Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/325
Title: | อิทธิพลของผู้บริหารระดับกลางในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม กรณีศึกษา: บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | THE INFLUENCE OF MIDDLE MANAGERS IN THE DEVELOPMENT OF INNOVATIVE ORGANIZATION CASE STUDY: TRUE CORPORATION PUBLIC COMPANY LIMITED |
Authors: | ทรวงสุรัตนกุล, มณีนุช Suangsurattanakul, Maneenuch |
Keywords: | ผู้บริหารระดับกลาง INNOVATIVE ORGANIZATION องค์กรแห่งนวัตกรรม MIDDLE MANAGERS |
Issue Date: | 7-Jan-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารระดับกลาง และองค์ประกอบขององค์กรแห่งนวัตกรรม (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และระดับการส่งผลของผู้บริหารระดับกลางที่มีต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (3) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของผู้บริหารระดับกลางในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (4) เพื่อพัฒนาแนวทางในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับกลาง ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการ จำนวน 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.935 และการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารระดับกลาง ประกอบด้วย (1) ด้านผู้สร้างวิสัยทัศน์และทัศนคติในการปฏิบัติงาน (2) ด้านผู้วิเคราะห์และพัฒนาการบริหารจัดการ และ (3) ด้านผู้พัฒนาแนวทางการปฏิบัติ และองค์ประกอบในการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) ด้านยอมรับความคิดใหม่และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (2) ด้านค่านิยมร่วมและแนวทางการปฏิบัติ (3) ด้านวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรมและทัศนคติในการปฏิบัติงาน (4) ด้านการสื่อสารและถ่ายทอดที่ชัดเจน (5) ด้านการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เอื้อต่อกระบวนการแห่งการสร้างสรรค์ และ (6) ด้านการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง 2. องค์ประกอบของผู้บริหารระดับกลางมีความสัมพันธ์ต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง (0.633 ถึง 0.866) และมีอิทธิพลในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมอยู่ในระดับสูง (0.98) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของผู้บริหารระดับกลางในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม พบว่า โมเดลสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ทุกค่า โดยมีค่า 2 = 20.41, df = 23, p = 0.61689, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMR = 0.000 4. แนวทางการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม คือ พัฒนาผู้บริหาร เสริมสร้างการมีส่วนร่วมทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงาน และสร้างความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของบุคลากร The purpose of this research is (1) To analyze the components of administrative management of middle managers and the components of Innovative Organization (2) To study the relations and levels of middle managers affected to the Innovative Organization and (3) to develop the form of constructive relations of middle managers for Organizational Development into Innovative Organization (4) To improve the developed methods into Innovative Organization. The sample groups are middle managers which consist of Manager, Assistant Director, and Deputy Director at 340 people. The questionnaires were used for data gathering which their results of assurance are shown at 0.935 and processed program was use for data analysis in Focus Group. The statistic in research consists of frequency, percentage, average, standard deviation, correlation of Pearson’s theory, confirmatory factor analysis and structural equation modeling. The results found that 1. The components of administrative management of middle managers: the vision and attitude creator, analyst and administrative management, and operational developer. On the other hands, there are 6 components were comprised in the Innovative Organization. There are openness & continuous improvement, share value and practical path, innovative vision and attitude in work operation, effective communication, innovative climate, and adapt to change 2. The components of middle managers have relations directly affect into the Innovative Organization in the medium to high level (0.633 to 0.866) and effect to innovative organization in the high level (0.98) with statistically significant at .01 3. The form of constructive relations of middle managers for Organizational Development into Innovative Organization shown that the goodness-of-fit index is consistent with the empirical data on all specified criteria (2 = 20.41, df = 23, p = 0.61689, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMR = 0.000) 4. Developing methods into the Innovative Organization are Management Team development, encouragement of participation in management team and associates, reinforcement and clarification of personnel responsibilities in the organization. |
Description: | 54604924 ; สาขาวิชาการจัดการ -- มณีนุช ทรวงสุรัตนกุล |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/325 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
มณีนุช.pdf | 19.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.