Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3189
Title: COSTUMES AND ORNAMENTS IN THE ROYAL KHON PERFORMANCE
พัสตราภรณ์และถนิมพิมพาภรณ์ที่ใช้ในการแสดงโขนพระราชทาน
Authors: Rawisara TRARAKOONNGERNTHAI
รวิสรา ตระกูลเงินไทย
Patsaweesiri Preamkulanan
พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: เครื่องแต่งกายโขนพระราชทาน
ถนิมพิมพาภรณ์
COSTUMES IN THE ROYAL KHON PERFORMANCE
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Owing to a command of Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother to support and develop the art of khon dance-drama which once had been about to fade away from modern society, Royal Khon Performance under the Royal Patronage of The Queen Mother commenced with the preservation of corresponding artistic knowledge: textiles and clothing, ornamental embellishment, dancing art, music, khon-mask making and scene painting. According to H.M. The Queen Mother’s request, the collaboration of scholars and experts of the art of clothing are specifically required for the reconstruction of. Embroidery, thus, is regarded as one of the most significant costume making processes since each type of fabric needs not only particular embroidering methods but also sewing materials. Gold weaving technique is an important one which was brought back to make pieces of female embroidered breast cloth in an episodic performance “Nang Loi” (which means “the imposter of Sita floating upstream to Rama’s military camp). In pattern designing process, the characters’ statuses and family colours demonstrating on the khon masks were highly considered. Special technique of metallic thread embroidery, which used only for the making of fabric neck ornament in royal initiation rites in the old days, was selected, as well. For the reason of the collaboration of scholar and experts in traditional costume making, the Royal Khon Performance under the Royal Patronage of The Queen Mother can be counted as a way of safeguarding and building upon this type of national artistic knowledge in order to avoid its effacement.
การแสดงโขนพระราชทานเกิดขึ้นจากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชดำริที่จะส่งเสริมและพัฒนาการแสดงโขนที่กำลังเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบัน เป็นการอนุรักษ์องค์ความรู้งานหัตถศิลป์หลายแขนง ทั้ง พัสตราภรณ์  ถนิมพิมพาภรณ์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปกรรมการประดิษฐ์หัวโขน และฉากโขน    การจัดสร้างเครื่องแต่งกายสำหรับแสดงโขนพระราชทาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการศึกษาค้นคว้าเรื่องเครื่องแต่งกายโขนในอดีตมาจัดสร้างใหม่ เทคนิคเชิงช่างที่สำคัญในการจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนพระราชทาน คือ เทคนิคการปัก เหตุเพราะผ้าแต่ละชนิดมีความเหมาะสมกับเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการปักที่แตกต่างกัน เทคนิคสำคัญที่ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมา คือ ผ้ากรองทอง ซึ่งใช้สร้างผ้าห่มนางในตอนนางลอย กระบวนการออกแบบลวดลายยังคำนึงถึงฐานานุศักดิ์ของตัวละคร ตลอดจนสีเครื่องแต่งกายยึดหลักจารีตสีตามพงษ์ที่ปรากฏบนหัวโขนเป็นตัวกำหนดในการย้อมเส้นไหมก่อนนำไปทอและปักประดับลวดลาย นอกจากนั้นยังใช้เทคนิคพิเศษในการปักด้วยการตรึงโลหะอันมีค่า แต่เดิมจะพบเทคนิคนี้ที่นวมพระศอในพระราชพิธีโสกันต์ การจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนพระราชทานได้รวบรวมเทคนิคเชิงช่างที่สำคัญไว้ นับว่าเป็นการอนุรักษ์มรดก ต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านศิลปกรรมของชาติไว้มิให้สูญสลายตามกาลเวลา
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3189
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59107209.pdf20.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.