Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3240
Title: | PROPOSED POLICY FOR CHEDI-BUCHA CANAL AREA MANAGEMENT AS THE CREATIVE TOURISM ATTRACTION OF NAKORN PATHOM PROVINCE ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม |
Authors: | Wayupak WONGSAKDIRIN วายุภักษ์ วงศ์ศักดิรินทร์ KANIT KHEOVICHAI คณิต เขียววิชัย Silpakorn University. Education |
Keywords: | ข้อเสนอเชิงนโยบาย คลองเจดีย์บูชา แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ PROPOSED POLICY CHEDI-BUCHA CANAL CREATIVE TOURISM ATTRACTION |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: |
The purposes of this research were to 1) survey the environment of Chedi-Bucha Canal area for purposed policy of Chedi-Bucha Canal management as the creative tourism attraction of Nakorn Pathom Province; 2) study the potential of Chedi-Bucha Canal management as the creative tourism attraction of
Nakorn Pathom Province; 3) do the proposed policy to related organizations as Chedi-Bucha Canal
management model to the creative tourism attraction of Nakorn Pathom Province. This study is policy
research employing mixed methodology: quantitative and qualitative research. For quantitative research,
359 samples are from 4 communities: Tesa-Tipakorn community, Suan LamYai community, Sarn Chao
Mae-Ton-Jaeng Soi 6 community and Soi 7 community selected by purposive sampling. Content analysis
was analyzed using mean (x̄) and standard deviation (S.D.). For qualitative research, The key informants of
in-depth interview was used by purposive sampling with 4 local leaders, focus group discussion with
10 people (8 community representatives and 2 local proprietors) and connoisseurship with 6 experts.
(The leaders, representatives, proprietors and experts were selected by purposive sampling.) Research tools consists of 1) questionnaires are consisting of questions for Chedi-Bucha Canal management to the creative tourist attraction of Nakorn Pathom Province, 2) in-depth interview about Chedi-Bucha Canal’s environment and context to be creative tourist attraction, and 3) purpose policy assessment and recognition (draft) of Chedi-Bucha Canal management as the creative tourism attraction of Nakorn Pathom Province.
The results found that: 1) The environment of Chedi-Bucha Canal area has conveyed the
significant historical information, the scenery as well as the business center which are suitable for being
promoted as the creative tourism attraction. 2) The assessment of the potential of Chedi-Bucha Canal
management to the creative tourism attraction is in medium level. 3) The purposed policy for Chedi-Bucha
Canal area as the creative tourism of Nakorn Pathom Province is consisted of 5 policies as follows;
(1) Management policy (2) Scenery adjustment policy (3) Tourist activities policy (4) Tourist facility policy and (5) Public relations policy. The purposed policy has been verified by the experts. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่คลองเจดีย์บูชาในการจัดการให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาศักยภาพพื้นที่คลองเจดีย์บูชาในการจัดการให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการคลองเจดีย์บูชา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย โดยใช้ระเบียบ วิจัยเชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่พักอาศัย อยู่ในพื้นที่คลองเจดีย์บูชาใน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนเทศา-ทิพากร ชุมชนสวนลำไย ชุมชนศาลเจ้าแม่ต้นแจงซอย 6 และชุมชนซอย 7 จำนวน 359 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้นำชุมชนในพื้นที่ 4 ชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่มใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เป็นตัวแทนประชากรชุมชนละ 2 คน และตัวแทนผู้ประกอบกิจการร้านค้า จำนวน 2 คน รวม 10 คน และการจัดสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับสภาพพื้นที่และบริบทชุมชนในพื้นที่คลองเจดีย์บูชาในการจัดการให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินเพื่อรับรอง(ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบททั่วไปของพื้นที่คลองเจดีย์บูชาสามารถจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ได้ 2) การประเมินศักยภาพการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับปานกลาง 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย 5 นโยบาย ดังนี้ (1) นโยบายด้านการบริหารจัดการ (2) นโยบาย ด้านการปรับภูมิทัศน์ (3) นโยบายด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว (4) นโยบายด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยว และ (5) นโยบายด้านการประชาสัมพันธ์ และข้อเสนอเชิงนโยบายนี้ได้ผ่านกระบวนการประเมินเพื่อรับรองจากผู้เชี่ยวชาญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3240 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58260904.pdf | 7.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.