Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3241
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPadachamai THONGCHUMNUMen
dc.contributorปฎาชมัย ทองชุมนุมth
dc.contributor.advisorRatchadaporn Ketanonen
dc.contributor.advisorรัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรมth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Educationen
dc.date.accessioned2021-07-20T04:31:02Z-
dc.date.available2021-07-20T04:31:02Z-
dc.date.issued2/7/2021
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3241-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstract  The research objectives are 1) to evaluate the importance need in occupational competency for lower secondary education of opportunity expansion schools, 2) to study the best practices of the education to improve the occupational competency for lower secondary education of opportunity expansion schools, and 3) to develop educational model to improve the occupational competency for lower secondary education of opportunity expansion schools. The research methodology is a combination between quantitative research and qualitative research. The findings of this study are 1. the evaluation of the importance need in occupational competency for lower secondary education of opportunity expansion schools from 405 students. The students want to improve about their occupational planning skill on occupational specification in short and long-term the most (PNI modified = 0.569). They want to improve about their occupational planning knowledge on economy or changes in community for the decision to pursue a career in the future the second (PNI modified = 0.546). And want to get the knowledge improvement about occupational improvement and development in household accounting the third (PNI modified = 0.517). 2. the study of best practices in education to improve the occupational competency for lower secondary education of opportunity expansion schools by using in depth interview from two model schools (Ban Muang Kued and Ban Chan) that consists of three compositions: 1) educational management process to enhance a career competency for students, 2) teaching methods to enhance a career competency for students and 3) educational result. 3. the educational teaching models to improve the occupational competency for lower secondary education of opportunity expansion schools consist of four compositions: 1) vision 2) administration (Responsibility, Connectivity, Identity, Continuity, Mentality, Budget) 3) implementation and 4) performance appraisal. This model is evaluated by experts. Assessment on all sides have an average of more than 3.50. It proved that this model is practicable.en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา 3) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (mixed methods research) ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างวิจัยจำนวน 405 คน นักเรียนมีความต้องการที่จะได้รับ การพัฒนาด้านทักษะการวางแผนการประกอบอาชีพในเรื่องการเขียนเป้าหมายในการประกอบอาชีพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ได้มากที่สุด เป็นอันดับที่หนึ่ง (PNI modified = 0.569) ความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาในด้านความรู้ด้านการวางแผนในการ ประกอบอาชีพในเรื่องความรู้ด้านเศรษฐกิจหรือการเปลี่ยนแปลงของชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการประกอบอาชีพ ในอนาคตเป็นอันดับที่สอง (PNI modified = 0.546) และมีความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาด้านความรู้ในการปรับปรุงและพัฒนา การประกอบอาชีพในเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นอันดับที่สาม (PNI modified = 0.517) 2. การศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากโรงเรียนกรณีศึกษา 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านเมืองกื้ด และโรงเรียนบ้านจันทร์ พบว่า วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ 1) กระบวนการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การประกอบอาชีพสำหรับนักเรียน 2) วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียน และ 3) ผลการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียน 3. รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วิสัยทัศน์และนโยบายของโรงเรียน (Vision) องค์ประกอบที่ 2 การเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการ (Administration) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยทั้งหมด 6 องค์ประกอบ คือ 1) ความรับผิดชอบ (Responsibility) 2) การสร้างเครือข่าย (Connectivity) 3) วิเคราะห์ตนเอง (Identity) 4) ความต่อเนื่อง (Continueity) 5) เจตคติ (Mentality) 6) งบประมาณ (Budget) องค์ประกอบที่ 3 การดำเนินงานจัดการเรียนรู้ (Implementation) และองค์ประกอบที่ 4 การประเมินผลลัพธ์โครงการ (Performance appraisal) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผลการประเมินทุกด้านได้ค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.50 ถือว่ารูปแบบใช้ได้th
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectรูปแบบการจัดการศึกษาth
dc.subjectสมรรถนะการประกอบอาชีพth
dc.subjectโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาth
dc.subjectMODEL OF EDUCATION MANAGEMENTen
dc.subjectCAREER COMPETENCEYen
dc.subjectEDUCATIONAL OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleDEVELOPMENT OF EDUCATION MANAGEMENT MODEL FOR CAREER COMPETENCE ENHANCEMENT OF SECONDARY STUDENTS IN EDUCATIONAL OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58260911.pdf9.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.