
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58254902.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.