Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3195
Title: | The Alaṃkāras in the Eulogy Addressed to king Jayavarman VII In the Sanskrit Inscriptions Belonging to His reign อลังการในบทสดุดีพระเกียรติในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 |
Authors: | Nipat YAMDATE นิพัทธ์ แย้มเดช SOMBAT MANGMEESUKSIRI สมบัติ มั่งมีสุขศิริ Silpakorn University. Archaeology |
Keywords: | อลังการ บทสดุดีพระเกียรติ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จารึกภาษาสันสกฤต Alāṃkāra The Eulogy Addressed King Jayavarman VII the Sanskrit Inscriptions |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The aim of this thesis is to study the Alāṃkāras (literary ornaments) and their imports in the eulogies addressed to king Jayavarman VII from selected Sanskrit inscriptions belonging to his reign: Prasat Ta-Prohm inscription, Say-fong inscription, Prasat Tor inscription, Phra Khan inscription, Phimeanakas inscription and Prasat Chrung inscriptions (k.287 k.288 k.547, k.597).
The study shows that the eulogies in the inscriptions are both adorned with the embellishment of sound (Śabdālaṃkāra) and the embellishment of meaning (Arthālaṃkāra). The embellishment of sound appears in two ways: (1) the embellishment of sound by way of Anuprāsa, that is the repetition of the same sounds (double or multiple) in the same word or in a sequence of words (alliteration or consonance), the repetition of the last syllable (rhyme), and the using of rhythm in the literary composition; (2) the embellishment of sound by way of Yamaka, that is the accentuation of words’ tone and the repetition of sounds with the play on their meaning (paronomasia or pun). As for the embellishment of meaning, concerning the depictions of myth, warfare, arts, glory, towns and places, poets could combine a variety of the Alāṃkāra, such as Utprekṣā, Upamā, Rūpaka, Atiśayokti, Vyatireka, Arthāntaranyāsa, Śleṣa, etc. The poets have liberty and creativity in the composition using the Alāṃkāras to depict an ideal image of the King Jayavarman VII, the excellency of his kingship, both secular and religious.
Furthermore, the knowledges conveyed in these depictions show the historical, religious, philosophical, sociological, and anthropological values. They complement the biographical data of the King Jayavarman VII, the understanding of religions and philosophical principles, and of sociological and ethnographical representations of the society of the time. The thesis proposes that the eulogies depict the religious and cultural homogeneity between classes, nobles and ordinaries, and between a variety of ethnic groups, under the unity and stability of the reign.
As a literary work created by man, the Sanskrit inscription as eulogy reflects upon the truth of its own creator, human beings, that no matter the time has passed the being of humans is universal. They are spiritually sensitive, faithful, imaginative, and capable of love and devotion to their leaders. In the end, studying inscriptions is to understand the value of human life, that is: to learn our own ‘self’ and that of our ‘neighbouring communities’ in this shared civilization. วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์อลังการ และคุณค่าด้านต่างๆ ในบทสดุดีพระเกียรติในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จารึกที่นำมาศึกษา คือ จารึกปราสาทตาพรหม จารึกทรายฟอง จารึกปราสาทโตว์ จารึกปราสาทพระขรรค์ จารึกปราสาทพิมานอากาศ และจารึกปราสาทจรุง (หลักที่ k.287 k.288 k.547 และ k.597) ผลการศึกษาพบว่า บทสดุดีพระเกียรติในจารึกมีความงามทั้งอลังการทางเสียง(ศัพทาลังการ) และอลังการทางความหมาย (อรรถาลังการ) อลังการทางเสียง มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ (1) การเล่นเสียงที่สอดคล้องกับอนุปราส เช่น การเล่นเสียงพยัญชนะคู่เสียงเดียวกัน การเล่นเสียงพยัญชนะหลายตัวซ้ำกัน การเล่นเสียงคำชุดเดียวกัน เสียงพยางค์ท้ายคำซ้ำกัน เป็นต้น นอกจากนี้ กวียังเล่นเสียงคำและระดับเสียงเป็นจังหวะด้วย (2) การเล่นเสียงที่สอดคล้องกับยมก พบว่า มีการย้ำน้ำหนักเสียงและเล่นความหมายต่างกัน อลังการทางความหมาย สัมพันธ์กับการสื่อความหมายปรัมปราคติ การสื่อความหมายสนามรบ การสื่อความหมายสรรพศิลป์ การสื่อความหมายพระเกียรติยศ และการพรรณนาเมืองและสถานที่ การสื่อความหมายหลากหลายนี้ กวีใช้อลังการหลายรูปแบบผสมผสานกัน เช่น อุตเปรกษา อุปมา รูปกะ อติศโยกติ วยติเรก อรรถานตรันยาสะ เศลษะ เป็นต้น ขณะเดียวกันกวีแสดงอิสระแห่งกวีหรือความคิดสร้างสรรค์ในการประพันธ์ ซึ่งความประณีตของอลังการสะท้อนภาพลักษณ์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในแง่อุดมคติ คือ เป็นพระมหากษัตริย์ดีเลิศทางโลกและทางธรรม ผลการศึกษาต่อมา พบว่าจารึกสะท้อนคุณค่าประวัติศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา สังคมและ วิถีชีวิตของผู้คน คุณค่าดังกล่าวเติมเต็มองค์ความรู้พระราชประวัติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สะท้อนคุณค่าทางศาสนาและหลักปรัชญาการดำเนินชีวิต ตลอดจนสะท้อนบริบทสังคมและความเคลื่อนไหวของกลุ่มชนต่างๆ อันประกอบด้วย ชนชั้นสูงจนถึงชนชั้นผู้ยากไร้ ข้อสังเกตคือ จารึกให้ภาพความเป็นเอกภาพของศาสนาและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีเสถียรภาพ การศึกษาครั้งนี้ ทำให้ประจักษ์คุณค่าจารึกภาษาสันสกฤตในฐานะบทสดุดีพระเกียรติ จารึกเป็นผลงานลายลักษณ์สร้างสรรค์โดยมนุษย์ สะท้อนสัจธรรมที่ว่าไม่ว่ายุคสมัยผ่านไป มนุษย์ก็มีลักษณะสากล คือ มีความอ่อนไหวทางจิตวิญญาณ ความเชื่อ จินตนาการ และความรักยกย่องผู้นำเหมือนกัน ดังนั้น การเรียนรู้จารึกจึงทำให้เข้าใจคุณค่าชีวิตมนุษย์ เรียนรู้ “ตัวตน” ของเรา และ “ประชาคมเพื่อนบ้าน” บนรากฐานอารยธรรมร่วมกัน |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3195 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59114801.pdf | 22.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.